เกษตรกรรม » ค้างผักแบบต่างๆ เลือกให้เหมาะกับผักที่ปลูก

ค้างผักแบบต่างๆ เลือกให้เหมาะกับผักที่ปลูก

24 ธันวาคม 2024
109   0

ค้างผักแบบต่างๆ เลือกให้เหมาะกับผักที่ปลูก

ค้างผักแบบต่างๆ

ค้างผัก ที่เกษตรกรทำกันมีหลายรูปแบบ แต่ละรูปแบบจะมีความเหมาะสมกับพืชแต่ละชนิดที่แตกต่างกัน ค้างผักแบบต่างๆ แต่ข้อดีของการมีค้างผักนั้นมีเยอะพอสมควร ตัวอย่าง เช่น ทำให้พืชให้ผลผลิตสูง, ง่ายต่อการดูแลรักษาพืช, พืชให้อายุการเก็บเกี่ยวได้ยาวนานขึ้น, ผลผลิตที่ได้สวย, ป้องกันแมลงศัตรูที่มากัดกินผลผลิตทางดินได้ และอีกมากมาย ฯลฯ แต่ข้อเสียก็มีอยู่ คือลงทุนสูง ส่วนวัสดุที่ใช้ทำค้างผักก็มีตั้งแต่เสาปูน (ลงทุนสูงระยะยาว), ไม้, ไม้ไผ่(เป็นที่นิยมที่สุด ส่วนเชือกทำค้างก็มีตั้งแต่ลวดหรือสลิง(ถาวรลงทุนสูง), เชื้อไนล่อน, เอน เป็นต้น

1. ค้างแบบเสารั้ว

ค้างแบบเสารั้ว พบง่ายได้ทั่วไป และพบมากที่สุด เพราะทำง่าย ให้ผลผลิตที่ดี

2. ค้างแบบตัว A

ค้างแบบตัว A ค้างแบบนี้ทำง่าย ลงทุนไม่มาก ให้ผลผลิตที่ดีในช่วงแรกๆ แต่พอนานๆ ไป การจัดการเรื่องการตัดแต่ง เก็บผลผลิตยากลำบาก

3. ค้างแบบกระโจม

ค้างแบบกระโจม ค้างแบบนี้คล้ายคลึงกับ แบบตัว A คือ ให้ผลดีในช่วงแรกๆ แต่พอนานๆ ไป การจัดการเรื่องการตัดแต่ง

4. ค้างแบบตัว T

ค้างถั่วแบบตัว T เหมาะสำหรับพื้นที่เชิงเขา ไม่ราบเรียบ แต่สามารถประยุกกต์ใช้กับพื้นที่ราบได้เช่นกัน ข้อดีคือ สามารถจัดการได้ง่าย สะดวกในการเก็บผลผลิต ต้องตัดแต่งโคนต้นด้านล่างให้โล่ง และอาจเพิ่มจำนวนเส้นลวดบนเสาได้

ค้างผักแบบต่างๆ

5. ค้างแบบตัว H

ค้างแบบตัว H ค้างแบบนี้มักพบในแปลงเพาะปลูกที่มีการลงทุนสูง การจัดการดี วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้เป็นเสาปูน หรือโลหะ สามารถใช้ได้นาน ข้อดีคือเก็บผลผลิตได้มาก และเก็บได้นาน

ค้างผักแบบต่างๆ

6. ค้างแบบเสาคู่

ค้างแบบเสาคู่ ให้ผลผลิตที่สูง และเก็บผลผลิตง่าย การจัดการต่างๆ สะดวกสบาย ค้างมีความสมดุล ไม่หนักข้างใด ข้างหนึ่ง จนทำให้เสาล้ม แต่ทิศทางแถวในการปลูก ควรอยู่ในแนวทิศตะวันออก – ตะวันตก เพราแสงจะได้ส่องทั่วถึง

ค้างผักแบบต่างๆ

7. ค้างแบบตารางหมากฮอต

ค้างแบบตารางหมากฮอต ค้างแบบนี้เป็นแบบสุดท้าย ในทุกๆ แบบ ค้างผักแบบนี้สามารถทำได้คุมกว้างเต็มพื้นที่ที่เรามีเลยก็ได้ ค้างแบบนี้ควรมีการตัดแต่งกิ่งที่ไม่มีผล หรือเล็กลีบออก เพืื่อให้โปร่ง แสงแดดส่องถึงป้องกันการเกิดเชื้อรา

ข้อดีของการทำค้างปลูกผัก
ช่วยให้แสงแดดและอากาศถ่ายเทได้สะดวก สามารถระบายน้ำได้ง่าย สามารถลดความเสี่ยงในการเกิดโรคได้ แต่ก็ควรหมั่นดูแลรดน้ำ ผักไม้เลื้อยมีความต้องการน้ำมากเนื่องจากเจริญเติบโตได้ดีในสภาพอากาศที่ชื้น ควรให้ปุ๋ย ตัดแต่ง เพื่อให้ผักเจริญเติบโตได้ผลผลิตที่ดี

เป็นอย่างไรละครับกับค้างผักวันนี้ที่เกษตรนานานะมาแนะนำให้เกับพี่น้องทุกท่าน พี่น้องทุกท่านสามารถเลือกทำให้เหมาะสมกับพืชผักที่เราจะปลูกได้เลยนะครับ วัสดุที่ใช้สามารถหาได้จากท้องถิ่นเพื่อความพอเพียง

ภาพ : สวนบ้านหม้อ, www.kasetbanna.com


บทความอื่นที่น่าสนใจ