การเลี้ยงไก่ไข่อินทรีย์ ระบบปล่อยอิสระ
การเลี้ยงไก่ไข่อินทรีย์
ปัจจุบันนั้นเทรนด์ของผู้ที่รักสุขภาพนั้นเพิ่มมากขึ้นและผู้บริโภคยุคใหม่ให้ความสำคัญกับการเลือกซื้ออาหารที่มีประโยชน์ และมีคุณค่าต่อสุขภาพ การเลี้ยงไก่ไข่อินทรีย์ ระบบปล่อยอิสระ นั้นมีคุณภาพทั้งเนื้อและไข่ที่มีคุณค่าทางโภชนะดีกว่าการเลี้ยงในระบบขังคอกหรือกรงตับ เช่น วิตามินเอและดีสูงกว่า 2 เท่า โอเมก้า-3 สูงกว่า 4 เท่า ดังนั้น เราจึงได้เขียนบทความ การเลี้ยงไก่ไข่อินทรีย์ระบบ ปล่อยอิสระ เพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติให้แก่ผู้เลี้ยงไก่ เพื่อผลิตไข่คุณภาพ
องค์ประกอบของ การเลี้ยงไก่ไข่อินทรีย์
- คอก ไก่ไข่ พื้นที่เหมาะสมไม่มากกว่า 4 ตัว/ตารางเมตร ติดตาข่ายไม่ให้นกเข้าได้ มีแกลบรองพื้น มีรังไข่ (4 ตัว/รัง) มีรางอาหาร ถังน้ำ มีคอนนอนเพียงพอ ประตูก่อนเข้าคอก มีบ่อจุ่มเท้าและทำความสะอาดเป็นประจำ พื้นที่ปล่อยเลี้ยง
- พื้นที่เหมาะสม ไม่น้อยกว่า 4 ตารางเมตร/ต่อตัว อาจทำอาหารเพื่อเสริมโปรตีน (เพาะปลวก, ไฟล่อแมลง) ปลูกต้นไม้ให้ร่มเงา ปลูกหญ้า/ ถั่วสำหรับไก่จิกกิน)
- ห้องเก็บอาหาร ทำชั้นวางสูง ไม่น้อยกว่า 30 เซนติเมตร พื้นแข็งแรง ไม่ให้นกหรือสัตวีอื่นเข้า
- คอกพักสัตว์ป่วย พื้นคอกยกสูงพอสมควร ทำถาดรองมูลไม่ให้มูลสัมผัสพื้น ไม่ให้นกหรือสัตว์อื่นเข้า และกันตาข่ายไม่ให้สัตว์อื่นเข้ามาในบริเวณ
- บ่อทิ้งซาก ทำจากบ่อซีเมนต์ขนาด 50-80 เซนติเมตร จำนวน 3 บ่อ มีฝาปิด และกั้นตาข่ายไมให้สัตว์อื่นเข้า
- จุดล้างวัสดุอุปกรณ์ มีวาล์วน้ำ/ถังน้ำ และมีพื้นสำหรับรองวาง เพื่อล้างวัสดุ อุปกรณ์
- ถังขยะพร้อมฝาปิด ถังใส่ถุง มีฝาปิดและการทำลายขยะห้ามเผาโดยเด็ดขาด
- ประตูทางเข้าแนวเขตพื้นที่ มีบ่อจุ่มเท้า พร้อมฝาปิดและรองเท้าบูทสำหรับปฏิบัติงาน
- แนวรั้วรองแนวเขตทั้งหมด แข็งแรงป้องกันไมให้ไก่ เข้า-ออกได้ ปลูกพืชแนวกันชน กรณีอยู่ใกล้พื้นที่สารเคมีให้ทำคันดินยกสูง และปลูกพืชตามแนวคันดินด้วย
- สถานที่เก็บไข้ไก่อินทรีย์ มีสถานที่เก็บไขไก่อินทรีย์ที่เหมาะสม ไม่ปนเปื้อนกับไข่ชนิดต่างๆ
อาหารสัตว์
ในระยะแรก ควรเลี้ยงไก่ด้วยอาหารสำเร็จรูปไก่ไข่ตามระยะอายุของไก่ หลังจากมีประสบการณ์แล้ว สามารถเลือกใช้อาหารได้ตามความเหมาะสม อาหารสัตว์ต้องปลอดภัยจากสารเคมีที่ก่อให้เกิดอันตราย และไม่มีการเสริมยาปฏิชีวนะ มีน้ำสะอาดให้กินอย่างสม่ำเสมอ แต่หากเป็นการเลี้ยงไก่ระบบอินทรีย์ จะต้องให้กินอาหารอินทรีย์เกษตรกรสามารถเสริมวัตถุดิบหรือผลพลอยได้ทางการเกษตร เช่น มะละกอ ข้าวโพดกล้วย ต้นกล้วย พืชผักสวนครัวและสมุนไพร เป็นต้น
สมุนไพรเสริมสร้างสุขภาพสัตว์
- ฟ้าทะลายโจร
สรรพคุณ แก้ไข แก้หวัด หน้าบวม แก้ท้องเสีย แก้ติดเชื้อในลำไส้ช่วยเจริญอาหาร ฯลฯ
วิธีใช้ ใบตากแห้งบดเป็นผง 1 แก้ว (150 ซีซี)/ อาหารข้น 100 กิโลกรัม - ขมิ้นชัน
สรรพคุณ ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา ลดการอักเสบ แก้ท้องเสีย ฯลฯ
