เกษตรกรรม » การเลี้ยงแกะ มือใหม่เลี้ยงง่ายใช้ต้นทุนต่ำ

การเลี้ยงแกะ มือใหม่เลี้ยงง่ายใช้ต้นทุนต่ำ

16 ตุลาคม 2024
684   0

การเลี้ยงแกะ มือใหม่เลี้ยงง่ายใช้ต้นทุนต่ำ

การเลี้ยงแกะ

การเลี้ยงแกะ ของเกษตรกรส่วนใหญ่เลี้ยงเป็นรายได้เสริม ลักษณะการเลี้ยงจึงปล่อยให้หากินเองตามธรรมชาติ ไม่มีการใช้หลักวิชาการ เพราะมักเข้าใจว่าแกะสามารถหากินได้เก่ง รวมทั้งต้องการลดต้นทุนการเลี้ยง อย่างไรก็ตามหากผู้เลี้ยงไม่เอาใจใส่ปรับปรุงการเลี้ยงให้ถูกต้อง ผลตอบแทนจากการเลี้ยงจะน้อยลงเป็นเงาตามตัว เช่น สุขภาพทั่วไปไม่สมบูรณ์ ให้ลูกอ่อนแอ อัตราการของลูกระยะก่อนหย่านมสูง เป็นต้น

ดังนั้น เกษตรกรผู้สนใจและคิดจะเริ่มเลี้ยงแกะ จึงควรให้ความเข้าใจการเลี้ยงอย่างถูกต้อง เพื่อให้ได้ผลตอบแทนกำไรจากการเลี้ยงสูงที่สุด



พันธุ์แกะที่กรมปศุสัตว์ส่งเสริม

1.) แกะพันธุ์คาทาดิน

กรมปศุสัตว์ได้รับการสนับสนุนพ่อพันธุ์นี้จากสถาบันวินร็อค ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปี พ.ศ.2532 เป็นแกะเนื้อที่รัปบตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี เลี้ยงปล่อยตามทุ่งหญ้าธรรมชาติได้โดยไม่ต้องเสิรมอาหารข้น ผลัดขนเองเมื่ออากาศร้อน ทนพยาธิภายในมากกว่าแกะพันธุ์อื่น เนื้อแกะคุณภาพดี ไม่มีกลิ่นสาบ น้ำหนักแรกเกิด 2.5-3.1 กก. น้ำหนักหย่านม 18-20 กก. โตเต็มที่ตัวผู้หนัก 90 กก. ตัวเมีย 55-60 กก.

2.) แกะพันธุ์ซานตาอิเนส

เป็นแกะเนื้อ จำเข้าจากประเทศบราซิล ปี พ.ศ.2540 ขนาดใหญ่ใบหูยาวปรก หน้าโค้งนูน มีหลายสี น้ำหนักแรกเกิด 2.5-3.5 กก. น้ำหนักหย่านม 18-20 กก. โตเต็มที่ตัวผู้หนัก 80-90 กก. ตัวเมีย 60 กก.

3.) แกะพันธุ์บาร์บาโดส แบล็คเบลลี

เป็นแกะเนื้อ มีถิ่นกำเนิดในหมู่เกาะบาร์บาโดส แถบทะเลแคริบเบียน มีสีน้ำตาลอ่อนถึงเข้ม และมีสีดำที่ใต้คาง ใต้ใบหู บอบตา และบิรเวณพื้นท้องลงมาถึงใต้ขา มีลักษณะพิเศษคือให้ลูกดก อัตราการเกิดลูกแฝดสูง 60.8% แม่แกะวัยเจริญพันธุ์หนัก 45 กก. ขนาดครอก 1.5-2.3 ตัวต่อครอก น้ำหนักแรกเกิดลูกเดี่ยว 3.0 กก. ลูกแฝด 2.8 กก. น้ำหนักหย่านมอายุ 4 เดือน ลูกเดี่ยว 1.7 กก. ลูกแฝด 13.4 กก. และน้ำหนักโตเต้ฒที่ เพศผู้ 68-90 กก. เพศเมีย 40-59 กก.

