เกษตรกรรม » วิธีการบังคับลองกองให้ออกผลนอกฤดู เพิ่มมูลค่าขายได้ราคาดี

วิธีการบังคับลองกองให้ออกผลนอกฤดู เพิ่มมูลค่าขายได้ราคาดี

1 เมษายน 2024
800   0

วิธีการบังคับลองกองให้ออกผลนอกฤดู เพิ่มมูลค่าขายได้ราคาดี

วิธีการบังคับลองกองให้ออกผลนอกฤดู

ลองกอง นั้นเป็นไม้ผลเศรษฐกิจสำคัญของไทยอีกชนิดหนึ่งส่วนมากนิยมปลูกที่ภาคใต้ และมีจำนวนมาก ส่งผลกระทบต่อราคาตกต่ำในบางปี เพื่อลดปริมาณผลผลิตในช่วงฤดูกาลและไม่ให้ราคาตกต่ำ ดังนั้น จึงมี วิธีการบังคับลองกองให้ออกผลนอกฤดู เพิ่มมูลค่า ยกระดับราคาลองกองให้สูงขึ้นได้ในระยะยาว อีกทั้งช่วยขยายช่วงเวลาการวางตลาดและตลาดส่งออกได้ยาวนานยิ่งขึ้น จนค้นพบวิธีการบังคับลองกองให้ออกลูกนอกฤดู นั้นมีหลายวิธีแต่ที่เราจะนำมานั้น มากจากกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งมีวิธีการจัดการดังนี้



การเตรียมพร้อมของต้น

  • การตัดแต่งกิ่ง

ควรเลือากิ่งแห้ง กึ่งนึกหัก กิ่งถูกโรคแมลงทำลาย กิ่งแซมในทรงพุ่ม กิงซ้อนทับออกให้โปร่ง

วิธีการบังคับลองกองให้ออกผลนอกฤดู

  • ให้ปุ๋ย

    • ปุ๋ยอินทรีย์ ควรใส่อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ปริมาณ 10-15 กิโลกรัม/ต้น
    • ปุ๋ยเคมี สูตร 16-16-16 หรือ 20-10-10 หรือ 25-7-7 (หรือ 15-15-15 ผสมกับ 46-0-0) และควรฉีดพ่นด้วยสูตร 20-20-20ผสมน้ำฉีดพ่นทุกๆ 7 วัน จำนวน 2 ครั้ง เพื่อให้ต้นลองกองแตกใบอ่อน เร็วขึ้น

การเตรียมพร้อมในการออกดอก

  • การให้ปุ๋ยเพื่อบำรุงต้นและใบ
  • การให้ปุ๋ย

เพื่อให้ต้นลองกองมีการสะสมตาดอกหลังที่ลองกองแตกใบอ่อนระยะเพสลาดใส่ปุ๋ย 12-24-12 หรือ 8-24-24 หรือ 9-24-24 โดยการให้ปุ๋ยทางใบจะให้ทุก 7-10 วัน จำนวน 2-3 ครั้ง

  • การเตรียมสภาพแวคล้อมให้พร้อมเพื่อการออกดอก ต้องไม่ให้มีการแตกใบอ่อนและเข้าสู่สภาวะอากาศแห้ง

หยุดการให้น้ำ เพื่อทำให้พื้นดินแห้ง และชักนำให้ต้นลองกองเกิดความเครียด เมื่ออากาศหนาวเย็น ต้นลองกองสามารถพักตัวได้ดี และหยุดการเจริญเติบโตทำให้สะสมอาหารมากขึ้น

การกระตุ้นการออกดอก

เมื่อต้นลองกองพักตัวเต็มที่และมีสภาพต้นขาดน้ำ ใบเริ่มเหี่ยวมีสีเหลืองและร่วงหล่น

  • การให้น้ำ

ปริมาณ 850-1,000 ลิตร/ต้น ครั้งที่ 1 หยุดดูอาการต้นลองกองว่าช่อดอกหางหนูเล็กๆ เริ่มขยายยืดออกมาให้เห็น เป็นช่อดอกขนาดเล็กยาวกว่าดอกหางหนูเดิมประมาณ 2-3 เท่า แสดงว่าต้นลองกองพร้อมออกดอก

  • หลังจากให้น้ำ

ภายใน 7-10 วัน ต้นลองกองไม่แทงดอกยืดขยายยาวออกมาจากดอกหางหนู แสดงว่าต้นลองกองยังมีความสมบูรณ์และการพักตัวไม่เพียงพอ ต้องหยุดการให้น้ำออกรอบหนึ่ง

การดูแลรักษาช่วงแทงดอก

  • ฉีคพ่นอาหารเสริมสูตรทางด่วนทางใบ ซึ่งมีองค์ประกอบดังนี้
    • สารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต เช่น ครอบไจแอนโพลีแซค มอลตานิค พลอริเจน อัตรา 20-30 มิลลิลิตร ,กรดฮิวมิค 20 มิลลิลิตร
    • ปุ๋ยเกรด 15-30-15 หรือ 20-20-20 หรือ 10-20-30 ที่มีธาตุรองด้วยปริมาณ 40-60 กรัม
    • นำส่วนประกอบทั้ง 3 ผสมกันในน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นที่ต้นลองกองให้ทั่วทั้งต้น
  • การยืดช่อดอก

