เกษตรกรรม » มหัศจรรย์ เชื้อราบิวเวอเรีย เพื่อการควบคุมแมลงศัตรูพืช

มหัศจรรย์ เชื้อราบิวเวอเรีย เพื่อการควบคุมแมลงศัตรูพืช

14 พฤศจิกายน 2022
877   0

มหัศจรรย์ เชื้อราบิวเวอเรีย เพื่อการควบคุมแมลงศัตรูพืช

เชื้อราบิวเวอเรีย

ชื้อราบิวเวอเรีย เป็นเชื้อราที่มีสีขาว เจริญเติบโตได้ดีในช่วงอุณหภูมิ 20-27 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ไม่น้อยกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ เป็นจุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติเป็นเชื้อราปฏิปักษ์ สามารถทำลายแมลงหรือทำให้เกิดโรคกับแมลงหลายชนิด ลักษณะของเส้นใย และสปอร์มีสีขาวหรือสีครีมซีด จัดเป็นเชื้อประเภท Saprophyte อาศัยและกินเศษซากที่ผุพัง





ประโยชน์ เชื้อราบิวเวอเรีย

เชื้อราบิวเวอเรียสามารถที่จะควบคุมแมลงศัตรูพืชได้หลายชนิดที่สำคัญ ๆ เช่น เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล หนอนผีเสื้อศัตรูพืชต่าง ๆ หนอนห่อใบข้าว เพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้ง เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยไฟ ไรแดง แมลงหวี่ขาว ด้วงงวงต่าง ๆ เป็นต้น

เชื้อราบิวเวอเรีย ทำลายศัตรูพืชชนิดใด

เชื้อราบิวเวอเรียทำลายแมลงศัตรูพืชได้หลายชนิดเช่น เพลี้ยไฟ ไรแดง เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไก่แจ้ส้ม เพลี้ยจักจั่นเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล แมลงหวี่ขาว หนอนห่อใบข้าว ด้วง โดยสามารถทำลายทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยของแมลง

เชื้อราบิวเวอเรีย ทำลายแมลงได้อย่างไร

เชื้อราบิวเวอเรีย

ลักษณะแมลงที่ถูก เชื้อราบิวเวอเรียทำลาย

แมลงที่ถูกเชื้อราบิวเวอเรียทำลาย แสดงอาการเป็นโรคคือ เบื่ออาหาร กินอาหารน้อยลง อ่อนเพลีย ไม่เคลื่อนไหวสีผนังลำตัวเปลี่ยนไป บริเวณที่ถูกเชื้อราทำลายเห็นเป็นจุดสีดำเส้นใยและสปอร์สีขาวปกคลุมตัวแมลง

วิธีการใช้ เชื้อราบิวเวอเรีย

  • ใช้เชื้อราบิวเวอเรีย 1 – 2 กิโลกรัมต่อน้ำ 20 ลิตรผสมสารจับใบ ขยำเบา ๆ ให้สปอร์สีขาวออกมาอยู่ในน้ำ กรองเอาเฉพาะน้ำเชื้อ
  • หากสภาพอากาศแห้งมาก ให้น้ำแปลงปลูกพืช ประมาณ 1 ชั่วโมง ก่อนการฉีดพ่นเชื้อราบิวเวอเรีย
  • ฉีดพ่นเชื้อราให้ถูกตัวแมลงศัตรูพืชหรือบริเวณที่แมลงอาศัย โดยพ้นในช่วงที่แมลงศัตรูพืชออกหากินหรือเวลาเย็น ซึ่งสภาพแวดล้อมเหมาะต่อการงอกและเจริญเติบโตของเชื้อรา
  • หลังจากพ่นเชื้อราบิวเวอเรียแล้ว 5 – 7 วัน หากยังพบแมลงศัตรูพืช พ่นเชื้อราบิวเวอเรียซ้ำ

วิธีการผลิต เชื้อราบิวเวอเรีย

กระบวนการผลิตเชื้อราพร้อมใช้ หรือเชื้อสดที่มีคุณภาพต้องผลิตในสภาพปลอดเชื้อ ตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียมอาหารเลี้ยงเชื้อ การใส่เชื้อ ซึ่งใช้วัสดุอุปกรณ์ที่มีราคาค่อนข้างสูง เช่นหม้อนึ่งความดันไอ ตู้เขี่ยเชื้อ ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จึงได้ดัดแปลงวิธีการผลิตเชื้อสด เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตเชื้อราบิวเวอเรียใช้เองด้วยวิธีการง่าย ๆ ดังวิธีที่ 2

วิธีที่ 1

เป็นวิธีการผลิตในสภาพปลอดเชื้อ โดยใช้หม้อนึ่งความดันไอ เพื่อผลิตอาหารที่ปลอดเชื้อ และเขี่ยเชื้อในตู้เขี่ยเชื้อซึ่งจะทำให้สามารถผลิตเชื้อราบิวเวอเรียที่มีคุณภาพ โอกาสที่จะเกิดการปนเปื้อนต่ำ

