การเลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติก เลี้ยงง่ายต้นทุนต่ำ
การเลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติก
การเลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติก ปลาดุกอุย หรือ ปลาดุกนา หรือ ปลาอั้วะชื้อ อังกฤษ : Broadhead catfish, Gunther’s walkingcatfish; ชื่อวิทยาศาสตร์: Clarias macrocephalus เป็นปลาน้ำจืดในวงศ์ Claridae มีกระดูกท้ายทอยยื่นแหลมออกไปลักษณะคล้ายรูปสามเหลี่ยม ลำตัวสั้นป้อมกว่าปลาดุกด้าน (C. batrachus) ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกัน ลำตัวมีสีดำปนเหลือง มีจุดขาวเล็ก ๆ เรียงเป็นแถวขวางลำตัวหลายแถว มีครีบหลังสูงกว่าปลาทั่วไปมาก สามารถเคลื่อนที่บนบกได้เป็นระยะทางสั้น ๆ โดยใช้ครีบช่วย พบได้ในพื้นที่แถบประเทศไทยไปจนถึงเวียดนาม และมีการนำไปเลี้ยงในประเทศจีน, มาเลเซีย, เกาะกวม และฟิลิปปินส์
ปลาดุก เป็นปลาที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืด น้ำที่ค่อนข้างกร่อย หรือแม้แต่ในหนองน้ำที่มีน้ำเพียงเล็กน้อยเพราะว่าปลาดุกเป็นปลาที่มีอวัยวะพิเศษช่วยในการหายใจเช่นเดียวกับปลาชอนจึงสามารถดำรงชีวิตอยู่ในน้ำที่มีออกชิเจนเพียงเล็กน้อย ได้เป็นอย่างดี อีกทั้งเป็นปลาน้ำจืดที่คนไทยนิยมรับประทาน ปลาดุกจะพบได้ทั่วไปในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ประเทศอินเดีย พม่า ไทย ลาว กับพูชา ฟิลิปปีนส์ เวียดนาม และมาเลเซีย สำหรับประเทศไทยพบปลาดุกในคลอง หนอง บึง ต่าง ๆ ทั่วทุกภาค เป็นปลาที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืดทั่วไป ปลาดุกที่พบในประเทศไทยมีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 5 ชนิดด้วยกัน แต่ที่เป็นที่รู้จักมีเพียง 2 ชนิด คือปลาดุกอุย และปลาดุกด้านปลาดุกที่นิยมเลี้ยงคือ ปลาดุกด้าน เพราะเนื้อปลาดุกด้านค่อนข้างแข็ง ทำให้สามารถขนส่งได้ในระยะทางไกล ๆประกอบกับปลาดุกด้านเลี้ยงง่าย โตเร็ว จึงเป็นที่นิยมเลี้ยงกันมาก แต่สำหรับผู้บริโภคแล้ว จะนิยมปลาดุกอุยเพราะให้รสชาติดี เนื้อปลานุ่ม ฟู กลิ่นดี เกษตรกรรายย่อยที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลและขาดแคลนน้ำ หรือในเขตพื้นที่สูง ฐานะยากจนมักประสบปัญหาขาดแคลนอาหารโปรตีน ดังนั้นการเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุยในบ่อพลาสติก เป็นทางเลือกหนึ่งที่จะส่งเสริมและพัฒนาครอบครัวที่ยากจนไม่ให้ขาดแคลนอาหารโปรตีน
ปัจจุบันปลาดุกเป็นที่เกษตรกรนิยมเลี้ยงเพราะ เจริญเติบโตเร็วเพราะเป็นปลาที่กินเก่ง อีกทั้งยังทนทานต่อโรคและสภาพแวดล้อม เป็นที่นิยมบริโภคของประชาชนเนื่องจากรสชาติดี และราคไม่แพง สามารถเลี้ยงได้ทั้งในบ่อดินบ่อซีเมนต์ และบ่อพลาสติก ถ้ามีพื้นที่จำกัด การเลี้ยงในบ่อพลาสติกก็เป็นทางออกที่ดี และประหยัด โดยที่ในบ่อพลาสติกจะมีอายุการใช้งานประมาณ 3 – 5 ปี
