7 โรคยอดฮิตที่มากับหน้าร้อน ที่ไม่ควรมองข้าม
เมื่อฤดูร้อนมาเยือน นอกจากแสงแดดจ้าและอุณหภูมิที่พุ่งสูงขึ้นแล้ว ยังมาพร้อมกับภัยเงียบที่หลายคนอาจมองข้าม นั่นก็คือ “โรคหน้าร้อน” ซึ่งมักระบาดหนักในช่วงอากาศร้อนอบอ้าว โดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหารและภาวะร่างกายขาดน้ำ เช่น โรคลมแดด (Heat Stroke) ที่เกิดจากการอยู่กลางแดดเป็นเวลานานจนอุณหภูมิร่างกายสูงเกินควบคุม หรือ อาหารเป็นพิษ และ อหิวาตกโรค ที่มากับการรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำที่ไม่สะอาด นอกจากนี้ยังมี โรคบิด และ อาการท้องเสีย ที่ส่งผลให้ร่างกายอ่อนเพลีย สูญเสียน้ำอย่างรวดเร็ว และไม่ควรละเลย โรคพิษสุนัขบ้า ที่มักพบมากขึ้นในช่วงหน้าร้อนจากสัตว์เลี้ยงหรือสัตว์จรจัดที่มีพฤติกรรมดุร้ายผิดปกติ เพราะอากาศร้อนมีผลต่อพฤติกรรมสัตว์ด้วย บทความนี้จะพาคุณไปรู้จัก 7 โรคยอดฮิตที่มากับหน้าร้อน พร้อมวิธีป้องกันง่ายๆ ที่ทุกคนควรทราบไว้ เพื่อสุขภาพที่ดีของทั้งตัวเองและคนที่คุณรัก
1.โรคพิษสุนัขบ้า
โรคพิษสุนัขบ้า เป็นโรคที่พบในสัตว์เป็นส่วนใหญ่ เกิดจากการติดเชื้อไวรัส โรคสามารถแพร่จากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น สุนัข แมว ไปสู่คนได้จากการถูกสัตว์ที่ติดเชื้อไวรัสกัดหรือข่วน หลังได้รับเชื้อมักไม่ปรากฏอาการใดๆ โดยอาการมักเกิดหลังจากถูกกัดประมาณ 7 วันหรือเป็นเดือน เชื้อไวรัสจะจู่โจมประสาทส่วนกลางทำให้เกิดโรคทางระบบประสาท และในหลายกรณีทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ การติดเชื้อแพร่ผ่านทางน้ำลายเข้าสู่บาดแผล ปากหรือดวงตา มักเกิดจากการถูกสัตว์กัด ซึ่งสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิดสามารถติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าได้
ควรทำอย่างไรหากถูกสัตว์กัด
หากถูกสัตว์จรจัดกัด ให้ทำความสะอาดบาดแผลทันทีด้วยน้ำและสบู่เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อหลังจากนั้นให้ไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด แพทย์ที่มีประสบการณ์จะบอกได้ว่าผู้ที่ถูกกัดจำเป็นต้องได้รับวัควัคชีนปัองกันโรคพิษสุนัขบ้าหรือที่เรียกว่ายาป้องกันหลังสัมผัสสัตว์ (post-exposure prophylaxis; PEP) หรือไม่ โดยวินิจฉัยจาก
- สัตว์ที่กัดมีความเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อโรคพิษสุนัขบ้าหรือไม่
- แผลมีความรุนแรงมากพอต่อการได้รับวัคชีน
- การรักษาจำเป็นต้องใช้อิมมูโนโกลบูลิน (ซึ่งหายากในบางครั้ง) ร่วมกับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าหรือไม่ (ในกรณีส่วนใหญ่จำเป็นต้องใช้วิธีการรักษาทั้งสองประเภทร่วมกันเพื่อให้มั่นใจถึงประสิทธิภาพในการป้องกันโรค)
2. โรคลมแดด
โรคลมแดด หรือ ฮีทสโตรก (Heat Stroke) โรคที่ใหม่ในยุคปัจจุบันแต่อาจคร่าชีวิตของคุณ และคนใกล้เคียงได้ โรคลมแดด คือภาวะที่อุณหภูมิในร่างกายสูงเกิน 40.5.องศาเซลเซียส เกิดจากการที่อยู่ในสถานที่ที่อุณหภูมิร้อนมากๆ และร่างกายไม่สามารถปรับตัวลดอุณหภูมิให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้ ส่งผลเสียต่อระบบประสาทหัวใจ และไต เป็นเหตุให้เสียชีวิตได้
