วิธีการปลูกเผือก พืชเศรษฐกิจสร้างรายได้ ปลูกง่ายโตดี
วิธีการปลูกเผือก
เผือกเป็นพืชล้มลุก หัวเผือกเป็นลำต้นที่เกิดอยู่ใต้ดิน ประกอบไปด้วยหัวใหญ่ 1 หัว และมีหัวเล็ก ๆ แตกออกรอบๆ ขนาดรูปร่างของหัว สีของเนื้อเผือกมีความแตกต่างกันออกไปตามพันธุ์หัวใหญ่ มีน้ำหนักตั้งแต่ 450 กรัม – 3.5 กิโลกรัม หัวเล็กหนักตั้งแต่ 28 กรัม – 450 กรัม เนื้อเผือกมีสีขาวหรือม่วงอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต ประมาณ 21-27 องศาเซลเชียส ค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดิน ประมาณ 5.5 – 6.5 อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 5-6 เดือน ต้องการน้ำฝนประมาณ 1,750-2,500 มิลลิเมตรต่อปี
สภาพดินฟ้าอากาศที่เหมาะสม
เผือกเป็นพืชหัวที่มีต้นคล้ายบอนมีความต้องการน้ำ หรือความชื้นในการเจริญเติบโตค่อนข้างสูงเผือกจึงชอบดินอุดมสมบูรณ์ และสามารถอุ้มน้ำไว้ได้มาก สามารถปลูกได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทยในแหล่งที่มีระบบน้ำชลประทานดีจะสามารถปลูกเผือกได้ตลอดปี ส่วนในแหล่งที่มีน้ำจำกัดควรปลูกเผือกในช่วงฤดูฝนเท่านั้น เผือกปลูกได้ทั้งที่ลุ่มและดอน สภาพไร่ ที่ราบสูงไหล่เขาและปลูกได้ในดินหลายชนิด ยกเว้นดินลูกรัง ดินที่เหมาหะสมสำหรับการปลูกเผือกมากที่สุด คือ ดินร่วนปนทราย มีอินทรีย์วัตถุสูง หน้าดินลึก ระบายน้ำดี โดยปกติจะใส่ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุยคอก หรือปุ๋ยหมักจำนวนมากก่อนปลูกโดยหว่าน และไถกลบก่อนปลูก 2 -3 เดือน และ เพิ่มปุ๋ยไนโตรเจน และโปแตสเซียม ระหว่างพืชเจริญเติบโตจะให้ผลดี
การจำแนกพันธุ์สายพันธุ์ของเผือก
ประเทศไทยมีผือกมากมายหลายพันธุ์ ศูนย์วิจัยพืชสวนพิจิตรได้รวบรวมพันธุ์เผือกจากแหล่งต่าง ๆ ทั้งในแต่ละต่างประเทศประมาณ 50 พันธุ์ สามารถจำแนกพันธุ์เผือกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ดังนี้
- จำแนกเผือกตามกลิ่นของหัว มี 2 ประเภท คือ
- เผือกหอม เผือกชนิดนี้เวลาต้มหรือประกอบอาหารจะมีกลิ่นหอม ได้แก่ เผือกหอมเชียงใหม่
- เผือกชนิดไม่หอม เผือกชนิดนี้เวลาต้ม หรือประกอบอาหารจะไม่มีกลิ่นหอม อย่างไรก็ตามเผือกชนิดนี้บางพันธุ์ถึงแม้จะไม่มีกลิ่นหอมแต่ก็มีข้อดีตรงที่มีลักษณะเนื้อเหนียวแน่นน่ารับประทานเช่นกัน
- การจำแนกเผือกตามสีของเนื้อ มี 2 ประเภท คือ
- เผือกเนื้อสีขาวหรือสีครีม เผือกชนิดนี้เมื่อผ่าดูเนื้อในจะพบว่า มีสีขาว หรือสีขาวครีม
- เผือกเนื้อสีขาวปนม่วง เผือกชนิดนี้เมื่อผ่าหัวดูเนื้อ จะพบว่ามีสีขาวลายม่วงปะปนอยู่ซึ่งจะมีสีม่วงมากหรือน้อยแตกต่างกันในแต่ละพันธุ์ได้แก่เผือกหอมเชียงใหม่
การขยายพันธุ์เผือก
เผือกเป็นพืชหัวที่สามารถขยายพันธุ์ได้หลายวิธี ดังนี้
- การเพาะเมล็ด เป็นวิธีที่ง่ายแต่ใช้เวลานานกว่าจะย้ายปลูกลงแปลงได้ ในประเทศไทยเผือกแต่ละพันธุ์มีการออกดอกและติดเมล็ดน้อย เกษตรกรไม่นิยมขยายโดยวิธีนี้
- การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื้อ เป็นวิธีการขยายพันธุ์เผือกที่ปลอดจากเชื้อที่ติดมากับตันพันธุ์ได้ เป็นปริมาณครั้งละมาก ๆ แต่ตันทุนการผลิตสูงเกษตรกรยังไม่นิยมขยายพันธุ์โดยวิธีนี้
