วิธีการเลี้ยงปูนา สำหรับมือใหม่หัดเลี้ยง
วิธีการเลี้ยงปูนา
“ปูนา” (Rice-field crabs) เป็นสัตว์น้ำจืดที่อยู่คู่กับวิถีชีวิตชาวนาไทยมาช้านาน ไม่เพียงเป็นแหล่งอาหาร ปูนายังมีความสำคัญต่อระบบนิเวศ การแพทย์ และวัฒนธรรม แต่ด้วยวิถีการทำนาที่เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้ปริมาณปูนาลดลง จนต้องนำเข้าปูนาจากประเทศเพื่อนบ้าน ขณะเดียวกันได้เกิดการส่งเสริมให้เกษตรกรไทยเลี้ยงปูนาเป็นอาชีพเสริม ซึ่งไม่เพียงสร้างรายได้หากยังช่วยอนุรักษ์ปูนาให้อยู่คู่กับสังคมไทย การเริ่มต้นเลี้ยงปูนาเกษตรกรจำเป็นต้องมีความรู้และเข้าใจชีววิทยาและวิถีชีวิตของปูนาและควรทดลองเลี้ยงในบ่อพลาสติก หรือบ่อซีเมนต์ สังเกตพฤติกรรมและทำความเข้าใจปูนาก่อนขยายการเลี้ยง
ในประเทศไทยพบสายพันธุ์ปูนาหลากหลายชนิดตามแต่ละภูมิภาคเช่น ภาคกลาง กลุ่มปูนา Sayamia sp. ถิ่นกำเนิดที่ราบลุ่มภาคกลางสายพันธุ์กำแพงเพชร Sayamia germaini (Rathbun, 1902) สายพันธุ์สมเด็จพระเทพฯ Sayamia bangkokensis (Naiyanetr, 1982)ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มปูนาสกุล Esanthelphusa sp. (Ng & Naiyanetr, 1993 (อีสานเทลพูซา) เป็นพันธุ์พื้นเมืองของภาคอีสาน เช่น สายพันธุ์สุรินทร์ สายพันธุ์เมืองบัว สายพันธุ์บ้านสำโรง เป็นต้น
ทำความรู้จัก ปูนา ก่อนลงมือเลี้ยง
“ส่วนท้อง มีกระดองหุ้มลำตัวที่กระดองมีลักษณะเป็นรูปไข่ มีสีน้ำตาลดำ สีน้ำตาลอมแดง หรือน้ำตาลม่วง”
รูปแบบการเลี้ยงปูนา
-
เลี้ยงปูนาในบ่อชีเมนต์
การเลี้ยงปูนาในบ่อซีเมนต์นั้นมีข้อดีคือ ดูแลง่าย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของระบบน้ำ อาหาร รวมทั้งใช้พื้นที่น้อย โดยการนำวงบ่อปูนมาตั้ง แนะนำให้ตั้งในที่ร่ม เพราะปูไม่ชอบอากาศร้อน แล้วต่อท่อระบายน้ำออกด้านล่าง เทปูนปิดที่ฐานบ่อ ปล่อยทิ้งไว้ 3 วันรอให้ปูนเซ็ตตัวและแห้งสนิทในการทำบ่อซีเมนต์สำหรับเลี้ยงปูนาแล้วแต่ความสะดวกของเกษตร โดยส่วนใหญ่แล้วนิยมทำขนาด 2×3 เมตรจะทำเป็นแบบเทพื้นปูน หรือจะเลี้ยงแบบพื้นดินก็ได้ แต่แนะนำให้ทำแบบพื้นปูนแล้วใส่ดินหน้าประมาณ 20 – 30เชนติเมตร เพื่อให้ปูได้ขุดรู โดยการใส่ดินเข้าไปในบ่อนั้น เทดินแบบลาดเอียง อีกข้างหนึ่งมีน้ำ เลียนแบบบ่อธรรมชาตินั่นเอง หรือจะเทดินทั้งหมด แล้วใส่น้ำในกะละมังก็ได้ แล้วแต่สะดวกปลูกพืชพรรณไม้น้ำเพื่อให้เป็นแหล่งอาศัยและเป็นแหล่งอาหารของปูนา อาทิ ผักบุ้ง ผักตบชวา ทำการต่อสปริงเกอร์ หรือ ถ้าไม่มีก็สามารถใช้สายยางธรรมดาเตรียมไว้คอยฉีดน้ำให้บ่อชุ่มชื่นอยู่เสมอ หาเศษไม้ขอนไม้ หรือทางมะพร้าวมาวางในบ่อ เพื่อให้ปูได้อยู่อาศัยหลบซ่อน จากนั้นเราก็ปล่อยปูนาลงเลี้ยง(หาได้จากธรรมชาติหรือซื้อมาก็ได้) 1 กิโลกรัม/ 1 บ่อ (อัตราส่วนปูตัวผู้และตัวเมียอย่างละเท่าๆกัน) -