4) แกะเนื้อพันธุ์ดอร์เปอร์

มีลักษณะเนื้อที่มีคุณภาพสูง สามารปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมต่างๆ ได้ดี ทนแล้ง มีลำตัวสีขาว หัวสีดำ ไม่มีเขา

ข้อดีของการเลี้ยงแกะ

การเลี้ยงแกะนั้นมีข้อดีหลายประการ ทำให้เป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับเกษตรกรและผู้ที่สนใจเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจ ดังนี้

  • ผลผลิตหลากหลาย: แกะให้ผลผลิตที่หลากหลาย ได้แก่
    • เนื้อ: เนื้อแกะเป็นที่นิยมในตลาดอาหารระดับสูง เนื่องจากมีรสชาติอร่อยและมีคุณค่าทางโภชนาการสูง
    • ขน: ขนแกะสามารถนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม และเฟอร์นิเจอร์
    • หนัง: หนังแกะมีคุณภาพดี สามารถนำไปทำเป็นผลิตภัณฑ์หนังต่างๆ เช่น รองเท้า กระเป๋า และเสื้อแจ็คเก็ต
  • เลี้ยงง่าย ใช้พื้นที่น้อย: เมื่อเทียบกับสัตว์เคี้ยวเอื้องขนาดใหญ่ชนิดอื่น เช่น โค และกระบือ แกะต้องการพื้นที่ในการเลี้ยงน้อยกว่า สามารถเลี้ยงในพื้นที่จำกัดได้ และยังเป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่าย ไม่ต้องการการดูแลเอาใจใส่มากนัก
  • ให้ผลตอบแทนเร็ว: แกะมีอัตราการเจริญเติบโตที่เร็ว สามารถนำไปจำหน่ายได้เร็วกว่าสัตว์ชนิดอื่น ทำให้เกษตรกรได้รับผลตอบแทนเร็วขึ้น
  • สามารถเลี้ยงในสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย: แกะสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมที่หลากหลายได้ดี ทั้งในพื้นที่ราบและพื้นที่สูง
  • ช่วยในการปรับปรุงดิน: การปล่อยให้แกะหากินในทุ่งหญ้า จะช่วยในการปรับปรุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น

นิสัยการกินอาหารของแกะ

แกะ สามารถกินหญ้าได้หลายชนิดและพุ่มไม้ต่างๆ แต่แพะมีนิสัยชอบเลือกกินหญ้า หรือพืชที่มีลำต้นสั้น ชอบกินหญาที่งอกขึ้นใหม่ๆ หญ้าหมักและใบพืชผัก ตลอดจนพืชหัวประเภทต่างๆ ซึ่งอาจเลี้ยงแกะในแปลงผักต่างๆ หลัการเก็บเกี่ยวได้ แต่ควรปล่อยให้ใบพืชผักเหล่านั้นแห้งน้ำก่อน เนื่องจากถ้ากินในขณะพืชผักนั้นยังสดอยู่ อาจทำให้แกะท้องอืดได้ เพราะพืชผักนั้นมีน้ำมาก และควรระวังยาฆ่าแมลงที่ใช้ในส่วนพืชผักนั้นด้วย

แกะ เดินแทะเล็มหญ้าวนเวียนไม่ซ้ำที่กันแม้จะมีหญ้าอยู่มากก็ตามก็ยังคงเดินต่อไป ยิ่งมีหญ้ามากแกะก็จะเลือกมากเลือกกินแต่หญ้าอ่อนๆ เช่นเดียวกับแพะซึ่งไม่ชอบกินหญ้าในที่เดียวกันเป็นเวลานานๆ การเลี้ยงแกะที่มีอายุมากหรือลูกแกะที่ยังเล็กควรเลี้ยงในแปลงหญ้าที่มีคุณภาพดี เพราะฟันของแกะเหล่านี้ไม่ค่อยดี การดักหญ้ามนแต่ละครึ้งจะได้ปริมาณหญ้าที่น้อย

ในการปล่อยแกะแทะเล็ม ควรปล่อยแกะลงกินหญ้าที่มีความสูงจากพื้นดินอยู่ระหว่าง 4-8 นิ้ว ส่วนแพะชอบกินหญ้าที่มีความสูงมากกว่า 10 นิ้ว จนถึงความสูงที่สุดเท่าที่จะกินได้ ไม้พุ่มไม้หนามแพะจะชอบกินมาก รวมทั้งยอดอ่อนของต้นพืช ส่วนแกะจะเก็บกินหญ้าที่สั้นตามหลัง

อาหารและการให้อาหาร

จากการที่แกะมีทางเดินอาหารที่ซับซ้อน และมีขนาดใหญ่กว่าสัตว์กระเพาะเดี่ยว ประกอบกับมีจุลินทรีย์อาศัยอยู่ในกระเพาะส่วนหน้า จึงทำให้อาหารแกะแตกต่างไปจากสัตว์กระเพาะเดี่ยวทั่วๆ ไป ในด้านชนิดของอาหารและปริมาณที่แกะต้องการจึงแบ่งอาหารได้ 2 ประการ คือ

  • อาหารหยาบ (Roughage)
  • อาหารขัน (Concentrate)

