เกษตรกรรม » ปลูกเผือกหอม พืชเศรษฐกิจ ปลูกง่าย โตดี

ปลูกเผือกหอม พืชเศรษฐกิจ ปลูกง่าย โตดี

25 มีนาคม 2023
810   0

ปลูกเผือกหอม พืชเศรษฐกิจ ปลูกง่าย โตดี

ปลูกเผือกหอม

ปลูกเผือกหอม


เผือก เป็นพืชเศรษฐกิจระดับท้องถิ่นที่สำคัญอีกพืชหนึ่ง คนไทยนิยมบริโภค เพราะมีกลิ่นหอมและรสชาติดี เป็นพืชหัวที่เป็นพืชอาหารที่สำคัญอีกชนิดหนึ่ง หัวเผือกจะมีส่วนประกอบเป็นพวกแป้งและแร่ธาตุต่าง ส่วนใบประกอบไปด้วยโปรตีนและแร่ธาตุ ซึ่งใบเผือกสามารถนำไปใช้เป็นอาหรสัตว์ได้อีกด้วย และมีเผือกบางประเภทที่ใช้ใบสำหรับบริโภคซึ่งหัวจะมีขนาดเล็กไม่เหมาะต่อการบริโภคปัจจุบันเผือกกำลังเป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศ เช่น ออสเตรเลีย ฮ่องกง ญี่ปุ่น เนเธอร์แลนด์ และมาเลเชีย



ประเทศไทยมีการปลูกเผือกอยู่ทั่วไปทุกภาคของประเทศ มีพื้นที่ปลูกเผือกทั้งประเทศปีละประมาณ 25,000 – 30,000 ไร่ ผลผลิตประมาณ 45,000 – 65,000 ตัน ผลผลิตเฉลี่ยประมาณ 2 -2.5 ตันต่อไร ส่วนจังหวัดที่เป็นแหล่งปลูกที่สำคัญ ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ นครสวรรค์ พิษณุโลกนครราชสีมา สุรินทร์ สระบุรี อยุธยา สิงห์บุรี ปราจีนบุรี นครปฐม ประจวบคีรีขันธ์ ราชบุรี สุพรรณบุรี ชุมพร และสุราษฎร์ธานี

ปลูกเผือกหอม

การขยายพันธุ์เผือก

เผือกเป็นพืชหัวที่สามารถขยายพันธุ์ได้หลายวิธี ดังนี้

  • การเพาะเมล็ด เป็นวิธีที่ง่ยแต่ใช้เวลานานกว่าจะย้ายปลูกลงแปลงไต้ ในประเทศไทยเผือกแต่ละพันธุ์มีการออกดอกและติดเมล็ดน้อย เกษตรกรไม่นิยมขยายโดยวิธีนี้
  • การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื้อ เป็นวิธีการขยายพันธุ์เผือกที่ปลอดจากเชื้อที่ติดมากับตันพันธุ์ได้เป็นปริมาณครั้งละมาก ๆ แต่ตันทุนการผลิตสูงเกษตรกรยังไม่นิยมขยายพันธุ์โดยวิธีนี้
  • การขยายพันธุ์โดยใช้หน่อ เป็นส่วนที่แตกออกมาเป็นต้นเผือกขนาดเล็กอยู่รอบ ๆ ตันใหญ่เมื่อแยกออกจากตันใหญ่ หรือต้นแม่แล้วสามารถนำไปลงแปลงได้โดยไม่ต้องเสียเวลาไปเพาะชำ
  • การขยายพันธุ์โดยใช้หัวพันธุ์ หรือที่เกษตรกรเรียกว่าลูกซอหรือลูกเผือก ซึ่งเป็นหัวขนาดเล็กที่อยู่รอบ ๆ หัวเผือกขนาดใหญ่ วิธีนี้เป็นวิธีที่นิยมทั่วไปทั้งประเทศไทยและต่างประเทศ แต่ในการปลูกแต่ละครั้ง ควรเลือกเผือกที่มีขนาดปานกลางไม่เล็กหรือใหญ่เกินไป หัวพันธุ์ที่มีขนาดสม่ำเสมอจะทำให้เผือกที่ปลูกแต่ละต้นลงหัวในเวลาใกล้เคียงกัน เก็บเกี่ยวได้พร้อมกัน และที่สำคัญจะทำให้ไม่มีหัวขนาดเล็กและใหญ่แตกต่างกันมาก

การปลูกและการดูแลรักษา

การเตรียมดิน ไถติ๊นตากไว้ ประมาณ15-30 วัน เพื่อกำจัดวัชพืช โรคและแมลงในตินตามด้วยการไถพรวนเพื่อย่อยดิน การปลูก นำส่วนของหัวพันธุ์ลงปลูกลึก 20 – 30 เชนติเมตร ระยะปลูกระหว่างต้น 50 เซนติเมตร ระยะห่างแถว 1 เมตร ควรใส่ปุ๋ยคอกรองกันหลุมก่อนปลูก ( พื้นที่ 1 ไร่ ใช้หัวพันธุ์เผือก ประมาณ 100 – 200 กิโลกรัม)

การให้น้ำ

เผือกขึ้นได้ดีในดินที่มีความชุ่มชื้น ฉะนั้นการปลูกในที่ตอน นอกจากจะอาศัยน้ำฝนแล้ว จะต้องมีแหล่งน้ำให้ความชุ่มชื้นอยู่สมอ แต่ถ้าปลูกมากกว่า 10 ไร่ ขึ้นไป ควรให้น้ำแบบสปริงเกลอร์