ข้อดีของการเลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติก
- ใช้พื้นที่เลี้ยงน้อย และสามารถเลี้ยงได้ทุกพื้นที่
- การก่อสร้างบ่อเลี้ยงง่าย สะดวกและรวดเร็ว
- ใช้ระยะเวลาในการเลี้ยงสั้น แต่ละรุ่นใช้เวลาเสี้ยงเพียง 90 – 120 วัน
- ปลาดุกเป็นปลาที่อดทนต่อสภาพน้ำได้ดี
- ปลาดุกสามารถเลี้ยงและดูแลรักษาได้สะดวก นอกจากจับมาบริโภคในครัวเรือนแล้วส่วนที่เหลือก็นำไปขายเป็นรายได้เสริมให้กับครอบครัว
การเลือกสถานที่สร้างบ่อ
- อยู่ใกล้บ้าน
- อยู่ที่ร่มหรือมีหลังคา มีแหล่งน้ำสำหรับการเปลี่ยนถ่ายน้ำได้สะดวก
การเตรียมพันธุ์ปลาและการปล่อยปลา
- ควรจัดซื้อพันธุ์ปลาจากฟาร์มที่เชื่อถือได้
- ปลาที่ปล่อยควรมีขนาตใกล้เคียงกัน
- ก่อนปล่อยปลาควรปรับอุณหภูมิน้ำในถุงบรรจุปลา โดยลอยถุงปลาในบ่อ 20-30 นาที แล้วจึงค่อยปล่อยปลาลงในบ่อ
วิธีการเลี้ยง
- ขนาดปลาที่จะนำมาเลี้ยง ควรมีขนาดความยาวประมาณ 2 – 3 เซนติเมตรขึ้นไป ไม่ควรนำปลามาเลี้ยงในฤดูหนาวเพราะปลามีความต้านทานต่อโรคต่ำ
- อัตราการเลี้ยง ปล่อยลูกปลาในอัตรา 100 ตัว/ตารางเมตร
- การปล่อยปลา ควรแช่ถุงลูกปลาไว้ในบ่อเลี้ยง 30 นาที จึงค่อย ๆ ปล่อยลงบ่อ ในช่วงแรกที่ปล่อย ให้เติมน้ำลงบ่อมีความสูงประมาณ 10 เซนติเมตร แล้วค่อยเพิ่มระดับน้ำขึ้นไปเรื่อย ๆ ทุก ๆอาทิตย์ จนมีระดับสูงสุด 30 – 50 เซนติเมตร
การจัดการน้ำในบ่อเลี้ยง
- ในช่วงแรกที่ปล่อยปลา ให้เติมน้ำลงในบ่อให้มีความสูงประมาณ 30 ซม. แล้วค่อยๆ เพิ่มระดับน้ำขึ้นไปเรื่อย ๆ จนมีระดับสูงสุด 50-70 ชม. (เพิ่มระดับน้ำ 5 ชม.ต่อสัปดาห์)
- ระหว่างการเลี้ยงปลา ให้ใช้ :M สาดให้ทั่วบ่อ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง เพื่อบำบัดน้ำ ซึ่งการเลี้ยงแบบนี้ไม่ต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำตลอดระยะเวลาการเลี้ยง
การให้อาหาร
- เริ่มแรกให้อาหารเม็ดเล็กและบุบพอแตกสำหรับปลาเล็ก อาหารสดพวกเศษเนื้อสับให้ปลากินได้ตัวปลวก แมลงเม่าและแมลงอื่น ๆ โปรยให้ปลากิน ควรให้อาหารเป็นเวลา วันละ 2 มื้อ เช้า-เย็น ไม่ควรให้อาหารปลามากเกินไปเพราะจะทำให้น้ำเน่าเสีย เมื่ออากาศครึ้มหรือฝนตก งด ให้อาหารปลา
- การให้อาหาร ผู้เลี้ยงต้องอาศัยการสังเกต ตรวจสอบพฤติกรรมการกินของสัตว์น้ำเพื่อเป็นข้อมูลในการปรับเปลี่ยนปริมาณและความถี่ของการให้อาหารให้ถูกต้องเหมาะสม
- สำหรับปลา เมื่อให้อาหารแล้วอาหารที่ให้ควรหมดภายในเวลา 15 – 20 นาที ดังนั้นเพื่อให้ง่ายในการปฏิบัติ ควรสังเกตจากมื้อแรกที่ให้อาหารแล้วปรับปริมาณการให้ทุก 7 วัน เช่น มื้อแรกให้อาหารปลา ประมาณ 300 กรัม
– ถ้าภายใน 20 – 30 นาที ปลากินหมด แสดงว่าอาหารไม่พอ ให้เพิ่มอาหารเล็กน้อย
