การทำน้ำหมักชีวภาพและสมุนไพร อย่างง่ายๆ ป้องกันกำจัดศัตรูพืช
การทำน้ำหมักชีวภาพและสมุนไพร
น้ำหมักชีวภาพ คือ การนำเอาพืช ผัก ผลไม้ สัตว์ชนิดต่าง ๆ มาหมักกับน้ำตาลทำให้เกิดจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์จำนวนมากซึ่งจุลินทรีย์เหล่านี้จะไปช่วยสลายธาตุอาหารต่าง ๆ ที่อยู่ในพืช มีคุณค่าในแง่ของธาตุอาหารพืชเมื่อถูกย่อยสลายโดยกระบวนการย่อยสลายของแบคที่เรียหรือจุลินทรีย์สารต่างๆจะถูกปลดปล่อยออกมา เช่น โปรตีน กรดอะมิโน กรดอินทรีย์ ธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง จุลธาตุฮอร์โมนเร่งการเจริญติบโต เอนไซม์ วิตามิน ซึ่งพืชสามารถนำไปใช้ในการเจริญเติบโตได้อย่างมีประสิทธิภาพ น้ำหมักชีวภาพ มี 3 ประเภท คือ
- น้ำหมักชีวภาพจากพืชสดสีเขียว (น้ำแม่)
- น้ำหมักชีวภาพจากผลไม้สุก (น้ำพ่อ)
- สารขับไล่แมลง (น้ำหมักจากพืชสมุนไพร)
น้ำหมักชีวภาพ หรือ น้ำสกัดชีวภาพ อีกทางเลือกของเกษตรกร สำหรับใช้ในการป้องกัน กำจัดศัตรูพืชโดยไม่ต้องใช้สารเคมีวิธีทำน้ำหมักชีวภาพ อย่างง่ายๆ ท่านสามารถทำเองได้ สบายมาก
น้ำหมักชีวภาพ มี 2 ประเภท คือ
- น้ำหมักชีวภาพจากพืช ทำได้โดยการนำเศบพืชสด ผสมกันน้ำตาลทรายแดง หรือกากน้ำตาลอัตราส่วน กากน้ำตาล เ ส่วน พืชผัก 3 ส่วน หมักรวมกันในถังปีดฝา หมักทิ้งไว้ประมาณ 3-7 วัน เราจะได้ของเหลวข้น ๆ สีน้ำตาล ซึ่งเราเรียกว่า น้ำหมักชีวภาพจากพืช
- น้ำหมักชีวภาพจากสัตว์ มีขั้นตอนทำคล้ายกับน้ำหมักจากพืช แตกต่างกันตรงวัตถุดิบจากสัตว์ เช่น หัวปลา ก้างปลา หอยเชอรี่ เป็นต้น
เคล็ดลับในการทำน้ำหมักให้ได้ผลดี
- ควรเลือกใช้เศยพืชผัก ผลไม้ หรือเศยอาหารที่ขังไม่บูดเน่า สับหรือบดให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ ใส่ในภาชนะที่มีปากกว้าง เช่นถังพลาสติก หรือโอ่ง หากมีน้ำหมักชีวภาพอยู่แล้วให้เทผสมลงไปแล้วลดปริมาณกากน้ำตาลลง ปิดฝาภาชนะทิ้งไ ว้ จนได้เป็นน้ำหมักชีวภาพ จากนั้นกรอกใส่ขวดปิดฝาให้สนิทรอการใช้งานต่อไป
- ในระหว่างการหมัก ห้ามปีดฝาภาชนะจนแน่นสนิทเพร าะอาจทำให้ระเบิดได้เนื่องจากระหว่าง การหมักจะเกิดก๊าชต่าง ขึ้น เช่นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซมีเทน เป็นต้น
- ไม่ควรเลือกพืชจำพวกเปลือกส้ม ใช้ทำน้ำหมัก เพราะมีน้ำมันที่ผิวเปลือกจะทำให้จุดินทรีย์ไม่ย่อยสลาย
วิธีทำน้ำหมักชีวภาพสูตรผสมน้ำ อย่างง่ายๆ ท่านสามารถทำเองได้ สบายมาก โดยการนำ ผลไม้หรือพืชผักหรือเศษอาหาร 3 ส่วน น้ำตาล เส่วน น้ำ 10 ส่วน ใส่รวมกัน ในภาชนะ (ขวด, ถัง) ที่มีฝาปิดสนิท อย่าให้อากาศเข้า โดยเว้นที่ว่างไว้ประมาณ 1 ใน 5 ของขวดถัง หมั่นเปีดฝา คลายแก๊สออก และปิดกลับให้สนิททันที วางไว้ในที่ร่ม อย่ให้ถูกแสงแดด หมักไว้ 3 เดือน เราก็จะได้น้ำหมักชีวภาพ ซึ่งมีจุลินทรีข์ สารอินทรีย์ ธาตุอาหาร ที่เป็นประโยชน์ต่อ สิ่งมีชีวิตและสิ่งแวคล้อม เช่น ใช้ทำปุ๋ยสะอาด (แทนปุ๋ยเคมี) ใช้ในการเพาะปลูกกสิกรรมธรรมชาติไร้สารพิษ ใช้ในการซักล้างทำความสะอาด(แทนสบู่ ผงซักฟอก แชมพู น้ำยาล้างจาน) ใช้ดับกลิ่นในห้องน้ำ โถส้วม ห่อระบายน้ำ