การใส่ปุ๋ย

ควรใส่ปุ๋ย 3 ครั้ง ครั้งที่ 1 ก่อนปลูกรองกันหลุมด้วยปุยคอกอัตรา 1-3 กำมือต่อตัน และปุ๋ย 18 -6 -6 อัตรา 50 – 100 กิโลกรัม/ไร่ ต่อจากนั้นใส่ครั้งที่ 2 เมื่ออายุ 2 เดือน ใช้สูตร 18-6-6 หรือ 15 -15 – 15 อัตรา 50 กิโลกรัม/ไร่ และครั้งที่ 3-4 เดือน ใช้สูตร 13-13-21 อัตรา  50 กิโลกรัม/ไร่ จะทำให้เผือกมีน้ำหนักหัวดี ในการใส่ปุ๋ยแต่ละครั้งควรจะพรวนดินและรดน้ำให้ชุ่มชื้นอยู่เสมอ รากเผือกจะได้ดูดชับปุ๋ยไปใช้ประโยชน์ได้สะดวก

การเก็บเกี่ยว

หลังปลูกเผือกได้ 5-6 เดือน ใบเผือกจะเล็กลง ใบหนาขึ้น ใบล่างจะเป็นสีเหลือง และเริ่มเหี่ยวเหลือใบยอด 2-3 ใบ ให้ขุดเอาหัวเผือกขึ้นมา ในการขุดเผือกควรขุดด้วยความระมัดระวัง

การเก็บรักษา

ก่อนขุดเผือกประมาณ 15-30 วัน ไม่ควรเอาน้ำเข้าแปลงหรือรดน้ำในแปลงเผือก และควรเก็บเผือกไว้ในห้องที่มีการระบายอากาศได้ดี ในที่แห้ง หัวที่เก็บไว้ไม่ควรเป็นหัวที่มีบาดแผล อุณหภูมิประมาณ 10-15 องศาเซลเชียส

โรคแมลงและศัตรูพีชที่สำคัญ

  • หนอนกระทู้ผัก เป็นแมลงศัตรูเผือกที่ระบาดเฉพาะแหล่งโดยเริ่มแรกผีเสื้อจะวางไข่ไว้ตามใบเผือก แล้วฟักตัวออกเป็นตัวหนอนกัดกินใบเผือกด้านล่าง ถ้าหนอนกระทู้ผักระบาดมากจะกัดกินใบเผือกเสียหายทั่วแปลงได้ ทำให้เผือกลงหัวน้อยผลผลิตต่ำ การป้องกันและกำจัดพ่นด้วยเชื้อบีที่ อัตราคำแนะนำในฉลาก หรือพ่นด้วยสารกำจัดแมลง เช่น แลมบ์ดาไซฮาโลทริน ไตรอะโซฟอสและคลอร์ฟลูอาซูรอน อัตราตามคำแนะนำในฉลาก
  • ไรแดง เป็นแมลงศัตรูขนาดเล็กที่ ระบาดเฉพาะแหล่ง รูปร่างคล้ายแมงมุม ตัวเล็กมากลำตัวสีแดง โดยจะดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณใต้ใบเผือกทำให้เกิดรอยจุดสีน้ำตาลหรือสีขาว แล้วแห้งในที่สุดพบมากในช่วงฤดูแล้ง การป้องกันและกำจัดพ่นด้วยสารกำจัดแมลงไดโคโฟล อัตราตามคำแนะนำในฉลาก
  • โรคใบไหม้ (โรคจุดตาเสือ) เกิดจากเชื้อรา Phythopthera colocasiae Rac. อาการบนใบเกิดจุดสีน้ำตาลเกาะอยู่เป็นวงๆ เมื่อบีบจะแตกเป็นผง สีสนิม หรืออาจเน่าเละถ้าอากาศขึ้นมีฝนพร่ำ การป้องกันและกำจัดหากพบเป็นโรคใบจุดตาเสือ ให้ตัดใบที่เป็นโรคไปเผาทำลายให้หมด ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ เชื้อราจะปลิวไปยังต้นอื่นๆได้ หรือแยกปลูกให้ห่างกัน เพื่อลดการแพร่กระจายของโรค และใช้สารเคมีฉีดพ่น เช่น เมทาแลกซิล โอฟูเรซ อัตราตามคำแนะนำในฉลาก
  • โรคหัวเน่า เกิดจากเชื้อรา Sclerotium rolfsiiโรคนี้อาจเกิดได้ระหว่างการเก็บรักษาหัวเผือก หรือมีน้ำท่วมขังแปลงปลูกเผือกในช่วงเผือกใกล้เก็บเกี่ยว การป้องกันและกำจัดหลีกเลี่ยงไม่ให้เผือกที่ใกล้ช่วงเก็บเกี่ยวได้รับน้ำหรือความชื้นมากเกินไป และไม่ควรกองหัวเผือกสุมกันมากๆ ควรไว้ในที่ระบายถ่ายเทอากาศได้สะดวก

ที่มา : กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก

  • matichon.co.th/news/402
  • puechkaset.com
  • technologychaoban.com



บทความอื่นที่น่าสนใจ