เกษตรกรรม » การเพาะเห็ดฟางในโรงเรือน สำหรับมือใหม่ วิธีทำแบบละเอียด

การเพาะเห็ดฟางในโรงเรือน สำหรับมือใหม่ วิธีทำแบบละเอียด

24 พฤษภาคม 2025
207   0

การเพาะเห็ดฟางในโรงเรือน สำหรับมือใหม่ วิธีทำแบบละเอียด

การเพาะเห็ดฟางในโรงเรือน

การเพาะเห็ดฟางในโรงเรือน กำลังกลายเป็นอีกหนึ่งทางเลือกยอดนิยมของเกษตรกรยุคใหม่ที่ต้องการสร้างรายได้อย่างมั่นคงและต่อเนื่อง เห็ดฟางถือเป็นเห็ดเศรษฐกิจที่มีความต้องการในตลาดสูง ด้วยรสชาติอร่อย กลิ่นหอม และสามารถนำไปประกอบอาหารได้หลากหลายเมนู ทำให้การเพาะเห็ดฟางกลายเป็นกิจกรรมที่หลายคนให้ความสนใจ โดยเฉพาะในรูปแบบของ “การเพาะเห็ดฟางในโรงเรือน” ซึ่งเป็นวิธีที่สามารถควบคุมสภาพแวดล้อมได้ดี มีความสะดวกในการดูแลรักษา ช่วยลดความเสี่ยงจากสภาพอากาศที่ไม่แน่นอน และเพิ่มโอกาสในการเก็บผลผลิตได้อย่างสม่ำเสมอ

การเพาะเห็ดฟางแบบโรงเรือนยังเหมาะกับทั้งเกษตรกรที่มีพื้นที่จำกัด และผู้ที่เริ่มต้นจากศูนย์ เพราะสามารถออกแบบให้เหมาะสมกับขนาดพื้นที่และงบประมาณได้ อีกทั้งยังสามารถจัดการระบบการให้น้ำ อากาศ ความชื้น และแสงสว่างได้อย่างเหมาะสม ทำให้เห็ดฟางเจริญเติบโตได้ดี ให้ผลผลิตสูง และลดความเสี่ยงจากเชื้อโรคหรือศัตรูพืช เมื่อเทียบกับการเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ยในที่โล่งแล้ว การเพาะเห็ดฟางในโรงเรือนมีความได้เปรียบทั้งในเรื่องของคุณภาพและปริมาณของผลผลิต

บทความนี้จะพาผู้อ่านไปทำความเข้าใจขั้นตอนต่างๆ ในการเพาะเห็ดฟางในโรงเรือน ตั้งแต่การเลือกสถานที่ วัสดุเพาะ การดูแลรักษา ไปจนถึงการเก็บเกี่ยวผลผลิต โดยเน้นเนื้อหาให้เข้าใจง่าย เหมาะกับทั้งผู้เริ่มต้นและผู้ที่ต้องการพัฒนาเทคนิคการเพาะเห็ดฟางให้ได้ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ใครที่กำลังมองหาแนวทางสร้างอาชีพหรือรายได้เสริม การเพาะเห็ดฟางในโรงเรือนอาจเป็นคำตอบที่คุณตามหาอยู่ก็เป็นได้

1.โรงเรือน

โรงเรือนเพาะเห็ดฟางควรเป็นโรงเรือนที่ปิดมิดชิด สร้างด้วยอิฐบล็อกหรือไม้ไม่ ขนาดโรงเรือน 6 x 8 x 2.5 เมตร มีประตู ปิด-เปิด 2 ด้าน หน้าต่างแบบ ปิด-เปิด เพื่อระบายความร้อนและอากาศเสีย พื้นโรงเรือนควรเทปูนหรือคอนกรีต เพื่อสะดวกในการทำความสะอาด ชั้นเพาะเห็ดมี 4 แถว ๆ ละ 4 ชั้น ๆ ละ 5 ตารางเมตร ขึ้นอยู่กับความยาวและกว้างของแต่ละโรงเรือน แต่ละชั้นห่างกันประมาณ 50 เซนติเมตร