วัสดุอุปกรณ์

  • ตู้เขี่ยเชื้อ
  • หม้อนึ่งฆ่าเชื้อ (หม้อนึ่งความดันไอ)
  • หัวเชื่อราบิวเวอเรีย
  • เมล็ดธัญพืช เช่น ข้าวสาร ข้าวโพด ข้าวฟ่าง
  • ถุงพลาสติกทนร้อน (ก้นจีบ) ขนาดประมาณ 7 x 14 นิ้ว
  • แอลกอฮอล์
  • คอขวด
  • สำลี
  • ยางรัดของ

ขั้นตอนการผลิต

  1. ล้างทำความสะอาดเมล็ดธัญพืช หากใช้ข้าวสาร แช่น้ำนาน 30 นาที ส่วนเมล็ดข้าวโพด และข้าวฟ่าง แช่น้ำ1 คืน หากใช้ข้าวสารจะได้ปริมาณสปอร์เชื้อราบิวเวอเรียมากกว่าธัญพืชชนิดอื่น ๆ
  2. นำเมล็ดธัญพืชวางบนตะแกรงทิ้งไว้พอหมาด ๆ




  3. ตักเมล็ดธัญพืชใส่ถุงประมาณ ครึ่ง กิโลกรัมใส่คอขวด ปิดจุกด้วยสำลี ปิดทับด้วยกระดาษ รัดยาง
  4. ฆ่าเชื้อโดยใช้หม้อนึ่งความดันไอ ที่ความดัน 15 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว อุณหภูมิ 121 องศาเซลเซียสติดต่อกันนาน 30 นาที และเปิดสวิตช์หลอดยูวีประมาณ 30 นาที เพื่อฆ่าเชื้อภายในตู้เขี่ยเชื้อ
  5. ทำความสะอาดอุปกรณ์การเขี่ยเชื้อด้วยแอลกอฮอล์แล้วลนไฟ และทำความสะอาดมือและแขนของผู้เขี่ยเชื้อด้วยแอลกอฮอล์ 70%
  6. ใส่หัวเชื้อโดยใช้หัวเชื้อในรูปแบบต่าง ๆ เช่น หัวเชื้อในอาหารวุ้นแข็ง ประมาณ 0.5 ตารางเซนติเมตร หรือใช้หัวเชื้อน้ำ เขย่าถุงเพื่อให้หัวเชื้อกระจายทั่วถุง

  7. วางเลี้ยงเชื้อในที่ที่ระบายอากาศ มีแสงสว่าง แต่ไม่ถูกแสงแดด และไม่วางถุงซ้อนกัน นานประมาณ 20-30 วัน หรือจนกว่าเชื้อราจะเจริญเต็มถุง

วิธีที่ 2

เป็นการผลิตเชื้อราบิวเวอเรียวิธีง่าย ๆ โดยดัดแปลงใช้วิธีการหุงข้าวด้วยหม้อหุงข้าว แทนการใช้หม้อนึ่งความดันไอและใส่เชื้อในห้องที่ลมสงบ โดยไมใช้ตู้เขี่ยเชื้อเช่นเดียวกับการผลิตเชื้อราไตรโคเดอร์มา โอกาสที่จะเกิดการปนเปื้อนเชื้อราชนิดอื่น เชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้ออื่น ๆ สูงกว่าวิธีที่ 1ซึ่งวิธีการผลิตที่จะกล่าวต่อไปนี้ เป็นวิธีการที่ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสงขลา ใช้ในการส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตเชื้อบิวเวอเรียใช้เอง

วัสดุอุปกรณ์

ขั้นตอนการผลิต

  • ล้างข้าวสารให้สะอาด และหุงด้วยหม้อหุงข้าวไฟฟ้าใช้ข้าว 2 ส่วน น้ำ 1 ส่วน
  • ใช้แอลกอฮอล์ เช็ด ทำความสะอาดโต๊ะ และวัสดุอุปกรณ์ รวมทั้งมือของผู้ที่จะผลิตเชื้อ
  • ถอดปลั๊กทันทีเมื่อสวิตซ์หม้อข้าวดีด จะได้ข้าวดิบเป็นไตสีขาว ซุยข้าวให้เมล็ดข้าวร่วน ตักข้าวใส่ถุงทันทีขณะยังร้อน ถุงละ 250 กรัม หรือประมาณ 2 – 3 ทัพพี รีดอากาศออกพับปากถุงลงด้านล่างทิ้งไว้ให้ข้าวอุ่น

  • ใส่หัวเชื้อหากเป็นหัวเชื้อน้ำใช้ 5 – 7 หยด

  • รัดยางตรงปลายปากถุงให้แน่นโดยให้มีพื้นที่ว่างในถุง มากกว่าพื้นที่ใส่ข้าว

  • เขย่าให้หัวเชื้อกระจายทั่วทั้งถุง

  • เจาะรูใต้ยางที่มัดถุงห่างลงมาไม่เกิน 1 นิ้ว โดยใช้เข็มสะอาดเจาะรูประมาณ 20-30 ครั้ง

  • วางถุงข้าวในลักษณะแบนราบ ให้ข้าวแผ่กระจายทั่วถุงต่ำกว่าบริเวณที่เจาะรู และไม่วางถุงข้าวซ้อนทับกันในบริเวณที่มีแสงสว่าง อากาศถ่ายเทได้ดี ไม่มีมด และสัตว์อื่น ๆ ประมาณ 7-10 วัน เชื้อเจริญ เต็มถุง

ที่มา : กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, www.withikaset.com




บทความอื่นที่น่าสนใจ