อาหารหยาบ

ได้แก่ พืชที่นำมาไข้เป็นอาหารแกะในรูปของอาหารสพทยาบ อาหารหยาบแห้ง หรืออาหารหยาบหมัก ได้แก่หญ้าอาหารสัตว์ชนิดต่างๆ พืชตระกูลถั่วบางชนิด หรือเศษเหลือจากพืชบางชนิด เช่น ต้นข้าวโพด ฟางข้าว หรือเศษผักต่างๆ และอาจจะมีวัชพืชบางชนิดที่ใช้เป็นอาหารหยาบได้ เช่น ไมยราบยักษ์vเป็นตัน ซึ่งโดยปกติแล้วอาหารหยาบจะเป็นอาหารหลักสำคัญของแกะ เพราะมีราคาถูกหาง่าย

อาหารข้น

อาหารขัน (Concentrate) เป็นอาหารอีกชนิดหนึ่งที่ไช้เป็นอาหารแกะในบางช่วงระยะเวลาของการผลิตแกะที่ต้องการผลผลิตในปริมาณที่สูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงระยะเวลาที่ต้องการผลผลิตสูงกว่าปกติหรือเร่งด่วน คือ ในช่วงขุนหรือเลี้ยงลูก ซึ่งในขณะนั้นร่างกายมีความต้องการโภชนะต่างๆ สูงกว่าปกติเนื่องจากการให้ผลผลิตสูงอยู่ในช่วงระยะเวลาที่อาหารหยาบมีคุณค่าทางอาหารต่ำ

ลักษณะโรงเรือน

โรงเรือน ควรทำคอกให้อยู่ มีหลังคากันแดดและฝน ยกพื้นสูงเพื่อทำความสะอาดง่าย มีที่ใส่น้ำและอาหาร ความยาวรางอาหารมีพอให้แกะกินได้ครบทุกตัวและ มีที่แบ่งกั้น เพื่อกันตัวอื่นที่แข็งแรงกว่าแย่งกินอาหาร และถ้าเป็นไปได้ควร แบ่งกั้นคอกสำหรับเลี้ยงแกะโต แกะเล็ก แม่อุ้มท้อง แม่เลี้ยงลูก หรือคอกลูกแกะ

การดูแลสุขภาพของแกะ

ผู้เลี้ยงอาจพบปัญหา แกะมีสุขภาพไม่ดี เจ็บป่วย จึงต้องหมั่นเอาใจใส่ดูแลในเรื่องสุขภาพ ดังนี้

  • กำจัดพยาธิภายนอก ได้แก่ เห็บ เหา ไร ซึ่งทำให้สัตว์รำคาญ และขนหลุดเป็นหย่อมๆ หรือเป็นขี้เรื้อนมีผลทำให้สุขภาพไม่ดี ผลผลิตลดลง การป้องกันแก้ไขโดยอาบน้ำและฉีดพ่นลำตัวด้วยยากำจัดพยาธิภายนอก
  • กำจัดพยาธิภายใน ได้แก่ พยาธิตัวกลม ตัวตืด และพยาธิใบไม้ในตับ ซึ่งพยาธินี้จะทำให้ซูบผอม เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ขนและผิวหนังหยาบกร้าน ท้องเสีย ผลผลิตลด ถ้าเป็นรุนแรงทำให้โลหิตจางและตาย การป้องกันปกติถ่ายพยาธิแกะทุก 3 เดือน แต่ถ้าพบว่าบริเวณที่เลี้ยงแกะมีพยาธิชุกชุม ให้ถ่ายพยาธิทุก 1 เดือน
  • การป้องกันโรคระบาด ได้แก่ โรคปากและเท้าเปื่อย โดยฉีดวัคซีนป้องกันโรคตามคำแนะนำของกรมปศุสัตว์กำหนด

โรคที่มักพบในแกะ

ท้องอืด

  • สาเหตุ เกิดก๊าซจากการหมักในกระเพาะอาหารเนื่องจากกินหญ้าอ่อนหรือพืชใบอ่อนถั่วมากเกินไป
  • อาการ กระเพาะอาหารพองลมขึ้นทำให้สวาปทางซ้ายของแกะป่องขึ้น

การป้องกัน

  • ไม่ควรให้แกะกินพืชหญ้าหรือพืชตระกูลถั่วที่ชื้นเกินไป
  • หลีกเลี่ยงอย่าให้แกะกินพืชเป็นพิษ เช่น มันสำปะหลัง หรือไมยราฟยักษ์

การรักษาและควบคุม

  • ถ้าท้องป่องมากอย่าให้แกะนอนตะแคงซ้าย
  • กระตุ้นให้แกะยืนหรือเดิน
  • เจาะท้องที่สวาปซ้ายด้านบนด้วยเข็มเจาะหรือมีดเพื่อระบายก๊าซออก