สาเหตุของโรคลมแดด นั้นมาจากการอยู่ในสถานที่ที่อากาศร้อนจัด โดยเฉพาะขณะที่อากาศร้อนชื้น หรือการออกกำลังกายอย่างหนัก โดยเฉพาะเมื่ออออกกำลังกายในสถานที่ที่อากาศร้อน อาจมีปัจจัยเสียงอื่นๆ ที่กระตุ้นให้เป็นโรคลมแดดได้ง่ายขึ้น เช่น การสวมใส่เสื้อผ้าที่หนาเกินไปจะทำให้เหงื่อระบายได้ยาก การดื่มแอลกอฮอล์ ร่างกายอยู่ในภาวะขาดน้ำ ทานน้ำน้อย เป็นต้น
กลุ่มคนที่มีโอกาศเป็นโรคลมแดดได้มากกว่าผู้อื่นอาทิ เด็กเล็ก และผู้สูงอายุ (อายุเกิน 65 ปี) มีการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงได้ช้า และเสียงต่อภาวะขาดน้ำได้ง่าย, ทหารที่ต้องฝึกหนัก หรือ นักกีฬาที่ต้องเล่นกีฬาในที่ที่อุณหภูมิร้อนจัด, ผู้ที่ไม่คุ้นเคยกับอากาศร้อน เช่น ต้องเดินทางไปประเทศที่อุณหภูมิอากาศร้อนกว่า หรือเจอมรสุมพายุฤดูร้อน, ผู้ที่ทานยาบางชนิด ได้แก่ ยาลดความดันโลหิตบางประเภท ยาขับปัสสาวะ ยารักษาโรคจิตเวชยาแก้แพ้ ยาลดน้ำมูก ยาระบาย ยาบ้า โคเคน และผู้ที่มีโรคหัวใจ โรคปอด โรคอ้วน หรือเคยเป็นโรคลมแดดมาก่อน
อาการของโรคลมแดดที่คุณอาจสังเกต หรือตรวจเช็คได้ง่ายๆ เช่น อุณหภูมิร่างกายสูงเกิน 40.5 องศาเซลเชียส มีอาการผิดปกติทางระบบประสาท ได้แก่ ลุกลี้ลุกลน พูดข้า สับสน ชัก เพ้อ หมดสติ ต่อมเหงื่อทำงานผิดปกติไป เช่น อยู่ในสถานที่ร้อนจัด แต่ไม่มีเหงื่อออก คลื่นไส้ อาเจียน ผิวหนังและหน้าเปลี่ยนเป็นสื่ออกแดงเหนื่อย หายใจเร็ว ใจสัน ชีพจรเต้นเร็วผิดปกติ ปวดศีรษะ หรือไตวาย ปัสสาวะสีเข้มผิดปกติ เอนไซม์ในกล้ามเนื้อสงผิดปกติ
3.อาหารเป็นพิษ
อาหารเป็นพิษ ภาวะที่เกิดจากรับประทานอาหาร หรือนำที่มีการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียเข้าไป ทำให้มีอาการดลืนไส้อาเจียน ปวดท้องและท้องเสียถ่ายเหลวตามมาอาการแบบนี้สงสัย “อาหารเป็นพิษ”
- มีไข้ ปวดศีรษะ
- คลื่นไส้ อาเจียน
- ปวดท้อง
- ถ่ายอุจจาระบ่อย เกินวันละ 3 ครั้ง
- ปวดเมื่อยตามเนื้อตัว
- มีอาการสูญเสียน้ำ เช่น เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย กระหายน้ำ
4.อหิวาตกโรค (Cholera)
ลักษณะโรค เป็นโรคติดเชื้อระบบทางเดินอาหารจากแบคทีเรียชนิดเฉียบพลัน เริ่มด้วยอาการถ่ายอจจาระเป็นน้ำอย่างมากโดยไม่มีอาการปวดท้อง บางรายอุจจจาระชาวขุ่นเหมือนน้ำชาวข้าว บางครั้งมีคลื่นไส้ อาเจียน สูญเสียน้ำอย่างรวดเร็วจนเกิดภาวะเป็นกรดในเลือด และการไหลเวียนโลหิตล้มเหลว สำหรับเชื่อโรคอจจาระร่วงอย่างแรง (อหิวาตกโรค) ชนิด El Tor biotype ผู้ป่วยอาจไม่มีอาการเลยก็ได้ ในรายรุนแรงน้อยอาจพบแต่อาการถ่ายเป็นน้ำ พบได้บ่อยในเด็ก ในรายที่มีอาการรุนแรงและไม่ได้รับการรักษาผู้ป่วยอาจตายในเวลา 2-3 ชั่วโมง และอัตราป่วยตายสูงมากกว่าร้อยละ 50 แต่ถ้าได้รับการรักษาถูกต้องและทันท่วงที อัตราป่วยตายจะลดลงเหลือต่ำกว่าร้อยละ 1
5. โรคบิด (Dysentery)
โรคบิดคือโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียหรือการติดเชื้ออะมีบาในลำไส้ซึ่งก่อให้เกิดอาการท้องเสียชนิดมีเลือดหรือมูกปน การแพร่กระจายของโรคบิดมักเกิดจากสุขอนามัยที่ไม่ดีโดยผู้ป่วยมักได้รับเชื้อ จากการรับประทานอาหารที่มีการปนเปื้อน โรคบิดมีอาการที่พบทั่วไป
- ท้องเสียโดยมีเลือดหรือมูกร่วมด้วย
- ช่องท้องบีบเกร็ง จนทนไม่ได้
- รู้สึกคลื่นไส้
- อาเจียน
- ปวดท้องบิด
- มีไข้สูง