การเพาะเห็ดฟางในโรงเรือน

พื้นชั้นปูด้วยไม้รวกหรือตะแกรงโลหะหรือตะแกรงพลาสติก มีเครื่องกำเนิดไอน้ำที่มีขนาดใหญ่พอที่จะให้ความร้อนภายในโรงเรือนที่อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 2 ชั่วโมง ติดต่อกัน และอุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส อีกอย่างน้อย 8 ชั่วโมง ติดต่อกัน ในโรงเรือนควรมีเทอร์โมมิเตอร์ ที่สามารถวัดอุณหภูมิ ความร้อนระหว่าง 1-100 องศาเซลเซียส พัดลมเป้าดูดและระระบายอากาศ สำหรับระบายอากาศเสีย ในโรงเรือน

ลักษณะโรงเรือน 2 แบบ

  • โรงเรือนแบบที่ใช้ไม้ไผ่และแฝกเป็นส่วนประกอบหลัก
  • โรงเรือนอิฐบล็อก

ข้อแตกต่างของลักษณะโรงเรือนของทั้ง 2 แบบ

  • แบบที่ใช้ไม้ไผ่และแฝกเป็นส่วนประกอบหลัก : ควบคุมอุณหภูมิได้ยากกว่า ไม่ค่อยมั่นคงแข็งแรง แต่ราคาถูก ซึ่งลักษณะโรงเรือนจะเน้นใช้วัสดุที่หาง่ายในท้องถิ่น (ส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรตำบลเจริญธรรมและตำบลคลองเรือ)
  • แบบที่ใช้อิฐบล็อก : สามารถควบคุมอุณหภูมิได้ดีกว่าและมั่นคงแข็งแรง แต่ราคาสูง เป็นการประยุกต์ใช้วัสดุในการปลูกสร้างที่แข็งแรง ทนทาน แต่ยังคงรูปแบบโรงเรือนเดิมไว้ (ส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรตำบลหนองหมู)

2. การเตรียมวัสดุเพาะ

การเตรียมวัสดุเพาะ สำหรับการเพาะเห็ดฟางโรงเรือนขนาด 6x8x2.5 เมตร จำนวน 2 โรง แต่ละโรงเรือนมี 4 แถว ๆ ละ 4 ชั้น ๆ ละ 5 ตารางเมตร จำนวน 32 ชั้น จะต้องเตรียมวัสดุ ดังนี้

  • ขี้ฝ้าย      30     กิโลกรัม
  • ขี้เลื่อย    350   กิโลกรัม
  • กากมันสำปะหลัง    400   กิโลกรัม
  • ชี้ฝ้าย-ขี้เลือยะกากมันสำปะหลัง อัตราส่วน 18:100:100  กิโลกรัม
  • กากถั่วเขียว  140  กิโลกรัม
  • ฟางสับ  40  กิโลกรัม
  • ตอซังข้าว  160  กิโลกรัม
  • ยูเรีย    4   กิโลกรัม
  • ยิบซั่ม   4   กิโลกรัม
  • ปูนหอย  4   กิโลกรัม
  • ปูนขาว  2   กิโลกรัม
  • รำ   40   กิโลกรัม
  • ข้าวโพด   8   กิโลกรัม
  • แป้งข้าวเหนียว   4   กิโลกรัม
  • อาหารเสริม   8   กิโลกรัม
  • เชื้อเห็ด  120  ก้อน

การเพาะเห็ดฟางในโรงเรือน

3. ขั้นตอนการเพาะเห็ดในโรงเรือน

3.1  นำวัสดุเพาะทั้ง 4 ชนิด เป็นวัสดุหลัก 4 กองมาผสมกับอาหารเสริมและวัสดุอื่นๆ คลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วหมัก 3 วัน จึงนำไปใช้ได้

  • กองที่ 1 ขี้ฝ้าย 30 กิโลกรัม ผสมกับอาหารเสริมและวัสดุอื่นๆ ดังนี้
    • กากถั่วเขียว  จำนวน  35  กิโลกรัม
    • ฟางสับ  จำนวน  10  กิโลกรัม
    • ข้าวโพดบด  จำนวน   2  กิโลกรัม
    • รำละเอียด  จำนวน  10  กิโลกรัม
    • ยิบซั่ม  จำนวน  1  กิโลกรัม
    • ยูเรีย  จำนวน  1  กิโลกรัม
    • ปูนหอย  จำนวน  1  กิโลกรัม
    • แป้งข้าวเหนียว   จำนวน  1  กิโลกรัม
    • ปูนขาว จำนวน  1-2  กิโลกรัม
    • อาหารเสริม จำนวน 2 กิโลกรัม
  • กองที่ 2  ขี้เลื่อย 350 กิโลกรัมผสมกับอาหารเสริมและวัสดุอื่นๆเหมือนกองที่ 1 (ข้อ 1 -10)
  • กองที่ 3  กากมันสำปะหลัง 400 กิโลกรัมกับอาหารเสริมและวัสดุอื่นๆ เหมือนกองที่ 1(ข้อ 1 -10)
  • กองที่ 4  นำขี่ฝ้าย+ขี้เลือย+กากมันสำปะหลัง อัตราส่วน 18:100:100 กิโลกรัม ผสมกับอาหารเสริมและวัสดุอื่นๆ เหมือนกองที่ 1 (ข้อ 1 – 10)

