เกษตรกรรม » การเพาะเห็ดฟางในตะกร้า  ใช้พื้นที่น้อย ดูแลจัดการง่าย

การเพาะเห็ดฟางในตะกร้า  ใช้พื้นที่น้อย ดูแลจัดการง่าย

28 มีนาคม 2023
801   0

การเพาะเห็ดฟางในตะกร้า ใช้พื้นที่น้อย ดูแลจัดการง่าย

การเพาะเห็ดฟางในตะกร้า

การเพาะเห็ดฟางในตะกร้า






การเพาะเห็ดฟางในตะกร้า เป็นอีกวิธีในการเพาะเห็ดที่ให้ผลผลิตเร็ว สามารถเพาะได้ทุกพื้นที่ ใช้แรงงานน้อยสามารถใช้วัสดุเพาะที่หลากหลาย การเพาะเห็ดฟางในตะกร้าช่วยลดการใช้พื้นที่ เคลื่อนย้ายสะดวก อีกทั้งยังสามรถเก็บผลิตได้ง่ย ทำประมาณแค่ภายในหนึ่งสัปดาห์ก็สามารถเก็บผลผลิตได้แล้ว

ขั้นตอนการเตรียมวัสดูอุปกรณ์

การเตรียมพื้นที่เพาะเห็ด

ปรับพื้นที่ดินให้สม่ำเสมอ อยู่ในที่ร่มใต้ต้นไม้ ชายคา หรือกลางแจ้ง เหมาะที่จะตั้งตะกร้าได้ พื้นดินควรมีความชุ่มชื้น ถ้าพื้นที่ที่ใช้เพาะเป็นพื้นดิน จะให้ผลผลิตสูงกว่าที่เป็นคอนกรีตเพราะพื้นดินสามารถรักษาสภาพความชื้นและอุณหภูมิได้สม่ำเสมอ

ตะกร้าพลาสติก (ตะกร้าใส่ผลไม้)

ตะกร้าพลาสติก

ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 18 นิ้ว สูงประมาณ 11 นิ้วมีตาห่างประมาณ 1 นิ้ว มีจำนวนช่องเป็นแถวจากล่างขึ้นบน 7 ช่อง กันตะกร้าไม่ทึบช่วยให้ระบายน้ำได้ดี

วัสดุเพาะ

ที่นิยมได้แก่ ฟางข้าว ควรเลือกจากแปลงนาที่ไม่มีการใช้สารเคมีฉีดพ่นป้องกันกำจัดโรคแมลงศัตรูข้าวมาก่อน ฟางข้าวต้องแช่น้ำไว้ 12 ชม. หรือ 1 คืน ถ้าแช่น้อยกว่า 12 ชั่วโมง ฟางจะแห้งเกินไป ก่อนที่จะเกิดดอกเห็ด

การเตรียมอาหารเสริม

ต้องเป็นวัสดุที่ย่อยได้ง่าย เป็นวัสดุที่ช่วยให้เชื้อเห็ดฟางช่วงแรกที่ใส่ลงวัสดุเพาะเจริญได้ดีก่อนที่ เชื้อเห็ดฟางจะเจริญในวัสดุเพาะ ได้แก่ ผักตบชวาสด โดยกำจัดก้านและใบที่เน่าเสียออกแล้วล้างน้ำให้สะอาด แล้วนำมาหั่นเฉียงยาวไม่เกิน 1 นิ้ว

อาหารกระตุ้นหัวเชื้อ

ใช้แป้งสาลี หรือแป้งข้าวเหนียว หรือใช้รำละเอียด นำมาคลุกเคล้ากับหัวเชื้อเห็ดฟาง 1 ถุง (ขนาดถุงปอนด์) ต่อแป้งสาลี 1 ช้อนโต๊ะพูน ผสมคลุกเคล้ากันทิ้งไว้ครึ่งชั่วโมง

น้ำที่ใช้ในการเพาะเห็ด

ป็นน้ำที่สะอาด เป็นน้ำที่ได้จากแองน้ำ หนองน้ำ ห้วยคลอง บึง หรือน้ำบาดาล ไม่ควรใช้น้ำประปาที่ผสมคลอรีน

การเตรียมเชื้อเห็ดฟาง

เชื้อเห็ดฟางชนิดถุงปอนด์ ใช้อัตราส่วน 1 ถุง ต่อ 2 ตะกร้าหากจะเก็บรักษาเชื้อเห็ดฟางต้องเก็บไว้ในห้องที่มีอุณหภูมิ 25-30 องศาเซลเซียส




วิธีการเพาะ

ขั้นตอนที่ 1 นำเชื้อเห็ดฟางขนาด 1 ปอนด์ ออกจากถุงฉีกหัวเชื้อเห็ดฟางเป็นชิ้นเล็ก ๆ นำไปคลุกกับแป้งสาลีพอติดผิวนอกของเชื้อเห็ด แป้งสาลีจะเป็นอาหารเบื้องต้นที่ช่วยกระตุ้นให้เชื้อเห็ดเจริญดีในระยะแรก ๆ และแบ่งเชื้อเห็ดออกเป็น 6 ส่วน เท่า ๆ กัน (ทำได้ 2 ตะกร้า)