เลี้ยงปูนาในบ่อดิน
สำหรับขั้นตอนการเลี้ยงปูนาในบ่อดิน ค่าใช้จ่ายจะมากกว่าการเลี้ยงในบ่อซีเมนต์และก็ต้องมีพื้นที่เพื่อที่จะขุดบ่อเพราะพื้นที่ในการเลี้ยงปูนาแบบบ่อดินนั้น ต้องมีอวนมุ้งตาถี่ล้อมรอบบ่อเพื่อป้องกันปูนาไต่หนี แต่ข้อสำคัญของบ่อเลี้ยงปูนาแบบในบ่อดินคือ ประมาณ 3 ใน 4 ของพื้นที่ของบ่อดินควรเป็นดินสูงประมาณ 30 เซนติเมตร เพื่อให้ปูนาได้ขุดรูอยู่ด้วย ส่วนที่เป็นพื้นที่ดินนี้จะลาดเข้าหาอีกส่วนหนึ่งที่เป็นน้ำตามความเหมาะสม
แต่หากท่านใดมีบ่อเก่าที่เคยใช้งานมาก่อนแล้วเช่นเคยขุดบ่อเลี้ยงกบหรือเลี้ยงปลาก่อนหน้านั้นก็สามารถนำกลับมาเลี้ยงปูนาได้โดยไม่ต้องขุดบ่อใหม่ จัดการบ่อให้มีสภาพแวดล้อมเลียนแบบธรรมชาติมากที่สุด เช่นปลูกข้าว,ผักบุ้ง,หญ้า,จอกแหน,สาหร่าย ปูนาจะได้มีแหล่งอาหารทางธรรมชาติและก็จะได้เป็นที่หลบซ่อนของปูได้อีกด้วย
การเพาะพันธุ์ปูนา
ปูนาสามารถนำมาเพาะในโรงเพะฟักเพื่อผลิตลูกปูวัยอ่อนได้เช่นเดียวกับปูม้า หรือปูทะเล บ่อที่ใช้จะเป็นบ่อชีเมนต์ ถังพลาสติก หรือ ตู้กระจก ก็ได้ ขนาดของบ่อก็ไม่จำกัด ขึ้นอยู่กับความสะดวกในการจัดการของแต่ละท่าน
เทคนิคผสมพันธุ์ เพิ่มผลผลิตปูนา
- เลือกตำแหน่งที่ตั้งของบ่อพ่อ – แม่พันธุ์ ในบริเวณที่ไม่มีเสียงรบกวนงดให้อาหารและเปลี่ยนถ่ายน้ำให้ใสที่สุดก่อนนำพ่อแม่พันธุ์ปู่ไว้ในบ่อเดียวกัน ในอัตราส่วน ปูตัวผู้ 2 ตัว/ตัวเมีย 10 ตัว การผสมพันธุ์ใช้เวลา 2-3 ชั่วโมง หลังจากนั้นจับแม่ปูออกจากบ่อ
- จำลองบรรยากาศให้เหมือนช่วงฤดูฝน ใช้วัสดุรักษาสมดุลระดับความชื้น เช่น สังกะสี ใบตาล ใบมะพร้าว โดยมีส่วนดิน ส่วนน้ำ และพันธุ์พืช จำลองธรรมชาติด้วยเทคโนโลยี ติดเครื่องพ่นหมอก เครื่องทำความชื้นติดหัวสปริงน้ำ ติดลำโพงเสียงเลียนแบบเหตุการณ์ ในธรรมชาติของฤดูฝน (เสียงฝนตก ฟ้าร้อง กบเขียด จิ้งหรีด เป็นต้น)
พ่อแม่พันธุ์ปูนา
พ่อแม่พันธุ์ ในระยะแรกก็คงต้องรวบรวมจากธรรมชาติ จะเริ่มเพาะจากพ่อแม่พันธุ์ก็ได้ หรือจะใช้แม่ปูที่มีไข่ที่จับปิ้งและมีลูกปูวัยอ่อนที่ติดกระดองอยู่แล้วมา อนุบาล ก็จะประหยัดเวลาและต้นทุนในการผลิตได้มาก
การอนุบาลลูกปู
ในช่วง 15 วันแรก ควรให้ ไรแดง หนอนแดง เทา หรือไข่ตุ๋น กินเป็นอาหาร หลังจากนั้นควรให้ปลาหรือกุ้งสับอาหารเม็ดที่ใช้เลี้ยงลูกปลาดุกก็ใช้ได้ เมื่อมีอายุประมาณ30วันก็สามารถนำไปปล่อยเลี้ยงในบ่อดินหรือบ่อซีเมนต์เพื่อให้มีขนาดโตเต็มวัยได้ความหนาแน่นที่ปล่อยเลี้ยง ลูกปูในระยะนี้ควรปล่อยเลี้ยงในปริมาณ 10,000 ตัว/เนื้อที่1 ตารางเมตร
