การกำจัดข้าวดีดด้วย เชื้อราไตรโคเดอร์มา ร่วมกับจุลินทรีย์หน่อกล้วย
ข้าวดีดและข้าวที่เพาะปลูก
เป็นพืชในตระกูลเดียวกันย่อมยุ่งยากต่อการกำจัดให้หมดไป จากแปลงนาโดยวิธีการฉีดพ่นด้วยสารเคมีกำจัดวัชพืช เพราะการใช้ยากำจัดวัชพืชที่ใช้กำจัดข้าวดีดย่อมส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว ที่เพาะปลูกด้วยเช่นกัน การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาร่วมกับจุลินทรีย์หน่อยกล้วยในการหมักฟางหลังเก็บเกี่ยวช่วยแก้ปัญหาข้าวดีดลงได้มาก
วิธีจัดการ
- ไขน้ำออกจากแปลงนาก่อนเกี่ยวผลผสิตข้าวเปลือกอย่างน้อย 2 สัปดาห์
- หลังเกี่ยวข้าวแล้วเกลี่ยกระจายฟางให้ทั่วแปลงนา
- ถ้าต้องการปลูกข้าวให้ได้ 100 ถังต่อไร่จะหว่านสารปรับปรุงดินนาข้าว 25 ก.ก. + ปุ๋ย 18-46-0 จำนวน 10 ก.ก.+ปุ๋ย 0-0-60 จำนวน 5 ก.ก. ต่อพื้นที่นา 1 ไร่ ก่อนทำการหมักฟาง
- ผสมจุลินทรีย์หน่อกล้วยขยาย 10 สิตร + เชื้อราไตรโคเดอร์มาขยาย 10 ลิตรกับน้ำ 40 ลิตร ฉีดพ่นทับฟางให้เปียกทั่วถึงที่ฟางหนาก็ฉีดพ่นมากหน่อยต่อพื้นที่นา 1 ไร่
- ไขน้ำเข้านา 5 ช.ม. ใช้ขลุบย่ำกดฟางให้จมติดแค่หน้าดินแช่ฟางให้จมอยู่ในน้ำหมักไว้ 7 วัน เมื่อหมักครบ 7 วัน แล้วขน้ำเข้านา 5 ช.ม. พร้อมใส่จุลินทรีย์หน่อกล้วยและเชื้อราไตรโคเดอร์มาขยายอีกอย่างละ 5 ลิตรต่อไร่ ย่ำหมักฟางต่ออีก 7 วัน จากนั้นทำเทือกหว่านข้าวได้เลย
- กรณีที่ใช้รถจอบหมุนหรือรถตีดินปั่นฟางอย่าไถกลบตอซังก่อนโดยเด็ดขาดเพราะจะฝังเมล็ดข้าวดีดเอาไว้
- ต้องหว่านปุ๋ยรองพื้นและสารปรับปรุงดินนาก่อนแล้วไขน้ำเข้านา 5 ช.ม. พร้อมใส่จุลินทรีย์หน่อกล้วยและเชื้อราไตรโคเดอร์มาขยายอย่างละ 10 ลิตร ต่อไร่หมักฟางไว้ 7 วัน จากนั้นไขน้ำเข้านา 5 ซ.ม.พร้อมใส่จุลินทรีย์หน่อกล้วยและเชื้อราไตรโคเดอร์มขยายลงไปด้วยอีกอย่างละ 5 ลิตร ต่อไร่หมักฟางต่ออีก7 วัน จึงใช้รถตีดินปั่นฟางทำเทือกหว่านข้าวได้เลย
- ควรทำการหมักฟางอย่างช้าภายใน 3 วัน หลังเกี่ยวข้าวเพราะฟางยังสดกรอบทำให้เกิดแผลเป็นช่องทางให้จุสินทรีย์เข้าแผลได้ง่ายขึ้นช่วยเร่งการย่อยสลายได้เร็วขึ้นทั้งกดให้จมลงติดดินได้โดยง่ายไม่เหนียวแข็งเด้งขึ้นเหมือนอย่างที่ปล่อยให้ตอซังแห้ง
ประโยชน์ของการหมักฟาง
- กำจัดข้าวดีดซึ่งความจริงก็รวมทั้งหญ้าด้วย
- กำจัดโรคข้าวที่ตกค้างในแปลงนาไปพร้อมๆกันกับการหมักฟางด้วยจุสินทรีย์หน่อกล้วยและเชื้อราไตรโคเดอร์มาโดยไม่ต้องเผาฟางเพื่อกำจัดโรค
- การหมักฟางช่วยให้ทำนาได้โดยไม่ต้องไถประหยัดค่าตีดินปั่นฟางทั้งค่าไถด้วย