เพื่อให้ผลไม่เบียดกันโดยใช้สารจิบเบอเรลลิก แอซิค (GA.) อัตรา 100 มิลลิกรัม ต่อน้ำ 1 ลิตร ฉีดพ่นที่ช่อดอกกำลังยืด จะทำให้ช่อดอกเหล่านั้นยืดยาวมากยิ่งขึ้น ผลสามารถขยายขนาดได้เต็มที่ไม่เบียดกัน

การตัดแต่งช่อดอก ดังนี้

  • ช่อดอกเป็นช่อเดี่ยวสมบูรณ์ให้เก็บไว้
  • กลุ่มช่อดอก ควรเลือกตัดแต่งช่อสั้น ช่อเล็ก ไม่สมบูรณ์คดงอ ควรเลือกไว้ช่อที่สมบูรณ์ อวบใหญ่ กระจุกละไม่เกิน 1-2 ช่อ แล้วแต่ปริมาณช่อดอกในทรงพุ่ม ถ้ามีมากไว้กระจุกละ 1 ช่อ
  • ตำแหน่งของช่อดอกที่ควรเก็บไว้ ควรอยู่ที่ส่วนล่างของกิ่ง หรือซื้ออกจากด้านข้างของกิ่ง
  • กลุ่มช่อดอกที่ออกเป็นกระจุก ให้ไว้ 1-2 ช่อ ถ้าช่อดอกมีการเรียงตัวดีสม่ำเสมอเก็บช่อดอกนั้นไว้
  • ระยะห่างของกลุ่มช่อดอกบนกิ่ง ควรทิ้งระยะห่างจากช่อหนึ่งไปอีกช่อหนึ่งประมาณ 10-15 เซนติเมตร ถ้าหากช่อลองกองออกมากกระจายทั่วต้น ควรเก็บช่อดอกกระจกละ 1 ช่อเท่านั้น
  • ปริมาณช่อดอกต่อกิ่ง กิ่งเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 นิ้ว ควรไว้ช่อดอก 3-5 ช่อ/กิ่งหรือเส้นผ่าศูนย์กลาง 1-‘/2 นิ้ว ควรไว้ช่อดอก 10-15 ช่อ/กิ่ง
  • การตัดแต่งช่อดอก ควรกระทำไปเรื่อยๆ จนกว่าการแทงช่อดอกจะหยุดหลังตัดแต่งช่อดอกจะต้องให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ

ลองกอง

การพัฒนาของผลลองกอง

ช่วงการเปลี่ยนแปลงด้านการเจริญเติบโต เช่น การเพิ่มน้ำหนักผล เนื้อ และเปลือกผล เป็น 3 ระยะ คือ

  • ระยะหลังติดผลถึงสัปดาห์ที่ 7 การพัฒนาเปลือกจะเริ่มจากสัปดาห์ที่ 1-5 จากนั้นการเปลี่ยนแปลงระหว่างน้ำหนักเนื้อและน้ำหนักเปลือกจะสูงมากในสัปดาห์ที่ 5-7 กล่าวคือเปอร์เซ็นต์น้ำหนักเนื้อจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากสัปดาห์ที่ 4-7 ขณะเดียวกันเปอร์เซ็นต์น้ำหนักเปลือกจะลดลงในอัตราที่เท่ากัน
  • ระยะที่ 2 สัปดาห์ที่ 7-13 ระยะนี้เป็นการเพิ่มของน้ำหนักเนื้ออย่างรวดเร็วจนถึงสัปดาห์ที่ 13 โดยปริมาณเนื้อมีเท่ากับ 74% ส่วนปริมาณเปลือกจะมีปริมาณเท่ากับ 24%
  • ระยะที่ 3 สัปดาห์ที่ 13-15 ระยะนี้การเจริญเติบโตทางด้านน้ำหนักและเป็นระยะผลแก่เต็มที่



การเปลี่ยนแปลงทางด้านเนื้อและเปลือก

  • ระยะที่ 1 สัปดาห์ที่ 1-10 ผลอ่อนเปลือกจะมีสีเขียวเข้มเนื้อมีสีขาวขุ่น รสชาติเปรี้ยว
  • ระยะที่ 2 สัปดาห์ที่ 10-13 สีเปลือกเปลี่ยนจากสีเขียวค่อยเปลี่ยนเป็นสีเหลือง บางผลมักมีสีเขียว เนื้อสีขาวขุ่นเป็นฝ้า รสชาติเริ่มหวานแต่ไม่หวานสนิทเพราะมักมีรสเปรี้ยวอยู่ ระยะนี้ยังไม่ควรเก็บผล
  • ระยะที่ 3 สัปดาห์ที่ 13 ระยะเก็บเกี่ยว ระยะนี้เปลือกลองกองมีสีเหลืองนวลและส้มคล้ำ กลิ่นหอม รสชาติหวานสนิท เนื้อขาวใสช่วงนี้เป็นช่วงที่เหมาะสมต่อการเก็บเกี่ยว แต่มักพบปัญหาผลแตกเมื่อมีฝนตกหนัก

