การเลี้ยงกบในกระชัง ดูแลง่ายใช้น้ำน้อย
การเลี้ยงกบในกระชัง กบที่เหมาะสมจะนำมาทำการเพาะเลี้ยงนี้ ซึ่งถ้าเลี้ยงอยางถูกต้องตามวิธีการและใช้เวลาเพียง 4-5เดือน จะได้กบขนาด 4-5 ตัว/กก. เป็นกบที่มีความเจริญเติบโตเร็ว โดยมีอัตราการแลกเปลี่ยนอาหาร 3-4 กก. ได้เนื้อกบ 1 กก. กบตัวผู้เมื่อจับพลิกหงายขึ้นจะเห็นมีกล่องเสียง อยู่ใต้คางแถวๆ มุมปากลางทั้งสองข้าง ในช่วงฤดูผสมพันธุ์กบตัวผู้จะเป็นผู้ส่งเสียงร้อง และในขณะที่ร้องนั้นส่วนของกล่องเสียงจะพองโตและใส ส่วนตัวเมียนั้นจะมองไม่เห็นส่วนของกล่องเสียงดังกล่าว ถ้าอยู่ในช่วงฤดูผสมพันธุ์ กบตัวเมียที่มีไขแก่จะสังเกตเห็นส่วนของท้องบวมและใหญ่กว่าปกติ ถึงอย่างไรสีของกบจะเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพสิ่งแวดล้อมและที่อยู่อาศัย
การเลือกพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์กบ
โดยธรรมชาติ กบจะเริ่มจับคู่ ผสมพันธุและวางไข่ในฤดูฝน และพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ที่ดีต้องมีอายุอย่างน้อย 1 ปี ขึ้นไป กบตัวผู้ จะเห็นกล่องเสียงอยู่ใต้ค้างทั้งสองข้าง ขากรรไกร เป็นลักษณะวงกลมสีคล้ำ เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์ กบตัวผู้จะส่งเสียงร้อง ส่วนของกล่องเสียงนี้จะพองโต แต่ลักษณะนี้จะไม่มีในกบตัวเมีย ซึ่งตัวเมียนั้น เมื่อถึงฤดูผสมพันธุที่ส่วนท้องจะขยายใหญ่ และกบตัวเมียที่ยังมีไข่อยู่ในท้องจะมีความสากขางลำตัวทั้งสองด้าน เมื่อใช่นิ้วสัมผัสจะรู้สึกได้ และเมื่อไข่ออกจากท้องไปแล้ว ปุ่มสากเหล่านี้ก็จะหายไป อนึ่งกบตัวเมียก็จะส่งเสียงร้องเช่นกัน แต่เป็นเสียงที่เบามาก และกบตัวเมียที่รู้ตัวว่ามีไข่แก่อยู่ในท้องจะเป็นผู้เดินทางมาหาตัวผู้ตามเสียงร้อง
การทำกระชังเพาะพันธุ์กบ
การทำกระชังเพาะพันธุ์กบ นั้นสามารถที่จะทำโดยมีวิธีการดังนี้
- เตรียมหลี่ในลอนขนาดประมาณ 35×20 เมตรขึ้นไป ลึก 80-100 เซนติเมตร
- นำหลี่ไนลอนมาเย็บติดกัน ตามขนาดตามที่ต้องการ เพื่อทำให้หลี่ไนลอนนั้นเป็นพื้นของกระชังเพาะพันธุ์กบ
การเพาะพันธุ์กบ
เมื่อเตรียมกระชังเพาะพันธุ์กบแล้ว ภายกระชังควรมีพืชน้ำ เช่น ผักบุ้ง ผักตบชวาเล็ก ๆ และน้ำ แต่ไม่ควรมีน้ำสูงเกิน 5 ช.ม. กบจะผสมพันธุ์และวางไข่ในช่วง 04.00 – 06.00 น. เมื่อเห็นว่ากบออกไข่ แล้วจึงนำพ่อแม่พันธุ์ออกจากบ่อเพาะ เพื่อป้องกันไม่ให้แพไข่แตก เนื่องจากการเคลื่อนไหวของกบ บ่อ ผสมพันธุ์นี้ เมื่อปล่อยพ่อแม่กบ ลงไปแล้ว ไม่ควรไปรบกวนหรือมีสิ่งอื่นใดทำให้กบตกใจ ซึ่งเป็นเหตุให้กบไม่ผสมพันธุ์ และออกไข่ได้
การอนุบาลกบวัยอ่อนและการเลี้ยงกบโตเต็มวัย