- ช่วยให้ดินนุ่มรากหยั่งลงได้ลึกเชื้อราไตรโคเดอร์มาคุ้มครองระบบรากให้แข็งแรงให้สามารถหาแร่ธาตุสารอาหารมาเลี้ยงต้นได้มากทั้งช่วยให้ทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงเช่นกระทบร้อนกระทบหนาวขาดปุ้ยเป็นต้น
- การหมักฟางคืนสู่ดินนาทำให้ไม่ต้องใส่ธาตุอาหารในส่วนที่มีอยู่ในฟางจึงช่วยประหยัดการใช้ปุ๋ยเพราะสามารถลดการใช้ปุ๋ยส่วนที่อยู่ในฟางนั้นนั่นเอง
- ลดการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนเนื่องจากในระหว่างการหมักฟางจะเกิดการตรึงแก๊สไนโตรเจนจากอากาศ
- ฟางที่หมักดีแล้วเป็นเสมือนตู้เย็นเก็บสำรองแร่ธาตุสารอาหารที่ใส่ลงไปให้ต้นข้าวมีไว้ใช้กินทุกวันต้นข้าวเขียวทนเขียวนานเขียวทุกวันจนวันเกี่ยวโดยจุลินทรีย์ช่วยจัดหาแร่ธาตุสารอาหารมาให้ในทุกวัน ซึ่งต้นข้าวจะใช้ธาตุสารอาหารทั้งชนิดและปริมาณแต่ละอย่างในแต่ละช่วงของการเจริญเติบโตที่ไม่เท่ากันตามที่ต้นข้าวต้องการจะใช้ในระยะนั้นๆ ฟางที่หมักยังเป็นทั้งที่อยู่อาศัยและอาหารของจุสินทรีย์ ช่วยให้ดินนามีชีวิต
- ประหยัดการใช้น้ำเพราะสามารถให้น้ำแบบเปียกสลับแห้งได้เนื่องจากฟางที่หมักดีแล้วช่วยให้ดินเก็บอุ้มน้ำได้ดีให้น้ำน้อยแค่ 5 ซ.ม. ปล่อยแห้งลึกลงไปในดิน 15 ช.ม. จึงค่อยให้น้ำใหม่ไม่ต้องให้น้ำบ่อยต้นข้าวแตกกอดีแข็งแกร่งไม่ล้มง่าย โรคแมลงไม่ค่อยรบกวนรวงใหญ่ดีมีน้ำหนัก
- หมักฟางแก้จนได้แน่เพราะผลผลิตจะเพิ่มขึ้นขณะที่ตันทุนลดกำไรเพิ่มเหลือเงินใช้หนี้หมดหนี้ได้จริง
เชื้อราไตรโคเดอร์มา (Trichoderma spp.)
- ช่วยย่อยสลายอินทรีย์วัตถุได้รวดเร็ว
- ป้องกันกำจัดโรคพืชจากเชื้อราที่มากับฝนหมอกและน้ำค้าง
- ปกป้องระบบรากพืชจากเชื้อโรคในดินรากแข็งแรงหากินเก่งพืชโตเร็ว
- กระตุ้นพืชสร้างภูมิคุ้มกันต้านทานต่อการทำลายของโรคพืช
การขยายเชื้อราไตรโคเดอร์มา
ละลายกากน้ำตาล 1 ก.ก. ในน้ำ 20 ลิตร โรยหัวเชื้อราไตรโคเดอร์มา 20 กรัม ลงไปคนให้เข้ากันปิดฝาถังหมักไว้ 48 ช.ม. ไม่ต้องคนถ่ายใส่ขวดหรือถังมีฝาปิดเก็บไว้ใช้
หมักฟาง
ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาขยายร่วมกับจุลินทรีย์หน่อกล้วยขยายอย่างละ 10 ลิตรต่อไร่ หมักไว้ 7 วัน ใส่เพิ่มอีกอย่างละ 5 ลิตรต่อไร่ หมักต่ออีก 7 วัน จากนั้นทำเทือกได้
ที่มา : เอกสารเผยแพร่ โดยจังหวัดอ่างทอง สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดอ่างทอง สำนักงานเกษตรจังหวัดย่างทอง องค์การบริหาวส่วนจังหวัดอ่างทอง , www.kasetbanna.com
บทความอื่นที่น่าสนใจ