เกษตรกรรม » การควบคุมแมลงวันผลไม้ โดยวิธีผสมผสาน

การควบคุมแมลงวันผลไม้ โดยวิธีผสมผสาน

18 ตุลาคม 2022
824   0

การควบคุมแมลงวันผลไม้ โดยวิธีผสมผสาน

การควบคุมแมลงวันผลไม้

แมลงวันผลไม้ และผักหลายชนิด นอกจากจะทำให้ผลผลิตเน่าเสียหายแล้ว แมลงวันผลไม้เป็นแมลงศัตรูพืชที่สำคัญของไม้ผลยังส่งผลกระทบต่อเกษตรกรและผู้ส่งออกเป็นอย่างมาก เนื่องจากประเทศผู้นำเข้าตรวจพบแมลงวันผลไม้ติดไปกับผลผลิตทางการเกษตรหลายชนิดจากประเทศไทย จนบางประเทศต้องระงับการนำเข้า การใช้สารเคมีฉีดพ่น  เพื่อป้องกันกำจัด นอกจากสารเคมีตกค้างในผลผลิตที่ส่งไปจำหน่ายทั้งภายใน และต่างประเทศแล้วยังเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค และสภาพแวดล้อมอีกด้วย

ลักษณะการทำลายของแมลงวันผลไม้

ตัวเมียจะวางไข่โดยใช้อวัยวะวางไข่แหลมๆอยู่ปลายก้น (Ovipositor) แทงเข้าไปในเนื้อผลไม้ เพื่อวางไข่ โดยวางไข่ทั้งในระยะผลอ่อนและในระยะผลแก่ใกล้สุก เมื่อไข่ฟักเป็นตัวหนอนจะพอดีกับระยะที่ผลไม้นั้นสุกและจะอาศัยกัดกินอยู่ภายในผลนั้นทำให้ผลไม้เน่าเสี่ยและร่วงหล่นลงสู่พื้น จากนั้นตัวหนอนจะออกจากผลไม้ที่ร่วงหล่น และเข้าดักแด้ในดินและฟักออกเป็นตัวเต็มวัยการทำลายในระยะเริ่มแรกจะสังเกตได้ยากอาจพบอาการช้ำบริเวณใต้ผิวเปลือก เมื่อหนอนโตขึ้นจะทำให้ผลเน่าเละและมีน้ำไหลเยิ้มออกทางรูที่หนอนเจาะออกมา เพื่อเข้าดักแด้ นอกจากนี้ผลไม้ที่ถูกทำลายมักจะมีโรคและแมลงอื่นๆ เข้าทำลายซ้ำฃ

วงจรชีวิตแมลงวันผลไม้

วงจรชีวิตแมลงวันผลไม้

แมลงวันผลไม้ที่สำคัญของประเทศไทย

การแพร่กระจาย : ทุกภาคของประเทศไทย โดยเฉพาะภาคกลางและภาคเหนือ

พบมากใน : มะม่วง ฝรั่ง ชมพู่ พุทรา น้อยหน่า ละมุด

Bactrocera dorsalis (Hendel)

Bactrocera dorsalis (Hendel)

ภาพ : University of Hawaii at Manoa

Bactrocera correcta (Bezzi)

Bactrocera correcta (Bezzi)

ภาพ : สุขสม ชินวินิจกุล

Bactrocera cucurbitae (Coquillett)

Bactrocera cucurbitae (Coquillett)

ภาพ : สุขสม ชินวินิจกุล

การแพร่กระจาย : ทุกภาคของประเทศไทย

พบมากใน : พืชผัก และพืชตระกูลแตง เช่น บวบเหลี่ยมมะเขือเทศ แตงโม

Bactrocera tau (Walker)

Bactrocera tau (Walker)

ภาพ : University of Hawaii at Manoa

การแพร่กระจาย : ทุกภาคของประเทศไทย

พบมากใน : บวบเหลี่ยม มะระขึ้นก ตำลึง 

Bactrocera latifrons (Hendel)

Bactrocera latifrons (Hendel)

ภาพ : สัญญาณี ศรีคชา

การแพร่กระจาย : ทุกภาคของประเทศไทย

พบมากใน : พริกชี้ฟ้า มะเขือเปราะ มะเขือพวง มะแว้งเครือ ฯลฯ

การควบคุมแมลงวันผลไม้

Bactrocera umbrosa (Fabricius)

ภาพ : สัญญาณี ศรีคชา

การแพร่กระจาย : ทุกภาคของประเทศไทย

พบมากใน : ขนุน จำปาดะ

การควบคุมแมลงวันผลไม้

Bactrocera carambolae (Drew&Hancock)

ภาพ : สุขสม ชินวินิจกุล

การแพร่กระจาย : ภาคใต้และภาคกลางตอนล่าง

พบมากใน : ฝรั่ง ขนุน กระท้อน ละมุด มะม่วง มะเฟือง ฯลฯ

Bactrocera zonata (Saunders)

Bactrocera zonata (Saunders)

