วิธีการทำปุ๋ยอินทรีย์ ไว้ใช้งานสำหรับมือใหม่ สะอาดปลอดภัย
ปุ๋ยอินทรีย์ คืออะไร
ปุ๋ยอินทรีย์ หมายถึง ปุ๋ยที่ได้หรือทำมาจากวัสดุอินทรีย์ ซึ่งผลิตด้วยกรรมวิธีทำให้ชื้น สับ หมัก บด ร้อน สกัด หรือด้วยวิธีการอื่นและวัสดุอินทรีย์ถูกย่อยสลายสมบูรณ์ ด้วยจุลินทรีย์ จะให้ปริมาณธาตุอาหารพืชน้อย แต่จะให้ธาตุอาหารพืชอย่างครบถ้วนทั้งธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรองและธาตุอาหารเสริม โดยค่อยๆ ปลดปล่อยให้พืชได้ใช้ และช่วยให้ดินสามารถดูดขับธาตุอาหารพืชไว้ได้สูง ทำให้การใช้ปุ๋ยเคมีมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ประโยชน์ของปุ๋ยอินทรีย์
- ช่วยเพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดินหากใช้อย่างต่อเนื่องจะทำให้โครงสร้างของดินดีขึ้น ดินโปร่ง ร่วนซุย มีการระบายน้ำ และการถ่ายเทอากาศดีขึ้น พืชดูดชับน้ำและธาตุอาหารในดินไปใช้ได้มากขึ้นช่วยปรับสภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดินให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช
- เป็นเหล่งธาตุอาหารพืชครบถ้วนตามที่ต้องการ ทั้งธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง และธาตุอาหารเสริม โดยค่อยๆ ปลดปล่อยธาตุอาหารอย่างช้า ๆ และอยู่ในดินได้นาน และเมื่อใส่ร่วมกับปุ๋ยเคมีจะช่วยส่งเสริมให้ปุ๋ยเคมีมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น
- ช่วยเพิ่มเหล่งอาหารให้แก่จุลินทรีย์ในดิน ทำให้ปริมาณและกิจกรรมของจุลินทรีย์ดินเพิ่มขึ้น ช่วยย่อยสลายอินทรีย์วัตถุในดิน ให้แปรสภาพเป็นธาตุอาหารพืชได้มากขึ้น และจุลินทรีย์บางชนิดช่วยยับยั้งจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของโรคพืชได้ด้วยวัสดุใช้ทำปุ๋ยอินทรีย์
การทำจุลินทรีย์-น้ำหมักคุณภาพสูง
- จุลินทรีย์อีเอ็ม 5 ลิตร
- น้ำหมักเข้มข้น 5 ลิตร
- น้ำตาลทราย 5 กิโลกรัม
- รำอ่อน 5 กิโลกรัม
- หัวอาหารไก่เล็ก 2 กิโลกรัม
- น้ำตามสมควร
วิธีทำ ผสมส่วนผสมทั้งหมดในถังขนาด 200 ลิตร เติมน้ำให้เหลือพื้นที่ 1/3 ของถัง ปิดฝาถังไว้ 7 วัน เปิดฝาถังแล้วคนให้ทั่ว แล้วปิดฝาถังไว้ 15-30 วัน สามารถนำไปเป็นส่วนผสมการทำปุ๋ยอินทรีย์
วัสดุที่ใช้ทำปุ๋ย
- มูลสัตว์ 18 กิโลกรัม
- กากอ้อย 18 กิโลกรัม
- รำอ่อน-ปานกลาง 6 กิโลกรัม
- โดโลไมท์ 6 กิโลกรัม
- แกลบ 5 กิโลกรัม
- ดินดี 5 กิโลกรัม
- จุลินทรีย์- น้ำหมักคุณภาพสูง 10 ลิตร
วิธีทำ ผสมวัสดุทั้งหมด (ยกเว้นน้ำจุลินทรีย์) ให้เข้ากัน ค่อยๆ ผสมน้ำจุลินทรีย์ลงไปและคลุกเคล้าให้เข้ากัน จนทั่ว กองหมักไว้ 10 – 15 วัน แผ่กระจายทำให้ปุ๋ยอินทรีย์แห้ง เมื่อแห้งสามารถนำไปตีปั่นให้เป็นเม็ดเล็กๆ สามารถเก็บไว้ใช้ได้นาน
การนำปุ๋ยอินทรีย์ไปใช้
- นาข้าว ใช้ประมาณ 300-3,000 กก./ไร่ ต่อปี
- ไม้ผล ใช้ประมาณ 50 กก./ต้น ต่อปี
- พืชผัก ใช้ประมาณ 2 กก./ตารางเมตร
- อ้อย ใช้ประมาณ 600-1,200 กก./ไร่ ต่อปี
- ไม้กระถาง ใช้ประมาณ 1 กำมือ (ปีละ 3-4 ครั้ง)
- ดินกระถาง ใช้ประมาณ ดิน 4 ส่วน+ปุ๋ยอินทรีย์ 1 ส่วน
ข้อจำกัดของปุ๋ยอินทรีย์
- ปุ๋ยอินทรีย์มีธาตุอาหารพืชอยู่น้อย หากต้องการให้พืชได้รับธาตุอาหารที่เท่ากัน เพื่อยกระดับผลผลิตให้ได้ได้เท่ากับการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ จะต้องใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในปริมาณที่มากกว่าเสียค่าใช้จ่ายในการขนส่งสูง และแรงงานในการใส่ปุ๋ยมากกว่าการใส่ปุ๋ยเคมี
- การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ไม่มามารถปรับแต่งให้ได้สูตรปุ๋ยที่เหมาะสมกับดินและพืชได้ เนื่องจากได้มาจากวัสดุ ที่มีความแปรผันของธาตุอาหารในปุ๋ย ไม่สามารถกำหนดปริมาณธาตุอาหารที่ต้องการได้
- ปุ๋ยอินทรีย์ไม่สามารถให้ธาตุอาหารแก่พืชได้ตามช่วงเวลาที่พืชต้องการ เนื่องจากต้องอาศัยการย่อยสลายจากจุลินทรีย์ในดินและค่อยๆ ปลดปล่อยให้พืชใช้อย่างช้า ๆ
- ปุ๋ยอินทรีย์ บางชนิดอาจมีโลหะหนักปนเปื้อนจากวัสดุที่นำมาผลิตปุ๋ยอินทรีย์ เมื่อพืชดูดซึมไปใช้ อาจจะได้รับผลกระทบต่อสุขภาพ
บทความอื่นที่น่าสนใจ