เมื่อไข่กบฟักออกเป็นตัวอ่อนแล้ว ช่วงระยะ 2 วันแรกไม่ต้องให้อาหารเพราะลูกอ็อดยังใช่ไข่แดงที่ติดมาเลี้ยงตัวเอง หลังจากนั้นจึงเริ่มให้อาหาร เป็น ไข่แดงต้ม ลูกอ็อดจะมีอายุ 20-30 วัน จึงเป็นลูกกบเต็มวัย ในขวงนี้จะต้องหาไม้กระดาน ขอนไม้หรือแผ่นโฟมลอยน้ำเพื่อใหลูกกบเต็มวัยขึ้นไปอาศัยอยู่ และให้อาหาร เป็นอาหารเม็ดสำหรับลูกกบ ส่วนการเลี้ยงลูกอ๊อดเมื่อเจริญเติบโตเป็นกบเต็มวัยแล้ว มันจะขึ้นจากน้ำไปอาศัยอยู่บนบกหรือวัสดุอื่น ๆ ที่ลอยน้ำ เมื่อคัดขนาดนำไปเลี้ยงในบ่อแล้วต้องเตรียมอาหารให้ ถ้าเป็นลูกอ๊อดที่เคยให้อาหารเม็ดกินแต่แรก ก็สามารถให้อาหารเม็ดดังกลาวกินได้ต่อไป
การเลี้ยงกบในกระชังนี้สืบเนื่องมาจากการเพาะพันธุ์กบ คือ เมื่อเพาะกบและเลี้ยงลูกอ๊อดจนเป็นกบเต็มวัยแลวจึงคัดขนาดลูกกบนำไปเลี้ยงในบ่อซีเมนต์หรือในกระชังอื่นๆ หรือจำหน่าย ส่วนที่เหลือก็เลี้ยงต่อในกระชังต่อไป พื้นที่ใต้กระชังใช่แผ่นกระดานหรือแผ่นโฟมสอดด้านล่าง เพื่อให้เกิดส่วนนูนในกระชังและกบได้ขึ้นไปอยู่อาศัยส่วนรอบๆ หรือขุดหลุมตรงกลางกระชัง เพื่อให้เกิดที่ให้น้ำขังและภายนอกกระชังใช้วัสดุ เช่น แฝกหญ้าคา หรือทางมะพร้าว เพื่อไม่ให้กบมองเห็นทิวทัศน์นอกกระชัง มิฉะนั้นกบจะหาหนทางหลบหนีออกโดยกระโดดและชนผืนอวนกระชังเป็นเหตุให้ปากเป็นบาดแผลและเจ็บปวดจนกินอาหารไม่ได้ ส่วนด้านบนกระชังก็มีวัสดุพรางแสงให้
โรคกบนา วิธีการป้องกันโรคกบนา
ปัญหาโรคกบที่เกิดขึ้นนั้นโดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นปัญหาที่สื่บเนื่องมาจากความผิดพลาด ทางด้านการเลี้ยง ทำให้มีการหมักหมมของเสียต่าง ๆ เกิดขึ้นในบ่อเลี้ยงกันอย่างหนาแนน มีการให้อาหารมาก ประกอบกับการขาดความเอาใจใส่ และไม่เขาใจในเรื่องความสะอาดของบ่อรวมถึงน้ำที่เลี้ยงโอกาสที่กบจะเป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียจึงมีมากขึ้น แบ่งออกได้ดังนี้
1. โรคติดเชื้อแบคทีเรีย เป็นโรคที่ทำความเสียหายให้กับผู้เลี้ยงกบมากที่สุด ทั้งในช่วงที่เป็นลูกอ๊อด และกบเต็มวัย ซึ่งในที่นี้จะแยกออกเป็น 2 ลักษณะคือ
1.1 โรคติดเชื้อแบคทีเรียในระยะลูกอ๊อด พบได้ตั้งแต่ระยะที่ไข่ฟักเป็นตัวจนกระทั่งพัฒนาเป็นตัวเต็มวัย อาการที่สังเกตได้คือ ลูกอ๊อดจะมีลำตัวด่าง คลายโรคตัวด่างในปลาดุกจากนั้นจะเริ่มพบอาการท้องบวมและตกเลือดตามครีบหรือระยางต่างๆ สาเหตุของการเกิดโรคมักจะมาจากการปล่อยลูกอ๊อดในอัตราหนาแน่นเกินไปมีการให้อาหารมากทำให้คุณภาพน้ำไม่เหมาะสม
1.2 โรคติดเชื้อแบคทีเรียในระยะเต็มวัย พบทั้งในกบขนาดเล็ก และขนาดใหญ่องค์ประกอบที่จะทำใหอาการของโรครุนแรงมากหรือน้อยคือ สายพันธุ์ของเชื้อแบคทีเรีย Aeromonas และ Pseudomonas และระยะเวลาของการเป็นโรคอาการของโรคโดยทั่วไปที่พบได้แก่ การเกิดแผลที่มีลักษณะเป็นจุดแดง ๆ ตามขาและผิวตัวโดยเฉพาะด้านท้อง จนถึงแผลเน่าเปื่อยบริเวณปาก ลำตัวและขา เป็นต้น ดังนั้นจึงควรจัดการทำความสะอาดเปลี่ยนถ่ายน้ำบ่อย ๆ ควบคุมปริมาณอาหารให้พอเหมาะ และอย่าปล่อยกบลงเลี้ยงหนาแน่นเกินไป