– ถ้าภายใน 20 – 30 นาที ปลากินไม่หมด ให้ลดอาหารลง - เมื่อครบ 7 วัน ให้ปรับอาหารใหม่ เพิ่มอีก 50 กรัม เป็น 350 กรัม จนครบ 7 วัน ให้ปรับการให้อาหารอีก คือปรับเพิ่มอาหารทุก 7 วัน
ผลผลิต
- ระยะเวลาการเลี้ยงประมาณ 3 – 4 เดือน ได้ปลาขนาด 100 – 250 กรัม/ตัว
- อัตรารอดประมาณ 80 – 95 %
การทำอาหารปลาดุก
ส่วนผสม
- รำละเอียด 2 กระสอบปุ๋ย
- ปลาป่น 6 กิโลกรัม
- จุลินทรีย์ EM 1 ลิตร
- น้ำมันพืช 1 – 2 ลิตร
- กากมะพร้าว 1 กระสอบปุ๋ย
- กากถั่วเหลือง 6 กิโลกรัม
- กากน้ำตาล 1 กิโลกรัม
วิธีทำ
- นำส่วนผสมข้อ 1 1 กระสอบ ข้อ 2,3,4 คลุกให้เข้ากัน
- นำส่วนผสม ข้อ 5,6 ผสมน้ำ 20 ลิตร เพื่อคลุกเคล้าส่วนผสม ข้อ 1 หมักไว้ 12 ชั่วโมง
- นำส่วนผสมที่หมักไว้ในข้อ 1,2 ผสมกับรำละเอียด 1 กระสอบและน้ำมันพืช 1 – 2 สิตร คลุกเคล้านำเข้าเครื่องอัดเม็ดผึ่งแดด 2 วัน เก็บไว้ได้ 2 เดือน
เกร็ดความรู้
- การซื้อพันธุ์ปลาก่อนการเคลื่อนย้ายให้ปลาอดอาหาร 1 – 2 วัน เพื่อป้องกันปลาดิ้นและทำให้ปลาไส้ขาดเวลาเลี้ยงปลาจะไม่โต
- การเคลื่อนย้ายปลาให้เตรียม น้ำมันพืช 30 ซีซี : เกลือ 1 ช้อนโต๊ะ คนให้เข้ากันตักใสในถุงหรือที่มีพันธุ์ปลา อยู่ประมาณ 1 ช้อนชา เพื่อป้องกันปลาบาดเจ็บ
- การป้องกันปลาหนีจากบ่อเวลาฝนตก ใช่วิธีหากมีฝนตกให้หว่านอาหารให้ปลากิน สัก 2 – 3 ครั้ง เพื่อหลอกว่าเวลาฝนตกจะได้กินอาหารแล้วปลาจะไม่หนี
- การเปลี่ยนถ่ายน้ำให้ดูดน้ำออก 1 ส่วน ใน 3 ส่วน และนำน้ำที่ใส่ใหม่ให้ทำเป็นละอองฝอยโดยใช้สายยางเพื่อเพิ่มออกซิเจนให้แก่ปลา
- การจับปลาเพื่อบริโภคโดยใช้วิธีใช้สายยางฉีดน้ำเหมือนกับฝนตกปลาจะเล่นน้ำ จากนั้นใช้สวิงตักปลา ที่เล่นน้ำทันที ปลาจะไม่รู้สึกถึงอันตรายและจะกินอาหารต่อและไม่หนี
โรคปลาดุก
ในกรณีที่มีการป้องกันอย่างดีแล้วแต่ปลาก็ยังป่วยเป็นโรค ซึ่งมักจะแสดงอาการให้เห็น โดยแบ่งอาการของโรคเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้
- การติดเชื้อจากแบคที่เรีย จะมีการตกเลือด มีแผลตามลำตัวและครีบ ครีบกร่อน ตาขุ่น หนวดหงิก กกหูบวม ท้องบวมมีน้ำในช่องท้องกินอาหารน้อยลงหรือไม่กินอาหาร ลอยตัว
- อาการจากปรสิตเข้าเกาะตัวปลา จะมีเมือกมาก มีแผลตามลำตัว ตกเลือด ครีบเปื่อย จุดสีขาวตามลำตัว สีตามลำตัวซีดหรือเข้มผิดปกติเหงือกซีดว่ายน้ำทุรนทุราย ควงสว่านหรือไม่ตรงทิศทาง
- อาการจากอาหารมีคุณภาพไม่เหมาะสม คือ ขาดวิตามินบี กะโหลกร้าว บริเวณใต้คางจะมีการตกเลือดตัวคด กินอาหารน้อยลง ถ้าขาดวิตามินบีปลาจะว่ายน้ำตัวเกรงและชักกระตุก
- อาการจากคุณภาพน้ำในบ่อไม่ดี ปลาจะว่ายน้ำขึ้นลงเร็วกว่าปกติลอยหัวครีบกร่อนเปื่อย หนวดหงิกเหงือกซีดและบวม ลำตัวซีด ไม่กินอาหาร ท้องบวม มีแผลตามตัว
ที่มา : Sarakaset.com, กรมประมง
บทความอื่นที่น่าสนใจ