ปวดบวม

  • สาเหตุ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย
  • อาการ จมูกแห้ง ขนลุก มีไข้ ซึม เบื่ออาหาร หายใจหอบ มีน้ำมูกข้น ไอหรือจามบ่อยๆ

การป้องกัน ปรับปรุงโรงเรือนให้อบอุ่น อย่าให้ลมโกรก ฝนสาด
การรักษาและควบคุม ใช้ยาปฏิชีวนะโดยการฉีด 3 วันติดต่อกัน เช่น ไทโลซิน คลอแรมฟินิคอล เตตราซัยคลิน เป็นต้น

โรคกีบเน่า

  • สาเหตุ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย
  • อาการ เดินขากะเผลก กีบเน่ามีกลิ่นเหม็น

การป้องกัน

  • รักษาความสะอาด อย่าให้พื้นคอกสกปรก ชื้นแฉะ
  • หลีกเลี่ยงสิ่งของมีคม เช่น ตะปูไม่วางบนพื้น ทำให้กีบเท้าเป็นแผล
  • ตัดแต่งกีบเป็นประจำปกติ

การรักษาและควบคุม

  • ทำความสะอาด ตัดส่วนที่เน่าออก ล้างจุ่มน้ำยาฆ่าเชื้อ เช่น ฟอร์มาลีน 2-3% หรือสารละลายด่างทับทิม 10%
  • ใช้ผ้าพันแผลที่เน่า ป้องกันแมลงและบรรเทาการเคลื่อนไหว

การเลี้ยงแกะ: กิจกรรมที่น่าสนใจและให้ผลตอบแทน

การเลี้ยงแกะเป็นกิจกรรมทางการเกษตรที่น่าสนใจและให้ผลตอบแทนหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นเนื้อแกะ นมแกะ ขนแกะ หรือแม้แต่ปุ๋ยจากมูลแกะ การเลี้ยงแกะยังเป็นการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์พื้นเมืองและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอีกด้วย

เหตุผลที่น่าสนใจในการเลี้ยงแกะ

  • ผลตอบแทนหลากหลาย: จากเนื้อ นม ขน และปุ๋ย
  • ตลาดมีความต้องการ: ผลิตภัณฑ์จากแกะมีตลาดรองรับทั้งในและต่างประเทศ
  • การดูแลไม่ซับซ้อน: แกะเป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่ายและปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี
  • ส่งเสริมการท่องเที่ยว: ฟาร์มแกะสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวได้
  • อนุรักษ์พันธุ์สัตว์: ช่วยรักษาพันธุ์แกะพื้นเมืองให้คงอยู่

สิ่งที่ต้องเตรียมก่อนเริ่มเลี้ยงแกะ

  • ความรู้: ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการเลี้ยงแกะ เช่น พันธุ์แกะ โรคของแกะ การให้อาหาร การจัดการคอก
  • งบประมาณ: เตรียมงบประมาณสำหรับซื้อแกะ สร้างคอก ซื้ออาหาร และอุปกรณ์อื่นๆ
  • พื้นที่: มีพื้นที่เพียงพอสำหรับการเลี้ยงแกะและสร้างคอก
  • แหล่งน้ำ: มีแหล่งน้ำสะอาดเพียงพอสำหรับแกะ
  • ตลาด: หาตลาดสำหรับจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากแกะ

ขั้นตอนการเลี้ยงแกะ

  1. เลือกพันธุ์แกะ: เลือกพันธุ์แกะที่เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศและวัตถุประสงค์ในการเลี้ยง
  2. เตรียมคอก: สร้างคอกที่แข็งแรง สะอาด และปลอดภัย
  3. จัดหาอาหาร: ให้อาหารแกะให้ครบถ้วนตามความต้องการ
  4. ดูแลสุขภาพ: ตรวจสุขภาพแกะเป็นประจำ ป้องกันและรักษาโรค
  5. จำหน่ายผลิตภัณฑ์: จำหน่ายผลิตภัณฑ์จากแกะ เช่น เนื้อ นม ขน หรือเปิดฟาร์มให้คนเข้าชม

ผลประโยชน์จากการเลี้ยงแกะ

  • รายได้: ได้รับรายได้จากการขายผลิตภัณฑ์จากแกะ
  • ปุ๋ย: มูลแกะสามารถนำไปใช้เป็นปุ๋ยได้
  • ความสุข: การเลี้ยงแกะเป็นกิจกรรมที่ผ่อนคลายและสร้างความสุข
  • ความรู้: ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์และการเกษตร

หากคุณสนใจที่จะเลี้ยงแกะ ขอแนะนำให้ปรึกษาผู้ที่มีประสบการณ์ในการเลี้ยงแกะ หรือเข้าร่วมกลุ่มผู้เลี้ยงแกะ เพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติม





บทความอื่นที่น่าสนใจ