2. โรคที่เกิดจากโปรโตชัวในทางเดินอาหาร โดยทั่วไปจะพบในกบเล็กมากกว่ากบโต อาการทั่วไปจะพบว่ากบไม่คอยกินอาหาร ผอม ตัวชีด เมื่อตรวจดูในลำไสจะพบโปรโตซัว การติดเชื้อโปรโตซัวในทางเดินอาหารนี้ถ้าเป็นติดต่อกันเป็นเวลานานก็จะทำให้กบตายได้ การรักษาควรจะใช้ยา Metronidazole ผสมอาหารให้กินในอัตรา 3-5 กรัม/อาหาร 1 กิโลกรัม กินติดต่อกันครั้งละ3 วัน แล้วเว้นระยะ 3-4 วัน แล้วให้ยาช้ำอีก 2-3 ครั้ง หรือจนกว่ากบจะมีอาการดีขึ้น และกินอาหารตามปกติ
3. โรคทองบวม โดยทั่วไปจะเกิดกับลูกอ๊อดในฟาร์มที่ใช้น้ำบาดาล การเปลี่ยนน้ำอย่างรวดเร็วโดยใช้น้ำบาดาลที่ไม่ได้พักไว้ก่อน จะทำให้ความดันก๊าชที่ละลายอยู่ในน้ำลดต่ำลงอยางเฉียบพลัน มีผลให้ร่างกายของลูกออดต้องปรับความดันก๊าซในตัวเองลงมาให้เท่ากับความดันของก๊าซในน้ำ ทำให้เกิดฟองก๊าซขึ้น ในช่องวางของลำตัว ท้องลูกอ๊อดจึงบวมขึ้นมา การแก้ไขจะกระทำได้ยากมากจึงควรป้องกันโดยระมัดระวังในเรื่องการถ่ายน้ำอย่าเปลี่ยนน้ำปริมาณมาก ๆ ในเวลาสั้น ๆ และควรจะมีการพักน้ำและเติมอากาศให้ดีก่อนนำมาใช้โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำบาดาล
วิธีการป้องกันโรคกบนา
การเลี้ยงกบที่จะลดอัตราการแพร่ของเชื้อโรคนั้น ความสำคัญอยู่ที่ลักษณะของบ่อเลี้ยงที่จะต้องสะอาด มีแสงแดดส่องลงถึงพื้นได้ ถึงแม้จะมีการพรางแสงไว้มุมใดมุมหนึ่งก็ตาม น้ำในบ่อเลี้ยงต้องสามารถถ่ายเทได้ถึงอย่างไรก็ตามไม่ควรเลี้ยงกบหนาแน่นจนเกินไป และถ้าพบกบตัวใดมีอาการผิดปกติควรจับแยกออกเลี้ยงต่างหาก
ช่องทางการจัดจำหน่าย/การตลาด
สำหรับผู้เลี้ยงกบหากหลีกเลี่ยงชวงที่มีการจับกบในแหล่งธรรมชาติก็จะช่วยลดปัญหาด้านราคาตกต่ำแต่อย่างไรก็ตามจากการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทำให้แหล่งที่อยู่อาศัยเลี้ยงตัวตามธรรมชาติของกบลดลง ดังนั้นแนวโน้มการเลี้ยงกบในอนาคต จึงนับได้ว่ามีลู้ทางแจ่มใส ไม่มีปัญหาด้านการจำหน่ายและราคาก็ดีมีผลคุ่มต่อการลงทุน ลงแรง สามารถส่งเป็นสินค้าออกช่วยการขาดดุลให้แก่ผู้ที่สนใจเลี้ยง กบเป็นสัตวเศรษฐกิจชนิดหนึ่งซึ่งตลาดนิยมบริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งกบขนาด 4-5 ตัว/กก. ราคาจะอยู่ที่ 60 – 80 บาท/1 กิโลกรัม ถ้าขายลูกกบระยะเวลาเลี้ยง 2 เดือน ราคาจะอยู่ที่ ตัวละ 2 บาท และถ้าขายลูกกบระยะเวลาเลี้ยง 3 – 4 เดือน ราคาจะอยู่ที่ ตัวละ 5 บาท ช่องทางการจัดจำหน่าย/การตลาด แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
- ช่องทางการจัดจำหน่ายทางตรง คือ เป็นช่องทางที่ผู้ผลิตนำสินค้าสู่ลูกค้าโดยตรงไม่ผ่านคนกลาง ช่องทางการจัดจำหน่ายแบบนี้นิยมใช้ในตลาดธุรกิจมากกว่าตลาดผู้บริโภค โดยทางออนไลน์
- ช่องทางการจัดจำหน่ายทางอ้อม คือ เป็นช่องทางที่ผู้ผลิตอาศัยคนกลางในการกระจายสินค้าไปสู่ลูกค้า ช่องทางการจัดจำหน่ายนี้จะเป็นที่นิยมในตลาดผู้บริโภคมากกว่าตลาดธุรกิจ
บทความอื่นที่น่าสนใจ