กระเจี๊ยบแดง สมุนไพรป้องกันและฟื้นฟูโรค
กระเจี๊ยบแดง
กระเจี๊ยบแดง (Hibiscus sabdariffa) เป็นพืชสมุนไพรชนิดไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงประมาณ 3-6 ศอก ลำต้นและกิ่งก้านมีสีม่วงแดง ใบมีหลายแบบด้วยกัน ขอบใบเรียบ บางทีก็มีรอยหยักเว้า 3 หยัก สีของดอกเป็นสีชมพู ตรงกลางดอกมีสีเข้มมากกว่าขอบนอกของกลีบ กลีบดอกร่วงโรยไป เหลือกลีบเลี้ยงสีแดงสดอยู่ กลีบเลี้ยงสีแดงสดนี้เป็นส่วนที่มีสรรพคุณทางยาและใช้เป็นอาหารได้
กระเจี๊ยบแดงมีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นิยมปลูกในหลายประเทศ เช่น ไทย อินเดีย จีน อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เป็นต้น ในประเทศไทย กระเจี๊ยบแดงพบได้ทั่วไปตามชนบท นิยมปลูกเป็นพืชผักสวนครัว
สารพฤกษเคมีที่สำคัญใน ดอกกระเจี๊ยบ
สำหรับการป้องกันและฟื้นฟูโรค ได้แก่สารกลุ่มฟีนอลิก สารกลุ่มฟลาโวนอยด์และสารกลุ่มแอนโทไซยานิน ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการต้านอนุมูลอิสระลดไข้ ต้านการอักเสบ ป้องกันมะเร็งคลายกล้ามเนื้อ ปกป้องตับและไต ป้องกันโลหิตจางลดเบาหวาน ลดความดันโลหิต ลดไขมัน ลดความอ้วนและต้านแบคทีเรีย
การใช้ประโยชน์
- ใบ ใช้ทำอาหารคาว สรรพคุณ : รสเปรี้ยว ช่วยย่อยอาหาร และ ช่วยระบบไหลเวียนโลหิต
- กลีบดอก
– ดอกสด ต้มน้ำดื่ม ทำยำ ไอศกรีม เยลลี่ ซอส ไวน์ น้ำหวาน
– ดอกแห้ง ทำชา ต้มน้ำสมุนไพร ปรุงรสอาหาร
– กากกลีบดอก ทำแยม ทำสีผสมอาหาร (สารให้สี)
สรรพคุณ : มีสารแอนโทไซยานินสูง
- ต้านอนุมูลอิสระ ลดการเกิดมะเร็งและยับยั้งเนื้องอก (ด้านมะเร็ง)
- ลดการเกิดไขมันอุดตันในหลอดเลือด ลดความดันโลหิต
- สร้างความแข็งแรงให้เส้นเลือด เสริม การทำงานของเม็ด
- เลือดแดง ลดภาวะเสี่ยงโรคหัวใจ
- ควบคุมระดับน้ำตาลในผู้ป่วยเบาหวาน ชะลอความแก่
- ลดความเสี่ยงการเป็นโรคสมองเสื่อม (ดูดซึมเข้าสมองได้อย่างเร็ว)
- ช่วยเสริมให้ร่างกายต่อต้านเชื้อโรค เสริมภูมิคุ้มกันในร่างกาย และ ช่วยสมานแผล
- เพิ่มความสามารถในการมองเห็น ชะลอความเสื่อมของสายตา
- ชะลอความเสื่อมของเซลล์ ของอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย
สรรพคุณ : มีวิตามินสูง
- มีวิตามินซีสูง ช่วยรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน
- ช่วยให้สดขึ้น เพราะมีกรดซิตริค
- ขับปัสลาวะ และมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียในทางเดินปัสสาวะ
- เป็นยาระบายอ่อน
การปลูกกระเจี๊ยบแดง