3.2 วันที่ 2 นำตอชังข้าวที่ใช้เป็นวัสดุรองพื้นขึ้นปูบนชั้นเพาะเห็ด หนาประมาณ 4 – 5 นิ้ว รดน้ำให้ชุ่ม รดน้ำวันละ 2 ครั้ง เช้า -เย็น เป็นเวลา 2 วัน

3.3 วันที่ 4 นำวัสดเพาะที่หมักแล้ว 3 วัน ทั้ง 4 กอง ขึ้นวางบนชั้นเพาะที่ปู่ตอซังข้าวไว้เรียบร้อย แล้ว ให้ใส่วัสดุหนาประมาณ 3 – 4 นิ้ว เกลี่ยวัสดุเพาะให้กระจายให้ทั่ว ถึงชั้นเพาะปิดโรงเรือนไว้ 1 วัน

3.4 วันที่ 5 อบไอน้ำเพื่อฆ่าเชื้อในโรงเรือน ที่คุณหภูมิ 65 – 70 องศาเซลเซียส นาน 6 ชั่วโมง ปิดโรงเรือนไว้ 1 คืนเพื่อให้อุณหภูมิในโรงเรือนเข็นลงเหลือประมาณ 35 องศาเซลเซียส

3.5 วันที่ 6 โรยเชื้อเห็ดบนวัสดุเพาะให้กระจายอย่างสม่ำเสมอทั่วทั้งชั้น ที่อุณหภูมิในโรงเรือน 35 องศาเซลเซียส แล้วปิดโรงเรือนทันที

3.6 วันที่ 7-15 ปิดโรงเรือนไว้ตลอด ควบคุมอุณหภูมิในโรงเรือนไม่ให้เกิน 36 องศาเซลเซียส (อุณหภูมิที่เหมาะสมในโรงเรือนไม่ให้เกิน 32 – 36 องศาเซลเซียส) ถ้าอุณหภูมิสูงให้เปิดช่องระบายอากาศออก และให้ใช้วิธีเปิดปิดประตูเร็วๆ 4 – 5 ครั้ง ไปพร้อมกันจะช่วยให้อากาศถ่ายเทได้ดีขึ้น ถ้าตอซังข้าวที่เป็นวัสดุรองพื้นแห้ง ให้รดน้ำโดยการฉีดพ่นฝ่อยเบาๆ แล้วปิดประตูโรงเรือน

3.7 วันที่ 16 เริ่มเก็บผลผลิต เก็บได้นาน 3 วัน ติดต่อกัน หยุด 3 วัน ก็จะเก็บรุ่นที่ 2 ได้อีก 3 วัน ติดต่อกัน

การใช้เตาอบเพื่อให้ความชื้นและปรับอุณหภูมิในโรงเรือนเห็ดฟาง

โดยปกติเกษตรกรทั่วไปมักใช้เศษยางรถยนต์ มาเป็นเชื่อเพลิงในการต้มน้ำเพื่อให้ความชื้นและปรับอุณหภูมิในโรงเรือน แต่เกษตรกรในเขตตำบลหนองหมู มีการใช้เตาที่มีการประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ ซึ่งสามารถควบคุมอุณหภูมิได้ดี ประหยัดเชื่อเพลิง อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และเตาอบดังกล่าวยังสามารถเคลื่อนที่ไปใช้ในที่อื่นๆ ได้

ด้านการป้องกันศัตรูของเห็ดในโรงเรือน

  • การใช้น้ำประปาซึ่งมีส่วนผสมของคลอรีน ราดบนพื้นเพื่อเป็นการฆ่าเชื้อโรค
  • การใช้น้ำหมักชีวภาพสูตรต่างๆ เช่น สูตรของเห็ดที่เหลือจากการตัดแต่ง เป็นต้น ราดพื้นฆ่าเชื้อราที่เป็นโทษต่อเห็ดฟาง