วิธีใช้ เหง้าตากแห้งบดเป็นผง 1 แก้ว (150 ซีซี)/ อาหารข้น 100 กิโลกรัม - ไพล
สรรมคุณ แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขยายหลอดลม บิดเป็นมูกเลือดในสุกร ฯลฯ
วิธีใช้ เหง้าตากแห้งบดเป็นผง 1 แก้ว (150 ซีซี)/อาหารข้น 100 กิโลกรัม
- บอระเพ็ด
สรรพคุณ แก้ไข ขับพยาธิภายใน ช่วยเจริญอาหาร บำรุงร่างกาย ฯลฯ
วิธีใช้ เถาสดทุบแช่น้ำให้สัตว์กิน หรือนำมาหมักเป็นน้ำหมักชีวภาพ (เพื่อความสะดวกในการให้สัตว์) น้ำหมัก 2 ซ้อนโต๊ะ/น้ำสะอาด 10 ลิตร - ตะไคร้หอม
สรรพคุณ ป้องกันไร ยุง ช่วยดับกลิ่นพื้นตอก
วิธีใช้ ใบรองรังไข่ป้องกันไร หรือนำมาหมักเป็นน้ำหมักชีวภาพ (เพื่อความสะดวก) น้ำหมัก 1 แก้ว (150 ซีซี) น้ำเปล่า 10 ลิตร ฉีดพ่นพื้นคอกเพื่อดับกลิ่นได้เป็นอย่างดี - ลูกใต้ใบ
สรรพคุณ แก้ไข แก้หวัด ช่วยเจริญอาหาร ช่วยขับสารพิษออกจากตับในสัตว์ แก้ท้องเสีย ฯลฯ
วิธีใช้ นำมาหมักเป็นน้ำหมักชีวภาพ (เพื่อความสะดวก) น้ำหมัก 2 ช้อนโต๊ะ/น้ำสะอาด 10 ลิตรให้สัตว์กิน
การใช้น้ำหมักชีวภาพเลี้ยงไก่ไข่อินหรีย์
น้ำหมักชีวภาพ คือ การนำเอาพืช ผัก ผลไม้ สัตว์ชนิดต่างๆ มาหมักกับน้ำตาลทำให้เกิดจุลินทรีย์ ที่เป็นประโยชน์จำนวนมาก ซึ่งจุลินทรีย์เหล่านี้ จะไปช่วยสลายธาตุอาหารต่างๆ เมื่อถูกย่อยสลายโดยกระบวนการของแบคทีเรียหรือจุลินทรีย์สารต่างๆ จะถูกปลดปล่อยออกมา เช่น โปรตีน กรดอะมิโน กรดอินทรีย์ ธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง จุลธาตุ เป็นต้น
การจัดการด้านสุขภาพและการป้องกันโรค
- ต้องมีการใช้น้ำหมักชีวภาพผสมน้ำ หรือ อาหารให้สัตว์กินเป็นประจำ เพื่อเสริมสร้างสุขภาพสัตว์โดยใช้อย่างน้อย 1 ชนิด เช่น น้ำหนัก พืชสีเขียว ผลไม้สุก เนื้อสัตว์และแคลเซียมเปลือกไข่ เป็นต้น
- ต้องมีการใช้น้ำหมักชีวภาพสมุนไพร หรือให้กินสมุนไพรโดยตรง เป็นประจำ เพื่อเสริมสร้างสุขภาพสัตว์ หรือรักษาพยาบาสสัตว์เบื้องต้น เช่น น้ำหมักสมุนไพรบอระเพ็ดฟ้าทะลายโจร เป็นต้น
- ต้องมีการฉีดวัคนป้องกันโรคระบาสัตว์ตามโปรแกรมของกรมปศุสัตว์
- ต้องมีคอกพักสัตว์ป่วยสำหรับแยกสัตว์ออกมารักษา
เปรียบเทียงการเลี้ยงและคุณภาพของผลผลิต
การเลี้ยงไข่ไก่อินทรีย์
เลี้ยงแบบปล่อยอิสระ ไก่จิกกินพืชผัก สมุนไพร สัตว์ธรรมชาติ หนอน แมลงเสริมด้วย รำ ปลายข้าว ข้าวเปลือก หญ้าเนเปียร์หมัก ต้นกล้วยหมัก น้ำหมักชีวภาพ ไมใช้ใช้ยาเคมีหรือสารสังเคราะห์ใดๆ
ผล
- ไข่ขาวข้นเห็นได้ชัด
- ไข่แดงนูนเด่น รสชาติดี
- ไม่เสี่ยงต่อสารเคมี ยาสัตว์ตกค้าง
- มีคุณค่าทางโภชนาการสูงมาก
การเลี้ยงไข่ไก่ทั่วไป
เลี้ยงบนกรงตับที่แคบ ใช้อาหารสำเร็จรูป ใช้โปรตีนจากพืชปลาป่น ไวตามิน แร่ธาตุสังเคราะห์สารปฏิชีวนะ ยากันเครียดใส่สารสีสังเคราะห์
ผล
- เนื้อไข่ขาวเหลว ไข่แดงไม่นูนเด่น
- มีสีแดงจากสารสี
- เสี่ยงต่อสุขภาพการดื้อยา
- ปฏิชีวนะในคน
ที่มา : กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ www.dld.go.th
บทความอื่นที่น่าสนใจ