เกษตรกรรม » จุลินทรีย์จาวปลวก มากประโยชน์ เร่งย่อยสลายได้เร็ว

จุลินทรีย์จาวปลวก มากประโยชน์ เร่งย่อยสลายได้เร็ว

26 พฤศจิกายน 2022
1439   0

จุลินทรีย์จาวปลวก มากประโยชน์ เร่งย่อยสลายได้เร็ว

จุลินทรีย์จาวปลวก

จาวปลวก คืออะไร

รังเลี้ยงตัวอ่อนหรือคอมบ์ (comb) โครงสร้างเป็นรูพรุนคล้ายฟองน้ำ รูปร่างหยักไปมาคล้ายมันสมองหรือกล้ายปะการัง บางชนิดคล้ายรังผึ้ง




จาวปลวกเป็นสิ่งที่ปลวกสร้างขึ้นมาจากมูลของมันเอง ซึ่งมูลของปลวกมี 2 ชนิด ชนิดแรกเป็นมูลที่ถูกย่อยภายในลำไส้เพียงเล็กน้อยและอยู่ในสภาพเป็นของแข็ง และชนิดที่สองเป็นมูลที่ถูกย่อยภายในลำไส้อย่างดีแล้วและอยู่ในสภาพเป็นของเหลว

จาวปลวก คืออะไร

มูลชนิดแรกประกอบด้วยเศษพืช (เศษไม้) ชิ้นเล็กชิ้นน้อยที่ปลวกกัดกินเข้าไปและผ่านกระเพาะของปลวกออกมาอย่างรวดเร็ว มูลที่ถ่ายออกมาจึงมีรูปร่างเป็นท่อนกลมสั้นๆ ซึ่งต่อมาจะถูกกราม (mandibles) ของปลวกกัดจนเป็นเม็ดเล็กๆ แล้วนำไปสร้างเป็นรังเลี้ยงตัวอ่อน

ในขณะที่ปลวกสร้างรังเลี้ยงตัวอ่อนนี้เองจะมีราเกิดขึ้น โดยเส้นใยของราจะเกาะกันเป็นก้อนกลมสีขาวขนาดเล็ก เรียกว่า Fumgus nodule หรือ Fungal ball เส้นใยนี้จะเป็นอาหารของปลวก และเมื่อปลวกกินเส้นใยของราเข้าไป จะถ่ายมูลชนิดที่สองออกมา ซึ่งปลวกจะนำมูลที่เป็นของเหลวนี้ไปใช้เคลือบผนังด้านในของห้องเห็ด

แต่เมื่อถึงระยะหนึ่งปลวกจะกินน้อยลง และทิ้งรังตัวอ่อนไป ราจะเจริญเส้นใยเพิ่มมากขึ้น และเกิดดอกอ่อน (fruiting primodia) เป็นแท่งยาวโผล่ขึ้นมาจากรังเลี้ยงตัวอ่อน เรียกว่า pseudorhiza และแทงผ่านชั้นดินขึ้นมาเป็นดอกเห็ด ที่เรารู้จักกันดี นั่นคือ เห็ดโคน

จุลินทรีย์จาวปลวก

จุลินทรีย์จาวปลวก คือ กลุ่มจุลินทรีย์ ที่มีประสิทธิภาพ กลุ่มหนึ่งโดยนำจาวปลวกมาผสมคลุกเคล้ากับปลายข้าวดิบ (ปลายข้าวเหนียวหรือปลายข้าวเจ้า) และน้ำสะอาด (ไม่มีคลอรีน)หมักทิ้งไว้เพียง 7 วัน ก็สามารถนำมาใช้งานได้ ถูกค้นพบโดย คุณจักรภฤต บรรเจิดกิจ ปราชญ์ชาวบ้านผู้ใช้ครัธราคู่ปัญญา จังหวัดพิจิตร

การทำน้ำหมักจุลินทรีย์จาวปลวก

วัตถุดิบและอุปกรณ์

  • จาวปลวกที่ขุดมาใหม่ๆ ประมาณ 1 กก. หรือ หัวเชื้อแบบเข้มข้น จำนวน 1 ลิตร
  • ปลายข้าวหรือข้าวหัก ใช้ได้ทั้งข้าวเหนียวและข้าวเจ้า 5 กก.
  • น้ำสะอาดที่ไม่มีคลอรีน ประมาณค่อนถัง ( 170 ลิตร)
  • ถังน้ำมีฝาปิด 1 ใบ ขนาด 200 ลิตร

