มาทำความรู้จัก! ประเพณีบุญหลวงและการละเล่นผีตาโขน
อีกหนึ่งประเพณีและงานบุญอันสำคัญที่มีชื่อเสียง และยังสนุกสนานของชาวอีสาน นั่นก็คือ ประเพณีบุญหลวงและการละเล่นผีตาโขน นั่นเองครับ ซึ่งงานบุญนี้ จะถูกจัดทุกๆ ปีในช่วงหน้าฝน คือ เดือนมิถุนายน ถึงปลายเดือนกรกฎาคม งานประเพณีนี้มีความเก่าแก่และประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน ว่าแล้วเราจะพาเพื่อนๆ มารู้จักกับประเพณีและงานบุญนี้กันเลยครับ
ประวัติความเป็นมาของผีตาโขน
ประเพณีผีตาโขน เป็นประเพณีที่จัดขึ้นในอำเภอด่านซ้าย ของจังหวัดเลย ซึ่งมีพื้นที่อยู่ทางภาคอีสานของไทย ไม่มีข้อมูลชัดแจ้งว่ามีมาตั้งแต่เมื่อใด แต่มีข้อสันนิษฐว่าน่าจะมีตั้งแต่มี บุญหลวง คือบุญพระเวชสันดรและบุญบั้งไฟรวมกัน ซึ่งเป็นเวลานาน หลายร้อยปีมาแล้ว
เดิมผีตาโขน มีชื่อเรียกว่า ผีตามคน เป็นเทศกาลที่ได้รับอิทธิพลมาจาก มหาเวชสันดร ชาดกในทางพระพุทธศาสนา ที่กล่าวถึง พระเวชสันดร และ พระนางมัทรี จะออกเดินทางจากป่าสู่เมืองหลวง เหล่าบรรดาสัตว์นานาชนิดป่ารวมไปถึงภูตผีปิศาจหลายตนที่อาศัยอยู่ในป่าแห่งนั้น จึงได้ออกมาส่งเสด็จโดยแห่แหนแฝงตัวตน มากับชาวบ้าน ด้วยความอาลัยรัก
การละเล่นผีตาโขน
ผีตาโขน จัดได้ว่าเป็นการละเล่นชนิดหนึ่ง โดยที่ผู้เล่นจะทำรูปหน้ากาก ที่มีลักษณะหน้าเกลียดน่ากลัว มาสวมใส่ปกปิดใบหน้า รวมไปถึงเครื่องแต่งกายที่ต้องปกปิดมิดชิดเช่นกัน แล้วเข้าขบวนแห่แสดงท่าทางต่างๆ ในงานบุญตามประเพณีประจำปีของท้องถิ่นพื้นบ้าน การละเล่นผีตาโขนจะมีในเดือนแปดข้างขึ้น และนิยมทำ 3 วัน คือ
- วันแรก เป็นวันที่ชาวบ้านจะร่วมกันสร้างหออุปคุตและทำกระทงเล็กไปวางตามิศต่างๆจำนวนสี่ทิศด้วยกัน บนหอหลวงจะมีร่มขนาดใหญ่กางกั้นไว้ ถือเป็นวันแรกของการทำพิธี
- วันที่สอง เป็นวันทำพิธีอัญเชิญพระอุปคุต โดยจะมีประชาชนจากตำบลหมูบ้านต่างๆ มาร่วมงานส่วนมากจะนำบั้งไฟมาด้วยสำหรับการละเล่นต่างๆ ในวันนี้จะมีขบวนแห่ผีตาโขนและมีการบรรเลงเครื่องดนตรีพื้นเมืองอย่างครื้นเครงตลอดเส้นทาง ซึ่งจะทำพิธีแห่ไปยังวัดเพื่อทำพิธีบายศรีสู่ขวัญ ระหว่างขบวนแห่ก็จะมีบรรดาผีตาโขนทั้งหลายออกมาร่ายรำ ทำท่าทางต่างๆ อย่างสนุกสนาน
- วันที่สาม จะเป็นวันที่ชาวบ้านไปทำบุญตักบาตรที่วัด ร่วมกันฟังเทศน์มหาชาติ พระเวสสันดรชาดก และในวันนี้จะไม่มีการละเล่นผีตาโขน แต่จะมีพิธีกรรมทางศาสนา อุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้ว รวมไปถึงสักการะสิ่งศักสิทธิ์ในวัดหรือในพระธาตุ
ประเภทผีตาโขน
ผีตาโขนจะมีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท คือ
ผีตาโขนใหญ่ จะมีลักษณะเป็นหุ่นที่จำลองขึ้นมาจากโครงไม้ไผ่สาน ห่อคลุมด้วยผ้าหรือกระดาษ ซึ่งมีขนาดใหญ่โตกว่าคนธรรมดาประมาณสองเท่า ผีตาโขนใหญ่จะถูกตกแต่งไปด้วยวัสดุที่หาได้จากท้องถิ่นที่แสดงถึงรูปร่างเพศชายและหญิง มีการประดับอวัยวะเพศที่บ่งบอกถึงความเป็นชายและหญิงอย่างชัดเจน ซึ่งเป็นความเชื่อที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณว่าอวัยวะเพศของมนุษย์จะแสดงถึงความอุดมสมสมบูรณ์ ไม่ใช่ความพิเรนหรือทะลึ่งของผู้ที่มาร่วมเล่นแต่อย่างใด และประเพณีผีตาโขนในแต่ละปีจะมีการจัดทำผีตาโขนใหญ่เพื่อร่ามขบวนเพียง 1 คู่เท่านั้น ผู้มีหน้าที่เป็นผีตาโขนใหญ่จะต้องได้รับการอนุญาติจากผีหรือเจ้าก่อนและจะต้องทำทุกปีหรือทำติดต่อกันอย่างน้อย 3 ปี
ที่มา : คุณ นิพนธ์ สารมโน
บทความที่เกี่ยวข้อง