เกษตรกรรม » การผลิตปุ๋ยหมัก โดยใช้สารเร่ง ซุปเปอร์ พด.1

การผลิตปุ๋ยหมัก โดยใช้สารเร่ง ซุปเปอร์ พด.1

9 กุมภาพันธ์ 2023
833   0

การผลิตปุ๋ยหมัก โดยใช้สารเร่ง ซุปเปอร์ พด.1

การผลิตปุ๋ยหมัก

การผลิตปุ๋ยหมัก


ปุ๋ยหมัก เป็นปุ๋ยอินทรีย์ชนิดหนึ่งเกิดจากการนำซากหรือเศษเหลือจากพืชมาหมักร่วมกัน และผ่านกระบวนการย่อยสลายโดยกิจกรรมจุลินทรีย์จนเปลี่ยนสภาพไปจากเดิมเป็นวัสดุที่มีลักษณะอ่อนนุ่ม เปื่อยยุ่ย ไม่แข็งกระด้าง และมีสีน้ำตาลปนดำ



สารเร่งซุปเปอร์ พด.1

เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพสูงในการย่อยสลายวัสดุเหลือใช้จากการเกษตรและอุตสาหกรรมแปรรูป ผลผลิตทางการเกษตรเพื่อผลิตปุ๋ยหมักในเวลารวดเร็วเป็นจุลินทรีย์ที่ทนอุณหภูมิสูง ประกอบด้วยเชื้อรา และแอคติโนมัยซีสที่ย่อยสารประกอบเซลลูโลส และแบคทีเรียที่ย่อยไขมัน

ส่วนผสมของวัสดุ ในการกองปุ๋ยหมัก 1 ตัน

  • เศษพืชแห้ง 1,000 กิโลกรัม
  • มูลสัตว์ 200 กิโลกรัม
  • ปุ๋ยไนโตรเจน 2 กิโลกรัม หรือน้ำหมักจากปลา 9 ลิตร
  • สารเร่งซุปเปอร์ พด.1 1 ซอง

วิธีการกองปุ๋ยหมัก

การกองปุ๋ยหมัก 1 ตัน มีขนาดความกว้าง 2 เมตร ยาว 3 เมตร สูง 1.5 เมตร การกองมี 2 วิธี ขึ้นอยู่กับชนิดของวัสดุ

  • วัสดุที่มีขนาดเล็กให้คลุกเคล้าวัสดุให้เข้ากัน กองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
  • วัสดุที่มีชิ้นส่วนยาวให้กองเป็นชั้นๆ ประมาณ 3 – 4 ชั้น โดยแบ่งส่วนผสมที่จะกองออกเป็น 3 – 4 ส่วน ตามจำนวนที่จะกอง มีวิธีการกองดังนี้
    • ผสมสารเร่งซุปเปอร์ พด. 1 ในน้ำ 20 ลิตร นาน 10 – 15 นาที เพื่อกระตุ้นให้จุลินทรีย์ออกจากสภาพที่เป็นสปอร์และพร้อมที่จะเกิดกิจกรรมการย่อยสลาย
    • การกองชั้นแรก นำวัสดุที่แบ่งไว้ส่วนที่หนึ่งมากองไว้เป็นชั้นมีขนาดกว้าง 2 เมตรยาว 30 – 40 เชนติเมตร ย่ำให้พอแน่นและรดน้ำให้ซุ่ม
    • นำมูลสัตว์โรยที่ผิวหน้าเศษพืช ตามด้วยปุ้ยไนโตรเจน แล้วราดสารละลาย สารเร่งซุปเปอร์ พด. 1 โดยแบ่งเป็นชั้นๆ
    • หลังจากนั้นนำเศษพืชมากองทับเพื่อทำเป็นชั้นต่อไป ปฏิบัติเเ่หมือนการกองชั้นแรก ทำเช่นนี้อีก 2-3 ชั้น  บนสุดของกองปุ๋ยควรปิดทับด้วยเศษพืชที่เหลืออยู่เพื่อป้องกันการสูญเสียความชื้น
การผลิตปุ๋ยหมัก

ภาพประกอบจาก : ห้องเรียนปุ๋ยหมักแบบไม่พลิกกอง แม่โจ้

การดูแลรักษากองปุ๋ยหมัก

  • รดน้ำรักษาความชื้นในกองปุ๋ย : ให้มีความชื้น ประมาณ 50 – 60 %
  • การกลับกองปุ๋ยหมัก : กลับกอง 10 วันต่อครั้ง เพื่อเพิ่มออกชิเจน ลดความร้อนในกองปุ๋ยและช่วยให้วัสดุคลุกเคล้ากัน หรือใช้ไม้ไผ่เจาะรูให้ทะลุตลอดทั้งลำ และเจาะรูด้านข้างปักรอบๆ กองปุ๋ยหมักห่างกันลำละ 50 – 70 เซนติเมตร
  • การเก็บรักษากองปุ๋ยหมักที่เสร็จแล้ว : เก็บไว้ในโรงเรือน อย่าตากแดดและฝนจะทำให้ธาตุอาหารพืชในปุ๋ยหมักสูญเสียไปได้

หลักการพิจารณาปุ๋ยหมักที่เสร็จสมบูรณ์แล้ว

  • สี : มีสีน้ำตาลเข้มจนถึงสีดำ
  • ลักษณะ : อ่อนนุ่ม ยุ่ย ไม่แข็งกระด้างและขาดออกจากกันได้ง่าย
  • กลิ่น : ปุ๋ยหมักที่เสร็จสมบูรณ์จะไม่มีกลิ่นเหม็น
  • ความร้อนในกองปุ๋ย : อุณหภูมิภายในกองปุ๋ยใกล้เคียงกับอุณหภูมิภายนอกกอง
  • การเจริญของพืชบนกองปุ๋ยหมัก : พืชสามารถเจริญบนกองปุ๋ยหมักได้ โดยไม่เป็นอันตรายต่อพืช
  • การวิเคราะห์ทางเคมี : ค่าอัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจนเท่ากับหรือต่ำกว่า 20 :1

ประโยชน์ของปุ๋ยหมัก

  • ปรับปรุงสมบัติทางกายภาพของดิน ทำให้ดินร่วนซุย การระบายอากาศและการอุ้มน้ำของดินดีขึ้น รากพืชแพร่กระจายได้ดี
  • เป็นแหล่งธาตุอาหารพืชทั้ง ธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรองและจุลธาตุ
  • ดูดยึดและเป็นแหล่งเก็บธาตุอาหารในดินไม่ให้ถูกชะล้างสูญเสียไปได้ง่ายและ ปลดปล่อยออกมาให้พืชใช้ประโยชน์ทีละน้อยตลอดฤดูปลูก
  • เพิ่มความต้านทานต่อการเปลี่ยนแปลงความเป็นกรดเป็นด่างของดิน
  • เพิ่มแหล่งอาหารของจุลินทรีย์ดิน ทำให้ปริมาณและกิจกรรมจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในดินเพิ่มขึ้น

ทีมา : สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : กองเทคโนโลยีชีวภาพทางดิน กรมพัฒนาที่ดินกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โทร.02-2579-0679  www.ldd.go.th




บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