วิธีทำ

  • นำจาวปลวก (พระแม่ธรณี) มากลุกกับปลายข้าวหรือข้าวท่อน (พระแม่โพสพ)แล้วเทลงในถังพลาสติกที่มีน้ำสะอาดไม่มี คลอรีน (พระแม่คงคา)
  • ใส่ไว้เกือบเต็มถัง เหลือที่ว่าง (พระพาย) จากปากถังประมาณ 1 ฝ่ามือ ปิดฝา ตั้งไว้ในบริเวณที่โดนแดด (พระเพลิง) ตอนเช้า ส่วนตอนบ่ายให้อยู่ในร่ม
  • แล้วหมักทิ้งไว้ 7 วัน โดยคน ไปทางเดียวกันทุกวันจะได้จุลินทรีย์จาวปลวก แบบน้ำ ที่มีลักษณะเป็นน้ำสีขาวใส มีกลิ่นเปรี้ยว พร้อมใช้งาน

เพิ่มเติม

  • ปริมาณข้าว น้ำ และจาวปลวก ไม่มีสูตรตายตัวสามารถนำไปประยุกต์กับขนาดของถังพลาสติกที่มีอยู่ ไม่ควรเทน้ำใส่เต็มถัง เพราะเมื่อผ่านไป 3 วัน จะเกิดฟอง และแรงดันอากาศ ฝ่าอาจจะระเบิดออกได้ ถ้าต้องการขยายเชื้อจุลินทรีย์จาวปลวกให้ได้ปริมาณมากขึ้น ไม่จำเป็นต้องขุดจอมปลวกเพื่อเอาจาวปลวกอีก เพียงแต่เตรียมปลายข้าว และในน้ำในปริมาณเท่าเดิม และนำน้ำจุลินทรีย์จาวปลวกที่ทำครั้งแรกมาหมักแบบขั้นตอนแรก

การประยุกต์ใช้จุลินทรีย์จาวปลวก

  1. ใช้เพาะเห็ดโคนป่าแบบกึ่งพึ่งพาธรรมชาติ โดยใช้น้ำจุลินทรีย์จาวปลวกแบบเข้มข้น จำนวนไม่จำกัด นำไปรดราดบริเวณโคนจอมปลวกให้ชุ่ม แล้วนำใบไม้เศษหญ้า หรือฟางข้าวคุลมให้มิด รดน้ำให้ชุ่ม

  2. ใช้ย่อยสลายฟางข้าวในแปลงนา โดยใช้จุลินทรีย์จาวปลวกแบบเข้มข้น จำนวน 10 ลิตรต่อไร่ปล่อยไปตามน้ำหรือฉีดพ่นให้กระจายทั่วแปลงนา กรณีปั่นฟางสดหลังเก็บเกี่ยวข้าวทันทีให้ใช้จุลินทรีย์จาวปลวกในอัตราเท่ากัน
  3. ใช้หมักปุ๊ย ฮอร์โมนพืช หรือน้ำหมักสมุนไพร
    • ใช้หมักแบบแห้ง นำใบไม้แห้ง หญ้าหรือฟางข้าว นำไปห่มดินไว้บริเวณใต้ต้นไม้ ราดด้วยจุลินทรีย์จาวปลวกแบบเข้มข้น
    • ทำฮอร์โมนไข่ (ได้ทุกชนิด) 1 ฟอง จุลินทรีย์จาวปลวก 20 ลิตร
    • ทำฮอร์โมนจากผักผลไม้ พืชผักหรือผลไม้ 1 ส่วน ใส่น้ำหมักจุลินทรีย์จาวปลวก 1 ส่วน ฮอร์โมนผลไม้
    • ทำปุ๋ยน้ำจากเศษปลา หอย ปู กุ้งเศษปลา หรือปลาเล็กปลาน้อย หอย กุ้ง ปู 1 ส่วนน้ำจุลินทรีย์จาวปลวก 1 ส่วน หมายเหตุ อัตราส่วน น้ำหมัก 1 ส่วน ต่อน้ำ 20 ส่วน
    • ใช้หมักสมุนไพรควบคุมแมลงศัตรูพืช
      สมุนไพรรสขม เช่น สะเดา (เมล็ด เปลือก ใบ) และบอระเพ็ด พิษของรสขมจะตัดวงจรชีวิตหนอนแมลงศัตรูพืช
      สมุนไพรรสฝาด เช่น เปลือกมังคุดเปลือกประดู่ พิษของรสฝาด ช่วยป้องกันเชื้อไวรัสที่มาทำลายพืขแบบเฉียบพลันอัตราส่วน น้ำหมัก 1 ส่วน ต่อน้ำ 10 ส่วน หมักสมุนไพรรสขมสำหรับใช้กำจัดศัตรพืช
    • ใช้หมักสมุนไพรควบคุมและกำจัดวัชพืช โดยนำสมุนไพรที่มีฤทธิ์คุมการงอกของเมล็คหญ้า ได้แก่ ต้นหงอนไก่ป่า ต้นพวยงู ผักแว่นเปลือกถ่อน และเปลือกมะคึก
    • ใช้หมักสมุนไพรกำจัดวัชพืชใบกว้างในแปลงนา โดยใช้ เกลือทะเล 1 กิโลกรัม และน้ำ 5 ลิตร น้ำจุลินทรีย์จาวปลวกจำนวน 4 ลิตร
    • ใช้เพิ่มผลผลิตข้าวหรือพืชผักผลไม้ โดยนำถ่านมาบดหยาบ หรือใช้แกลบดำ 1 ส่วน น้ำจุลินทรีย์จาวปลวก 1 ส่วน น้ำหมักที่หมักจากน้ำจาวปลวก 1 ส่วน
  4. ใช้กับปศุสัตว์ ผสมในอาหารสัตว์ จุลินทรีย์จาวปลวก100 ซีซี ต่ออาหาร1 กิโลกรัม ใช้ผสมน้ำให้สัตว์กิน จุลินทรีย์จาวปลวก 1 ลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร กำจัดกลิ่นล้างคอก จุลินทรีย์จาวปลวก 1 ลิตร ต่อน้ำ 10 ลิตร
  5. ใช้กับการประมง ผสมในอาหาร ใช้จุลินทรีย์จาวปลวก 100 ซีซี ต่ออาหาร 1 กิโลกรัมเตรียมบ่อ ใช้อัตราส่วน 1 ต่อ 10บำบัดน้ำ ใช้จุลินทรีย์จาวปลวก 1 ลิตร ต่อน้ำ 1 ลูกบาศก์เมตร
  6. ใช้กับสิ่งแวดล้อมและในครัวเรือน อัตราส่วน จุลินทรีย์จาวปลวก 1 ลิตรต่อน้ำ 10 ลิตร
  7. ใช้ย่อยเอนไซม่ 3 ประสาน จากลูกยอ กถ้วยสุก และสับปะรด นำผลไม้เพียงลูกเดียว จุ่มลงในน้ำจุลินทรีย์จาวปลวก นำไปใส่ในโหลแก้ว ปิดฝาให้สนิท หมักทิ้งไว้ 3 วัน
  8. ใช้กับการเพาะเห็ด8.1 ใช้กับการเพาะเห็ดฟาง นำฟางข้าวหรือวัสดุเพาะเห็ดฟางไปแช่น้ำที่ผสมจุลินทรีย์จาวปลวก อัตราส่วน 1 ต่อ 10 ทิ้งไว้ 1 คืน จึงนำฟางข้าวไปเพาะเชื้อเห็ดฟาง จะได้เห็ดฟางปริมาณมากขึ้น และมีน้ำหนักมากขึ้น8.2 ใช้กับเห็ดในถุงพลาสติก นำน้ำจุลินทรีย์จาวปลวก 1 ส่วน ผสมน้ำ 10 ส่วน ฉีดพ่นก้องเชื้อเห็ด จะทำให้เห็ดออกดอกมากขึ้น และมีน้ำหนักมากขึ้น