การเจริญเติบโต
ปูนามีการเจริญเติบโตโดยการลอกคราบเช่นเดียวกับปูชนิดอื่น ๆ หลังจากฟักเป็นตัวแล้วปูนาจะลอกคราบ ประมาณ 13-15 ครั้งก็จะโตเป็นปูเต็มวัย ได้ขนาดตามที่ตลาดการ ต้องใช้เวลาประมาณ 6-8 เดือน
การลอกคราบ
ปู่ที่จะลอกคราบสังเกตได้จากรอยต่อทางส่วนท้ายของกระดองจะกว้างมากกว่าปกติ เมื่อใกล้จะลอกคราบปูจะนิ่งและเหยียดขาออกไปทั้งสองข้าง จากนั้นรอยต่อทางส่วนท้ายของกระดองก็จะเปิดออก ส่วนท้ายพร้อมกับขาเดินคู่สุดท้ายจะออกมาก่อน ขาคู่ถัดมาจะค่อย ๆ โผล่ออกมาตามลำดับ ส่วนก้ามคู่แรกจะโผล่ออกมาเป็นอันดับสุดท้ายระยะเวลาที่ใช้เวลาลอกคราบทั้งหมดประมาณ 1 ชั่วโมง
ศัตรูที่ต้องระวังสำหรับปูนา
นกกระปูด นกแสก หนูนาและพังพอนแมงมุม (ช่วงปูวัยอ่อน)มดคันไฟหรือมดแดง (ช่วงปูลอกคราบ) หรือ เลี้ยงแบบน้ำปนดิน
ปรสิตในปูนา ทั้พาสีไปไผัและบปริงชันทนุดผู้เลี้ยงปูต้องเข้าโจวงจรชีวิตปรสิตของปู เพื่อป้องกันและหลีกเลี่ยงการนำสิ่งต่างๆ ที่อาจเป็นพาหะให้ปรสิตอยู่ในตัวปู เฝ้าระวังป้องกันโรคติดต่อจากปรสิตในปู เพื่อลดความเสี่ยงการติดต่อถึงคน รับประทานปูนาแบบปรุงสุก
การขนส่งปูนา
- ปูพ่อแม่พันธุ์ บรรจุปูแต่ละตัวลงกล่องพลาสติกใสแบบกลมหรือสี่เหลี่ยมขนาดพอดีกับตัวปู ปิดฝาด้วยเทปใส เจาะรูระบายอากาศ นำกล่องพลาสติกวางรวมในกล่องโฟมที่เจาะรูระบายอากาศ โดยรอบและภายในมีกันกระแทกขนาดพอดีกับจำนวนกล่องปู ปิดฝาด้วยเทปกาวที่แข็งแรง
- ปูสด จำหน่ายที่ตลาด ถ้าต้องให้มีชีวิตสดนาน ไม่ควรล้างดินออกก่อนวางใบไม้คละปนกับปูเพื่อช่วยยืดอายุปู ถ้าในฤดูหนาวควรเพิ่มฟางปกคลุม
- ปูเพื่อบริโภค ขนส่งปูทางไกล ใช้วิธีน็อคในถังแช่แข็งและจัดส่งผ่านรถห้องเย็นของบริษัทขนส่ง
ราคาขายปูนาสดในตลาด
- ฤดูฝน 40-60 บาท/กก.
- ฤดูแล้ง 60-120 บาท/กก.
- ปูนาเลี้ยงแบบอินทรีย์ คัดเกรดขนาดตัวใหญ่ 150-200 บาท/กก.
- ปูพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ 50-100 บาท/คู่
ข้อมูลโดย
- ผศ.ดร.นิภาศักดิ์ คงงาม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
- โครงการการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเลี้ยงปูนาในระดับชุมชน 2563
- โครงการการพัฒนชุมชนเขตทุ่งกุลาร้องไห้ด้วยวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม
- สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) 111 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถพหลโยธิน ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120 โทรศัพท์ 0 2564 7000 โทรสาร 0 2564 7004 อีเมล agritec@nstda.or.th www.nstda.or.th/agritec
บทความอื่นที่น่าสนใจ