- การขยายพันธุ์โดยใช้หน่อ เป็นส่วนที่แตกออกมาเป็นตันเผือกขนาดเล็กอยู่รอบๆต้นใหญ่ เมื่อแยกออกจากตันใหญ่ หรือต้นแม่แล้วสามารถนำไปลงแปลงไต้โดยไม่ต้องเสียเวลาไปเพาะชำ
- การขยายพันธุ์โดยใช้หัวพันธุ์ หรือที่เกษตรกรเรียกว่าลูกซอหรือลูกเผือก ซึ่งเป็นหัวขนาดเล็กที่อยู่รอบ หัวเผือกขนาดใหญ่ วิธีนี้เป็นวิธีที่นิยมทั่วไปทั้งประเทศไทยและต่างประเทศ แต่ในการ ปลูกแต่ละครั้ง ควรเลือกเผือกที่มีขนาดปานกลางไม่เล็กหรือใหญ่เกินไป หัวพันธุ์ที่มีขนาดสม่ำเสมอจะ ทำให้เผือกที่ปลูกแต่ละตันลงหัวในเวลาใกล้เคียงกัน เก็บเกี่ยวได้พร้อมกัน และที่สำคัญจะทำให้ไม่มีหัว ขนาดเล็กและใหญ่แตกต่างกันมาก
การปลูกและกรดูแลรักษา
การเตรียมดิน ไถดินตากไว้ ประมาณ 15-30 วัน เพื่อกำดวัชพืช โรคและแมลงในดินตามด้วยการไถพรวนเพื่อย่อยดิน
การปลูก นำส่วนของหัวพันธุ์ลงปลูกลึก 20-30 เซนติเมตร ระยะปลูกระหว่างต้น 60 เซนติเมตร ระยะห่างแถว 1 เมตร ควรใส่ปุ๋ยจอกรองกันหลุมก่อนปลูก (พื้นที่ 1 ไร่ ใช้หัวพันธุ์เผือกประมาณ 100-200 กิโลกรัม)
การใส่ปุ๋ย ( ใส่ปุ๋ย 3 ครั้ง)
- ครั้งที่ 1 ก่อนปลูกรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกอัตรา 1-3 กำมือต่อต้น และปุ๋ย 18-6-6 อ้ตรา 50-100 กิโลกรัมต่อไร่
- ครั้งที่ 2 เมื่ออายุ 2 เดือน ใช้สูตร 18-6-6 หรือ 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่
- ครั้งที่ 3 เมื่ออายุ 3-4 เดือน ใช้สูตร 13-13-21 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่
ในการใส่ปุ๋ยแต่ละครั้ง ควรระพรวนดินและรดน้ำให้ชุ่มชื้นอยู่เสมอ
การเก็บรักษา ก่อนขุดเผือกประมาณ 15-30 วัน ไม่ควรเอาน้ำเข้าแปลงหรือรดน้ำในแปลงเผือก และควรเก็บเผือกไว้ในห้องที่มีการระบายอากาศได้ดี ในที่แห้ง หัวที่เก็บไว้ไม่ควรเป็นหัวที่มีบาดแผล อุณหภูมิประมาณ 10-15 องศาเซลเซียส
โรคแมลงและศัตรูพีชที่สำคัญ
- หนอนกระทู้ผัก เป็นแมลงศัตรูเผือกที่ระบาดเฉพาะแหล่งโดยเริ่มแรกผีเสื้อจะวางไข่ไว้ตามใบเผือก แล้วฟักตัวออกเป็นตัวหนอนกัดกินใบเผือกด้านล่าง ถ้าหนอนกระทู้ผัก ระบาดมากจะกัดกินใบเผือกเสียหายทั่วแปลงได้ ทำให้เผือกลงหัวน้อยผลผลิตต่ำ การป้องกันและกำจัดพ่นด้วยเชื้อบีที อัตราคำแนะนำในฉลาก หรือพ่นด้วยสารกำจัดแมลง เช่น แลมบ์ดาไซฮาโลทริน ไตรอะโซฟอสและคลอร์ฟลูอาซูรอน อัตราตามคำแนะนำในฉลาก
- ไรแดง เป็นแมลงศัตรูขนาดเล็กที่ ระบาตเฉพาะแหล่ง รูปร่างคล้ายแมงมุม ตัวเล็กมากลำตัวสีแตง โดยจะดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณใด้ใบเผือกทำให้เกิดรอยจุดสีน้ำตาลหรือสีขาว แล้วแห้งในที่สุดพบมากในช่วงฤดูแล้ง การป้องกันและกำจัดพ่นด้วยสารกำจัดแมลงไดโคโฟล อัตราตามคำแนะนำในฉลาก
-
โรคใบไหม้ (โรคจุดตาเสือ) เกิดจากเชื้อรา Phythopthere oolooasiae Pao. อาการบนใบเกิดจุตสีน้ำตาลเกาะอยู่เป็นวง ๆ เมื่อบีบจะแตกเป็นผง สีสนิม หรืออาจเน่าและถ้าอากาศซื้นมีฝนพรำ การป้องกันและกำจัดหากพบเป็นโรคใบจุดตาเสือ ให้ตัดใบที่เป็นโรคไปเผาทำลายให้หมด ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ เชื้อราจะปลิวไปยังต้นอื่นๆได้ หรือแยกปลูกให้ห่างกัน เพื่อลดการแพร่กระจายของโรค และใช้สารเจมีฉีดพ่น เช่น เมทาแลกชิต โอฟูเรช อัตราตามคำแนะนำในณลาก
ที่มา: กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ , sarakaset.com
บทความอื่นที่น่าสนใจ