    8.3 ใช้เพาะเห็ดในขอนไม้ จุลินทรีย์จาวปลวกจะช่วยทำให้ขอนไม้ผุเร็ว ทำเกิดเห็ดในขอนไม้จำนวนมาก เห็ดมีน้ำหนักมาก และขึ้นได้บ่อยครั้ง จนกว่าขอนไม้จะผุ
  9. ใช้ในการเพาะถั่วงอก
    นำเมล็ดถั่วเขียวแช่น้ำจุลินทรีย์จาวปลวก ในอัตราส่วน 1 ต่อ 10 แช่ทิ้งไว้ 1 คืน และจึงนำไปเพาะถั่วงอกตามขั้นตอน จะช่วยให้ถั่วงอกมีรสชาติหวาน กรอบ อวบอ้วน โดยไม่ต้องใช้สารฟอกขาวแต่อย่างใด



ที่มา : จักรภฤต บรรเจิดกิจ. จิตวิ­­าณในธุลี มหัศจรรย์จุลินทรีย์จาวปลวก. เอกสารประกอบการบรรยายเรื่อง จุลินทรีย์จาวปลวก วันที่ 7 มีนาคม 2558 พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. สุมาลี พิช­างกูร. เห็ดโคนและลูกผสมฟิวแสนท์. พิมพ์ครั้งที่ 2. บริษัท สามเจริ­พาณิชย์ (กรุงเทพ) จำกัด. กรุงเทพฯ. 2547. อุทัยวรรณ แสงวณิช, ผศ. ดร. คำอธิบายเรื่องเห็ดโคน. เข้าถึงจาก www.thaimushroomsoc.com/…/Oudemansiella%20ssp%20Uthaiwan.pdf สำนักวิจัยและพัฒนาการป่าไม้ กรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. เห็ด โคนกับปลวกและการเพาะเลี้ยงเห็ดโคน. เข้าถึงจาก forprod.forest.go.th/forprod/…/เห็ดโคนกับปลวก/เห็ดโคนกับปลวก.pdf


บทความอื่นที่น่าสนใจ