สูตร การทำน้ำหมักชีวภาพ 3 : 1: 10
ผลไม้ : น้ำตาล : น้ำ หมักนาน 3 เดือน
การขยายน้ำหมักชีวภาพ น้ำหมักชีวภาพที่หมักได้ 3 เดือนแล้ว ใช้สายยางดูด เฉพาะน้ำใสออกมา ใส่อีกภาชนะหนึ่ง ส่วนนี้เป็นหัวเชื้อน้ำหมักชีวภาพ นำน้ำหมักชีวภาพ 1 ส่วน น้ำตาล 1 ส่วน และ น้ำ 10 ส่วน ใส่รวมในภาชนะ (ขวด, ถัง) ที่มีฝาปีดสนิท โดยเว้นที่ว่างไว้ประมาณ 1 ใน 5 ของขวด หมั่นเปิดฝ่า คลายแก๊สออก และ ปิดกลับ ให้สนิททันที วางไว้ในที่ร่ม อย่าให้ถูกแสงแดด หมักไว้ 2 เดือน เราก็จะได้หัวเชื้อน้ำหมักชีวภาพอายุ เดือน ขขายต่อตามวิธีข้างต้นทุก 2 เดือน เราก็จะได้หัวเชื้อน้ำหมักชีวภาพที่มีอายุมากขึ้นเรื่อยๆ (7, 9, 10 เดือน, 1, 2. 3…ปี) ซึ่งทำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเรื่อยๆ
สูตร การขยายน้ำหมักชีวภาพ 1 :1 : 10
น้ำหมักชีวภาพ : น้ำตาล : น้ำ หมักขยายต่อทุก 2 เดือน
ประโยชน์ของน้ำหมักชีวภาพ
ด้านการเกษตร
- ช่วยปรับสภาพความเป็นกรด – ด่าง ในดินและน้ำ
- ช่วยปรับสภาพโครงสร้างของดินให้ร่วนซุย อุ้มน้ำและอากาศได้ดียิ่งขึ้น
- ช่วยย่อยสลายอินทรีย์วัตถุในดินให้เป็นธาตุอาหารแก่พืช พืชสามารถดูดซึมไปใช้ได้เลย โดยไม่ต้องใช้พลังงานมากเหมือนการใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์
- ช่วยเร่งการเจริญเติบโตของพืชให้สมบูรณ์ แข็งแรงตามธรรมชาติ ด้านทาน โรคและแมลง
- ช่วยสร้างฮอร์โมนพืช ทำให้ผลผลิตสูง และคุณภาพของผลผลิตดีขึ้น
- ช่วยให้ผลผลิตคงทน เก็บรักษาไว้ได้นาน
ด้านปศุสัตว์ สามารถช่วยกำจัดกลิ่นเหม็น น้ำเสียจากฟาร์มสัตว์ได้ ช่วยป้องกันโรคระบาดต่าง ๆ ในสัตว์แทนการใช้ยาปฏิชีวนะ ทำให้สัตว์แข็งแรง มีความต้านทานโรค ช่วยกำจัดแมลงวัน ฯลฯ
ด้านการประมง ช่วยควบคุมคุณภาพน้ำในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ ช่วยแก้ปัญหาโรคพยาธิในน้ำ ช่วยรักษาโรคแผลต่าง ๆ ในปลา กบ จระเข้ได้ ช่วยลดปริมาณขี้เลนในบ่อ ช่วยให้เลนไม่เน่าเหม็น
ด้านสิ่งแวดล้อม น้ำหมักชีวภาพ สามารถช่วยบำบัดน้ำเสียจากการเกษตร ปศุสัตว์ การประมง โรงงานอุตสาหกรรม ชุมชน และสถานประกอบการทั่วไป แถมยังช่วยกำจัดกลิ่นเหม็นจากกองขยะ การเลี้ยงสัตว์ โรงงานอุตสาหกรรม และชุมชนต่าง ๆ นอกจากนี้ยังช่วยปรับสภาพอากาศที่เสียให้สดชื่น และมีสภาพดีขึ้น
ประโยชน์ในครัวเรือน เราสามารถนำน้ำหมักชีวภาพ มาใช้ในการซักล้างทำความสะอาดแทน สบู่ ผงซักฟอก แชมพู น้ำยาล้างจาน รวมทั้งใช้ดับกลิ่นในห้องน้ำ โถส้วม ท่อระบายน้ำ ฯลฯ ได้ด้วย
เห็นประโยชน์ใช้สอยของ น้ำหมักชีวภาพ มากมายขนาดนี้ ชักอยากลองทำน้ำหมักชีวภาพดูเองแล้วใช่ไหมล่ะ จริง ๆ แล้ว น้ำหมักชีวภาพ มีหลายสูตรตามแต่ที่ผู้คิดค้นขึ้นเพื่อประโยชน์ใช้สอยต่าง ๆ กัน วันนี้เราก็มี วิธีทำ น้ำหมักชีวภาพ แบบง่าย ๆ มาฝากกันด้วย
บทความอื่นที่น่าสนใจ