การตัดแต่งผลเพื่อให้ลองกองมีคุณภาพ

  • เด็ดผลที่โคนช่อ การแต่งผลที่โคนช่อมีความยาวให้ปลิดผลที่โคนช่อออก 1-2 ผล แล้วเลือกตัดแต่งผลไม่สมบูรณ์ ผลเล็ก ผลแคระแกร็นผลที่เบียดกันแน่นและให้ผลมีการเรียงตัวหลวมๆ
  • ตัดแต่งผลที่ปลายช่อ ประมาณ 1-2 ผลเพราะที่ปลายช่อผลจะมีขนาดเล็ก แคระแกร็นและไม่สมบูรณ์

การให้ปุ๋ยและน้ำเพื่อให้ลองกองมีคุณภาพ

  • การให้น้ำ หลังจากลองกองติดผลแล้วควรให้น้ำอย่างต่อเนื่องทีละน้อยและค่อยๆ เพิ่มขึ้นให้จนถึงผลเริ่มสุก และหยุดให้น้ำเมื่อใกล้เก็บเกี่ยว
  • การให้ปุ๋ย ให้ปุ๋ยสูตร 16-16-16, 15-15-15 เพื่อให้ลองกองมีการขยายขนาดช่อผลช่วงติดขนาดเล็กประมาณสัปดาห์ที่ 5 ปริมาณปุ๋ย (ปริมาณกิโลกรัม = /2 ของอายุต้น) และในปุ๋ยเพื่อเพิ่มคุณภาพความหวานในช่วงสัปดาห์ที่ 10 สูตร 13-13-21 

การป้องกันกำจัดแมลงที่สำคัญ

  • เพลี้ยไฟ

จะเข้าทำลายในสภาพอากาศร้อนแห้ง ตัวอ่อนและตัวแก่จะดูดกินน้ำเลี้ยงใบอ่อน ยอดอ่อน ทำให้ใบหงิก หรือขอบใบแห้งหรือใบแคระแกร็น ใช้สารเคมีฉีดพ่นกำจัดเพลี้ย ได้แก่ อิมิดาโคลพริดอัตรา 10 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร แลมป์ดาไซฮาโลทริน อัตรา 10 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นในช่วงแตกใบอ่อน ทุกๆ 5-7 วัน 2-3 ครั้ง

  • หนอนเจาะต้นหรือหนอนเจาะกิ่ง

เป็นหนอนของผีเสื้อกลางคืนจะเจาะรูเข้าไปกัดกินเนื้อไม้ในเวลากลางวันและออกมาแทะกินเปลือกกิ่งหรือลำต้นทำให้กิ่งแห้งหรือส่วนยอดแห้งตาย ใช้สารเคมีได้แก่ ทามารอนผสมน้ำในอัตราเข้มข้นฉีดเข้าภายในรูแล้วอุดปากรูด้วยดินเหนียวหรือดินน้ำมันหรือติดตั้งกับดักแสงไฟเพื่อล่อตัวแม่ผีเสื้อในช่วงกลางคืน

  • หนอนชอนใบ

เป็นหนอนผีเสื้อกลางวันที่มีขนาดเล็กหลังฟักเป็นตัวออกจากไข่แล้วจะชอนไขเข้าไปกัดกินเนื้อใบชั้นในใต้ผิวใบด้านหน้าของแผ่นใบทำให้ใบที่ถูกทำลายแห้งและร่วงหล่น ใช้สารเคมีฉีดพ่น ได้แก่คาร์โบซัลแฟน อัตรา 50 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร หรือเซฟวิน 85%อัตรา 30-50 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ในช่วงลองกองแตกใบอ่อน 1-2 ครั้ง

การห่อผล

ช่วงสัปดาห์ที่ 10 หลังตัดแต่งผลและปลิดผลเน่าเสียออกควรห่อผลด้วยกระดาษเคลือบไขหรือถุงร้อนที่เปิดรูที่กันถุง จะช่วยทำให้ลองกองผิวสวย ไม่มีแมลงเข้ามาอาศัยในช่วงผลแก่ เช่นแมลงวันผลไม้ ผีเสื้อมวนหวานเป็นต้น

การเก็บเกี่ยว

หลังจากลองกองเข้าสู่สัปดาห์ที่ 14-15 ผลโตเต็มที่เปลือกเริ่มบาง ผิวสีเหลือง ถึงเหลืองเข้มอมส้มเนื้อในขาวใส ยางน้อย รสชาติหวานสนิทให้ทำการเก็บเกี่ยว

ที่มา : กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์


บทความอื่นที่น่าสนใจ