ขั้นตอน ส่วนผสมในการทำปุ๋ยอินทรีย์น้ำ

  • เศษวัสดุเห็ดฟางจากการตัดแต่งเห็ด 30 กิโลกรัม
  • กากน้ำตาล 10 กิโลกรัม
  • สารเร่ง พด.2 25 กรัม (1 ซอง)
  • น้ำ 10 ลิตร
  • ถังหมัก ขนาด 120 ลิตร

วิธีการทำปุ๋ยอินทรีย์น้ำ

  • นำเศษวัสดุเหลือใช้เศษเห็ดฟาง คลุกเคล้ากับกากน้ำตาลให้เข้ากัน ละลายสารเร่ง พูด.2 ในน้ำ 10 ลิตร คนให้เข้ากันนาน 5 นาที
  • นำเศษวัสดุเหลือใช้จากเศษเห็ดฟาง ที่คลุกเคล้ากับกากนำตาลเทลงในถังหมักน้ำ 10 ลิตร ที่ละลายสารเร่ง พูด.2 ไว้แล้วคนให้เข้ากันนาน 10 นาที ปิดฝาไม่ต้องสนิททิ้งไว้ 7 วัน สามารถนำมาใช้ประโยชน์กับพืชได้

การพิจารณาปุ๋ยอินทรีย์น้ำที่ใช้ได้แล้ว

  1. สี มีลักษณะเป็นสีน้ำตาล
  2. ลักษณะวัสดุ มีลักษณะการย่อยสลายตามระยะเวลาที่หมัก
  3. กลิ่น มีกลิ่นเปรี้ยวออกน้ำตาล

ประโยชน์ของปุ๊ขอินทรีย์น้ำโดยการใช้สารเร่ง พด.2

  • ช่วยกำจัดเชื้อรา และกลิ่นภายในโรงเรือนเพาะเห็ดฟาง
  • ช่วยเพิ่มผลผลิตทำให้เห็ดฟางเจริญเติบโตเร็วขึ้นมีขนาดใหญ่ น้ำหนักเพิ่มและดอกเห็ดบานช้าลง

วิธีการใช้

  • ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ ปริมาณ 5 ซีซี  (1 ช้อนแกง) ผสมน้ำ 10 ลิตร รดพื้นโรงเรียนเพาะเห็ดฟางหลังจากโรยเชื้อเห็ดฟางเสร็จเรียบร้อยแล้ว
  • ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ ปริมาณ 5 ซีซี  (1 ช้อนแกง) ผสมน้ำ 10 ลิตร ฉีดพ่นระหว่างชั้นภายในโรงเรียนเพาะเห็ดฟาง หลังจากเก็บเห็ดฟางวันแรก

3. การใช้ไอน้ำร้อนหรือน้ำที่มีการเดือดให้กระฉอกออก ให้เปียกพื้นโรงเรือนเพื่อฆ่าเชื้อโรคโดยใส่น้ำให้เกือบเต็มถัง

ผลผลิตที่ได้

นำเห็ดฟางที่เก็บได้จากวัสดุเพาะที่ต่างชนิดกัน นำมาตกแต่งทำความสะอาอาด แล้วชั่งน้ำหนัก ซึ่งวัสดุเพาะแต่ละชนิดให้ผลผลิต ดังนี้

  • ขี้ฝ้ายให้ผลผลิต 66 กิโลกรัม ต่อพื้นที่ 40 ตารางเมตร
  • ขี่ฝ้าย+ขี้เลื่อย+กากมันสำปะหลัง ให้ผลผลิต 60 กิโลกรัมต่อพื้นที่ 40 ตารางเมตร
  • กากมันสำปะหลัง ให้ผลผลิต 58.7 กิโลกรัมต่อพื้นที่ 40 ตารางเมตร
  • ขี้เลื่อย ให้ผลผลิต 53 กิโลกรัมต่อพื้นที่ 40 ตารางเมตร

การใช้ประโยชน์จากวัสดุที่เหลือใช้การเพาะเห็ดฟาง

การนำเศษเหลือจากการตัดแต่งเห็ดฟาง มาทำเป็นน้ำหมักชีวภาพและนำเศษฟางที่ใช้ เพาะเห็ดฟางแล้ว มาทำปุ๋ยหมักชีวภาพ


บทความอื่นที่น่าสนใจ