โรคบิดเกิดจากอะไร โรคบิดเกิดจากการมีสุขอนามัยที่ไม่ดีและรับประทานอาหารปนเปื้อน โดยทางการแพทย์ได้ จำแนกโรคบิดไว้ 2 ชนิดคือ
- โรคบิดชนิดไม่มีตัว (shigellosis) เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย shigella ในอุจจาระซึ่งมักพบในประเทศที่มีสุขอนามัยไม่ดี
- โรคบิดที่เกิดจากอะมีบา (amoebiasis) เกิดจากปรสิตเซลล์เดียวที่มีชื่อว่า Entamoeba histolyticaทีมักพบในเขตร้อน ส่วนใหญ่ผู้ป่วยที่เผชิญกับโรคบิดที่เกิดจากอะมีบามักมีอาการรุนแรงมากกว่าผู้ป่วยโรคบิดชนิดไม่มีตัว
6.ไข้รากสาดน้อย
ไข้รากสาดน้อย หรือ ไข้ไทฟอยด์ (Typhoid fever; Enteric fever) เป็นการเจ็บป่วยที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Salmonella enterica serovar Typhi Wu ได้ทัวโลกโดยติดต่อผ่านทางการรับประทานอาหาร หรือน้ำดื่มที่ปนเปื้อนอจจาระของผู้ป่วยโดยเชื่อแบคทีเรียก่อโรคนี้จะเจาะทะลุผนังลำไส้แล้วถูกจับกินโดยเซลล์แม่โครฟาจ (macrophage) จากนั้นเชื้อ Salmonella typhi จะเปลี่ยนโครงสร้างตัวเองเพื่อดื้อต่อการทำลายและสามารถหลบหนีออกจากแม่โครฟาจได้ กลไกดังกล่าวทำให้เชื้อดื้อดื้อต่อการทำลายโดยแกรนโลไซต์ ระบบบคอมพลีเมนต์ และระบบภูมิคุ้มกัน จากนั้นเชื้อก่อโรคจะกระจายไปทั่วร่างกายผ่านทางน้ำเหลืองขณะที่อยู่ในเซลล์แม่โครฟาจ ทำให้เชื้อเข้าสู่ระบบเรติคูโลเอนโดทีเลียม (reticuloendothelial systern) และไปยังอวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกาย
7.ท้องเสีย
ท้องเสีย หรืออุจจาระร่วง คืออาการถ่ายอุจจาระเหลว หรือถ่ายเป็นน้ำตั้งแต่ 3 ครั้งขึ้นไปภายใน 24 ชม. โดยทั่วไปอาการท้องเสียมักเกิดขึ้น และอาจหายไปได้เองภายใน 2-3 วัน หรือด้วยการทานยาสามัญประจำบ้าน
ท้องเสีย คืออะไร
ท้องเสีย หรืออุจจาระร่วง (Diarthea) คืออาการถ่ายอุจจาระเหลว หรือถ่ายเป็นน้ำตั้งแต่ 3 ครั้งขึ้นไป ภายใน 24 ชม. โดยทั่วไปอาการท้องเสียมักเกิดขึ้น และอาจหายไปได้เองภายใน 2-3 วัน หรือด้วยการทานยาสามัญประจำบ้าน เช่น ยาผงถ่านคาร์บอน โดยอาการท้องเสียหรืออุจจาระร่วง มักเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียไวรัส หรือพยาธิ ในระบบทางเดินอาหาร ซึ่งในกรณีที่มีอาการรุนแรงอาจทำให้ร่างกายขาดสารน้ำจนอาจมีอันตรายถึงชีวิตได้ ถ้ามีอาการท้องเสียที่มีมูกเลือดปน ตั้งแต่ ๑ ครั้งขึ้นไป ควรรีบพบแพทย์
รู้เท่าทัน ป้องกันโรคได้
จะเห็นได้ว่า โรคที่มากับหน้าร้อนส่วนใหญ่ มักเป็นโรคติดต่อที่เกิดจากการกินอาหารหรือดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อโรค ดังนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงและลดเสี่ยงโรคต่างๆ ในหน้าร้อน เราจึงควรทำดังนี้
- เลือกกินอาหารที่ปรุงสุก สะอาด ไม่บูด หรือไม่นำวัตถุดิบที่เริ่มเสียมาปรุงอาหาร
- งดเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์
- ล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง ทั้งก่อนและหลังมื้ออาหาร รวมถึงหลังใช้ห้องน้ำ
- ดื่มน้ำที่สะอาด เช่น น้ำดื่มบรรจุขวดที่มีเครื่องหมาย อย. หรือน้ำต้มสุก
- ดื่มน้ำให้เพียงพออย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว โดยจิบบ่อยๆ ทั้งวัน
- หมั่นออกกำลังกายสม่ำเสมอ และพักผ่อนให้เพียงพอ
บทความที่น่าสนใจ