ภาพ : Mahfuza Khan

การแพร่กระจาย : ภาคเหนือและภาคกลาง

พบมากใน : มะม่วง มะตูม ท้อ,เซอรี่

การควบคุมแมลงวันผลไม้ โดยวิธีผสมผสาน

เป็นการควบคุมศัตรูพืชตั้งแต่ 2 วิธีขึ้นไปโดยใช้ร่วมกันและแต่ละกรรมวิธีต้องส่งเสริมซึ่งกันและกัน จึงสามารถ ควบคุม หรือป้องกันกำจัดแมลงวันผลไม้ได้ อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย

  • การห่อผล ควรห่อผลด้วยถุงพลาสติกหรือถุงกระดาษโดยห่อให้มิดชิด หากเป็นถุงพลาสติกควรตัดมุมที่กันถุงเพื่อระบายน้ำโดยเริ่มห่อตั้งแต่ผลมีขนาดเล็ก ความแตกต่างขึ้นอยู่กับชนิดของพืช เช่น มะม่วง เริ่มห่อเมื่อผลมะม่วงอายุ 8-9 สัปดาห์ ในชมพู่เริ่มห่อเมื่อผลมีอายุ 2 สัปดาห์หลังไหมร่วงและไว้ผล 3-4 ผลต่อช่อ
  • การใช้สารล่อ
    • การใช้เมธิลยูจินอล (Methy EugenoU เป็นสารล่อเพศผู้ อัตราการใช้เมธิลยูจินอล 4 ส่วน ผสมมาลาไธออน 83% อีซี 1 ส่วน หยดลงบนก้อนสำลี 3-5 หยด นำไปแขวนในกับดัก จากนั้นนำกับดักไปแขวนในทรงพุ่มสูงประมาณ1..5 เมตร
    • การใช้เหยื่อโปรตีน ซึ่งสามารถดึงดูดได้ทั้งแมลงวันผลไม้เพศผู้และเพศเมีย โดยใช้เหยื่อโปรตีนออโตไลเสท (Protein autolysate) หรือไฮโดรไลเซท (Protein hydrolysate) อัตรา 200 มิลลิสิตร ผสมสารฆ่าแมลงมาลาไธออน 57% หรือ 83% อีซี อัตรา 40 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 5 ลิตร พ่นเป็นจุดๆ ต้นละ 4 จุด พ่นต้นเว้นต้นทุก 7 วัน และพ่นในเวลาเข้าตรู่ซึ่งเป็นช่วงที่แมลงวันผลไม้ออกมาหาอาหาร เริ่มพ่นครั้งแรกหลังห่อผลเสร็จ 1 สัปดาห์และพ่นต่อเนื่อง จนเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วเสร็จ
  • การทำความสะอาดแปลงปลูก โดยเก็บผลมะม่วงที่ถูกแมลงวันผลไม้จากต้น หรือผลที่ร่วงหล่นออกจากแปลงโดยนำไปทำน้ำหมัก, ฝังกลบหรือเผาเพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์การฝังกลบต้องให้ลึกมากกว่า15 เซนติเมตร

  • การกำจัดพืชอาศัย การตัดแต่งกิ่งให้โปร่ง เพื่อปรับสภาพแวดล้อมไม่เหมาะเป็นที่พักอาศัย และการแพร่ระบาดของแมลงวันผลไม้

  • การใช้แมลงศัตรูธรรมชาติ การปล่อยแตนเบียนหนอนแมลงวันผลไม้ (Diachasmimorpha longicaudata) เพื่อควบคุมประชากรแมลงวันผลไม้ในธรรมชาติ ซึ่งแตนเบียนเพศเมียจะวางไข่ในตัวหนอนแมลงวันผลไม้ที่อาศัยอยู่ภายในผลไม้ ตัวหนอนของแตนเบียนจะเจริญเติบโต และอาศัยกัดกินอยู่ภายในลำตัวของหนอนแมลงวันผลไม้ ทำให้หนอนแมลงวันผลไม้ตายในที่สุด เมื่อปล่อยติดต่อกันทำให้ประชากรแมลงวันผลไม้ในธรรมชาติลตลง

  • การใช้แมลงวันผลไม้เป็นหมัน   การกำจัดแมลงวันผลไม้ให้หมดไปจากพื้นที่ที่ต้องการโดยเลี้ยงแมลงวันผลไม้ให้มีปริมาณมาก และนำแมลงเหล่านั้นไปฉายด้วยรังสีแกมมาเพื่อให้เป็นหมัน จากนั้นจึงนำแมลงที่เป็นหมันนี้ ไปปล่อยในพื้นที่กว้างหรือครอบคลุมพื้นที่เพื่อให้ไปผสมพันธุ์กับแมลงวันผลไม้ในธรรมชาติทำให้ไม่มีลูก เมื่อปล่อยติดต่อกันทำให้ประชากรแมลงวันผลไม้ในธรรมชาติลดลงหรือจนหมดไปในที่สุด

เอกสารอ้างอิง : 

  • กรมส่งเสริมการเกษตร (ม.ป.ป.) แมลงวันผลไม้และการควบคุม.
  • สายชล แสงแก้ว และคณะ. (2557). การใช้เทคโนโลยีแบบผสมผสานเพื่อควบคุมแมลงวัน ผลไม้มะม่วง ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา. แก่นเกษตร, 42 (2),417- 421.

ที่มา : กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์  www.doae.go.th