- การเตรียมแปลงปลูก : ไถดิน 2 ครั้ง แล้วยกร่องสูง 25 เขนติเมตร ให้ระบายน้ำได้ดี โรยปูนขาว เพื่อปรับสภาพดิน ระยะปลูก : 50-70 เซนติเมตร
- การเตรียมต้นกล้า : เพาะเมล็ดในถาดหลุม หรือหยอดเมล็ดลงในแปลงปลูก 3 เมล็ด แล้วคัดออกให้เหลือเพียง 1 ต้น และใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มารดต้นกล้าเนื่องจากกระเจี๊ยบแดงอ่อนแอต่อโรครากเน่าโคนเน่า
- การดูแลรักษา
– ในช่วง 1-2 เดือนแรกหลังปลูก ควรให้น้ำอย่างต่อเนื่องแต่ไม่ควรให้มากเกินไป เพราะจะทำให้เกิดโรครากเน่า โคนเน่าได้
– มีการกำจัดวัชพืชก่อนใส่ปุ๋ย ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หลังปลูก 20-25 วัน และครั้งที่ 2 หลังปลูก 50-60 วัน
การป้องกันและกำจัดศัตรูพืช
โรคที่สำคัญ : โรครากเน่าโคนเน่า
การป้องกันกำจัด : ยกร่องให้ระบายน้ำได้ดี โรยปูนขาวเพื่อปรับสภาพดิน คลุมดินด้วยพลาสติกเทา-ดำ ฉีดพ่นเชื้อราไตรโคเดอร์มาสัปดาห์ละ 1 ครั้ง และถอนต้นที่เป็นโรคไปทำลายนอกแปลง
แมลงศัตรูพืชที่สำคัญ : เพลี้ยแป้ง มีมดเป็นพาหะ
การป้องกันกำจัด : หมั่นกำจัดวัชพืชสม่ำเสมอ กำจัดมดออกจากแปลงปลูก และฉีดพ่นเชื้อราบิวเวอเรียในช่วงที่มีการระบาดสัปดาห์ละ 1 ครั้ง หากระบาดรุนแรงให้ฉีดพ่นทุก 3 วัน
การเก็บเกี่ยว
สามารถเก็บเกี่ยวได้ 2 แบบ คือ เก็บเฉพาะดอกกระเจี๊ยบแดงโดยใช้กรรไกรหรือมีดตัดเฉพาะดอกที่แก่ และเก็บเกี่ยวทั้งต้นโดยใช้เคียวเกี่ยวกิ่งที่มีดอกบริเวณโคนกิ่ง
กลีบดอก : เก็บเกี่ยวดอกที่กลีบเลี้ยงโตเต็มที่ สีสดไม่เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล
เมล็ด : เก็บเกี่ยวฝักที่อยู่ในกลีบเลี้ยงที่โตเต็มที่ ฝักเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ตัดแต่งกลีบดอกออกโดยใช้มีดกรีดโคนกลีบดอกเป็นวงกลม แล้วดึงกลีบดอกออกแยกไว้ แล้วแกะเมล็ดออกจากฝักใส่ถาด (ไม่ต้องล้าง) แล้วนำไปผึ่งลม 2-3 วัน จนเมล็ดแห้ง นำไปใส่ภาชนะที่ปิดสนิท เก็บไว้ในตู้เย็น สามารถเก็บเมล็ดไว้ได้อย่างน้อย 2 ปี
ข้อควรระวังในการรับประทานกระเจี๊ยบแดง
- ผู้ที่มีอาการความดันโลหิตต่ำ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานกระเจี๊ยบแดง
- ผู้ที่รับประทานยาลดความดันโลหิต ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานกระเจี๊ยบแดง
- ผู้ที่มีอาการร้อนในหรือมีไข้สูง ควรรับประทานกระเจี๊ยบแดงในปริมาณที่พอเหมาะ เพราะอาจทำให้ปัสสาวะบ่อยได้
ที่มา : ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดกระบี่401 ม.1 ถ.เพชรเกษม ต.เขาคราม อ.เมือง จ.กระบี่ โทร. 075-656-388, 085-781-8778, www.sarakaset.com
บทความอื่นที่น่าสนใจ