ขั้นตอนที่ 2 นำวัสดุเพาะ ได้แก่ ฟางข้าวที่แช่น้ำ 12 ชั่วโมงมารองกันตะกร้า สูงประมาณ 2-3 นิ้ว หรือประมาณช่องที่สองของตะกร้า

ขั้นตอนที่ 3 โรยอาหารเสริมที่เตรียมไว้ ได้แก่ ผักตบชวา 1 ลิตร โดยชิดข้างขอบตะกร้าหนาประมาณ 1 ฝ่ามือ เว้นตรงกลางไว้ อย่าโรยอาหารเสริมหนาเกินไปเพระจะเกิดเน่าเสียได้

ขั้นตอนที่ 4 นำเชื้อเห็ดฟางที่เตรียมไว้ 1 ส่วน วางรอบตะกร้าให้ชิดขอบตะกร้าเป็นจุด ๆ เท่าหัวแม่มือ (เสร็จชั้นที่ 1) โดยให้เชื้อเห็ดฟางอยู่ตรงช่องว่างของตะกร้า

ขั้นตอนที่ 5 ทำตามข้อที่ 2-4 อีก 2 ครั้ง (เสร็จขั้นที่ 2 และ 3) โดยครั้งสุดท้ายให้โรยอาหารเสริมเต็มพื้นที่ด้านบนหนาประมาณ 1 นิ้ว แล้วโรยเชื้อเห็ดฟางเป็นจุด ๆ ระยะห่างเท่า ๆ กันให้เต็มพื้นที่ด้านบนตะกร้า

ขั้นตอนที่ 6 โรยวัสดุเพาะด้านบนอีกครั้ง หนาประมาณ 1 นิ้ว รดน้ำให้ชุ่ม

ขั้นตอนที่ 7 นำตะกร้ามาเรียงกันบนวัสดุรอง เช่น อิฐบล็อกหรือโครงเหล็กที่เตรียมไว้ หากเป็นสุ่มไก่ให้วาง 4 ตะกร้า โดยวาง 3 ตะกร้าชิดกันแล้ววาง 1 ตะกร้าด้านบนตรงกลางระหว่างตะกร้าทั้ง 3 ตะกร้า และคลุมด้วยพลาสติกและซาแลน จากด้านบนถึงพื้น ต้องคลุมให้มิดชิดแล้วนำอิฐหรือไม้ทับขอบพลาสติก โดยรอบ

ขั้นตอนที่ 8 การควบคุมดูแล วันที่ 1-4 วันแรก (ในฤดูร้อนหรือฤดูฝน ส่วนในฤดูหนาวช่วง 1-7 วัน ต้องควบคุมอุณหภูมิให้ได้ระดับ 37-40 องศาเซลเซียส ถ้าหากอุณหภูมิสูงเกินไปให้ค่อย ๆ เปิดช่องลมระบายอากาศด้านบน หรือรดน้ำรอบสุ่มไก่เพื่อลดอุณหภูมิลงก็ได้

ขั้นตอนที่ 9 บังคับให้เส้นใยเห็ดฟางเปลี่ยนเป็นดอกเห็ด วันที่ 5-8 วันหลังเพาะ ต้องควบคุมอุณหภูมิภายในโครงเหล็กหรือสุ่มไก่ให้อยู่ระหว่าง 28-32 องศาเซลเซียส เพื่อให้เส้นใยเห็ดฟางสร้างจุดกำเนิดดอกปกติ ห้ามเปิดพลาสติกบ่อยเพราะจะทำให้ดอกฝ่อ

ขั้นตอนที่ 10 การเก็บเกี่ยวผลผลิตเห็ด ประมาณวันที่ 7-8 ในฤดูร้อน หรือวันที่ 9-10 ในฤดูหนาว เห็ดฟางเริ่มให้ดอกที่มีขนาดโตสามารถเก็บเกี่ยวได้ ผลผลิตสามารถเก็บได้ 2-3 ครั้งต่อตะกร้า การเก็บ ให้ใช้หัวแม่มือกับนิ้วชี้จับดอกเห็ดฟางที่ได้ขนาดแล้วหมุนเล็กน้อยยกขึ้น ดอกเห็ดก็จะหลุดออกมาโดยง่ายถ้ามีดอกเห็ดขึ้นอยู่ติดกันหลายดอก ควรเก็บขึ้นมาพร้อมกันทั้งหมดทีเดียว ถ้าเก็บเฉพาะดอกเห็ดที่โตออกมาดอกที่เหลือจะไม่โตและฝ่อตายไป

ที่มา | กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ , www.withikaset.com




บทความอื่นที่น่าสนใจ